เหตุจลาจลรุนแรงในอังกฤษเริ่มคลี่คลาย แต่เจ้าหน้าที่ยัง “จับตาดูใกล้ชิด”
รัฐบาลสหราชอาณาจักรแสดงความพึงพอใจกับ “การลดความรุนแรง” ในความวุ่นวายและการจลาจลที่เกิดจากกลุ่มนิยมขวาจัด แต่ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์ “อย่างเข้มงวด”
รัฐบาลสหราชอาณาจักรแสดงความพึงพอใจกับ “การลดความรุนแรง” ในความวุ่นวายและการจลาจลที่เกิดจากกลุ่มนิยมขวาจัด แต่ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์ “อย่างเข้มงวด”
ปัจจุบันมีการใช้งาน AI อย่างแพร่หลายทั้งในองค์กรขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เพื่อความสะดวกในการดำเนินงานทำให้องค์กรตกเป็นเป้าหมายในการถูกโจมตีมากขึ้น
พ่อค้าเร่ปั่นจักรยานผ่านป้ายแสดงภาพและรายชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ในกรุงจาการ์ตา เมื่อ 22 มกราคม 2024 (ที่มา:AP) ภาพและเสียงสังเคราะห์จากเทคโนโลยีดีพเฟคกำลังสร้างความสับสนให้กับฐานเสียงในประเทศที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง จนนักวิเคราะห์จับตามองว่าปี 2024 ที่ประชาชนในกว่า 60 ประเทศจะต้องเข้าคูหา จะมีการใช้ AI สร้างข่าวลือข่าวลวงเพื่อหวังผลทางการเมืองอย่างแพร่หลาย ในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งในอินโดนีเซียที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงต่างต้องเจอกับวิดีโอและเสียงของนักการเมืองหลายคน ซึ่งแท้ที่จริงถูกสังเคราะห์ขึ้นมาโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เรียกกันว่า ดีพเฟค (Deepfakes) ยกตัวอย่างเช่นวิดีโอของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตที่เผยแพร่ในแอปพลิเคชันติ๊กตอก (TikTok) ซานตี อินดรา อัสตูตี จาก Mafindo ซึ่งเป็นเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงในอินโดนีเซีย ระบุว่า การใช้ AI สังเคราะห์เนื้อหาขึ้นมา เป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในปี 2024 เทียบกับครั้งก่อน ๆ อัสตูตีกล่าวว่า “ในการเลือกตั้งปี 2024 การโจมตีคู่แข่งในปีนั้นมักใช้ข่าวลวงกันเป็นส่วนใหญ่ ในปี 2019 ข่าวลวงถูกใช้โจมตีผู้จัดการเลือกตั้ง ในขณะที่ปี 2024 เราเห็นการยกระดับที่พิลึกพิลั่นขึ้นไปอีกเพื่อโจมตีกระบวนการทางประชาธิปไตยทั้งองคาพยพ”…
สำนักบริหารการกำกับดูแลไซเบอร์สเปซแห่งประเทศจีน รายงานในสัปดาห์นี้ว่า ในปี 2566 มีการปิดเว็บไซต์ผิดกฎหมายทั้งหมด 14,624 เว็บ และแบนบัญชีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 127,878 บัญชี ตามกฎหมายจีน
คนรุ่นใหม่เตรียมตัวให้พร้อม! นักการเมืองสหรัฐ ใช้ ChatGPT สร้างแชตบอตช่วยหาเสียง กลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่เราต้องระวัง เมื่อ AI ถูกใช้กับการเลือกตั้ง เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้เราได้ทึ่งตั้งแต่ช่วงปลายปี 2022 เมื่อแชตบอต AI อย่าง ChatGPT เปิดตัวให้เราได้ทดลองเล่นและใช้งานกัน โดยมันสามารถรังสรรค์คำตอบที่มากกว่าแค่ตอบตามตำรา แต่มันสามารถคิดเองได้ว่าควรจะตอบอย่างไร แต่มันอาจกลับกลายเป็นปัญหาเมื่อ AI ถูกใช้กับการเลือกตั้ง สำนักข่าวด้านเทคโนโลยี The Verge ของสหรัฐฯ และ The Washington Post รายงานว่า OpenAI บริษัทผู้พัฒนา ChatGPT ได้สั่งแบนบัญชีของนักพัฒนารายหนึ่งที่เข้ามาใช้ระบบหลังบ้าน (API) ของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตัวนี้ ในการทำแชตบอตของนักการเมืองสหรัฐฯ ชื่อ Dean Phillips ในการชิงตำแหน่งการเป็นผู้สมัครประธานธิบดีสหรัฐฯ ซึ่ง โจ ไบเดน ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบัน ในรายงานระบุว่า สตาร์ทอัพ…
แฟ้มภาพ – ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีดูวิดีโอปลอมที่สร้างจากปัญญาประดิษฐ์ หรือ ดีพเฟค (Deepfake) ที๋โต๊ะทำงานในกรุงวอชิงตัน 25 ม.ค. 2019 (Alexandra ROBINSON/AFP) การคืบคลานเข้ามาของเทคโนโลยีดีพเฟค (Deepfake) หรือวิดีโอปลอมที่สร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์ ได้กลายเป็นอาวุธใหม่ในการเผยแพร่ข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายในทุกรูปแบบบนโลกออนไลน์ การเผยแพร่คลิปวิดีโอที่มีภาพของผู้ดำเนินรายการข่าวสหรัฐฯ ที่นำเสนอข่าว แสดงความเห็น หรือสนับสนุนสกุลเงินคริปโต รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ อย่างผิด ๆ ได้สร้างความกังวลให้กับเหล่านักวิเคราะห์ในเรื่องนี้ การใช้ ดีพเฟค (deepfake) หรือสื่อลวงลึก เป็นวิดีโอที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการปลอมแปลงตัวตนซึ่งรวมถึงบรรดานักข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวต่าง ๆ ขึ้นมาได้เหมือนจริง ได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาใหญ่ ในปี 2024 ที่ประชาชนมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกจะออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงเลือกตั้งครั้งสำคัญของพวกเขา ในช่วงเวลาที่ข้อมูลบิดเบือนมีอย่างแพร่หลายและความเชื่อมั่นในข่าวสารบ้านเมืองปัจจุบันตกต่ำอย่างหนัก ประกอบกับการที่ธุรกิจสื่อรับเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานข่าวจริง วิดีโอเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้รับชมในการแยกแยะว่าสิ่งที่เห็นและได้ยินเป็นจริงหรือไม่แค่ไหน พอล แบร์เร็ตต์ รองผู้อำนวยการ Stern Center for Business and…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว