จีนออกมาตรการคุมเทคโนโลยี “ดีพเฟค” เริ่มบังคับใช้ ม.ค. นี้

Loading

  สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (ซีเอซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ของจีน ระบุว่า กฎใหม่ของจีน สำหรับผู้ให้บริการเนื้อหาที่มีการแก้ไขข้อมูลใบหน้าและเสียง จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2566 โดยหน่วยงานมุ่งหวังที่จะตรวจสอบเทคโนโลยีและบริการที่เรียกว่า “ดีพเฟค” อย่างเข้มงวดมากขึ้น   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ว่า กฎระเบียบใหม่จากซีเอซี ซึ่งออกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กำหนดให้บุคคลได้รับการคุ้มครองจากการถูกแอบอ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม อันมาจากเทคโนโลยี “ดีพเฟค” ภาพเสมือนที่มีความคล้ายคลึงกับภาพต้นฉบับจนแยกไม่ออก และถูกนำไปใช้เพื่อการบิดเบือน หรือการให้ข้อมูลเท็จได้โดยง่าย   China's rules for "deepfakes" to take effect from Jan. 10 https://t.co/faLf9KG1gj pic.twitter.com/52XnzO89iw — Reuters (@Reuters) December 12, 2022   ซีเอซี กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวข้างต้นมีเป้าหมายเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้บริการโดยแพลตฟอร์มดังกล่าว…

ลบแทบไม่ทัน! นายกฯ แคนาดาแชร์ข่าวอิหร่านสั่ง ‘ประหาร’ ผู้ประท้วง 1.5 หมื่นคน ก่อนพบว่าเป็น ‘เฟกนิวส์’

Loading

  นายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด แห่งแคนาดาลบข้อความออกจากบัญชีทวิตเตอร์ หลังกดแชร์ข่าวอิหร่านสั่งประหารหมู่ผู้ประท้วง 15,000 คน ก่อนจะพบว่าเป็นแค่เพียง “ข่าวปลอม”   ก่อนหน้านั้น เหล่าคนมีชื่อเสียงและชาวเน็ตจำนวนมากได้พากันแชร์ภาพจากอินสตาแกรมซึ่งเป็นรูปผู้หญิงถือธงอิหร่าน พร้อมแคปชันระบุว่า “อิหร่านลงโทษประหารชีวิตผู้ประท้วง 15,000 คน เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับผู้ต่อต้าน”   ในเวลาต่อมา อินสตาแกรมได้แท็กโพสต์ดังกล่าวว่าเป็น “ข้อมูลเท็จ” (False Information) พร้อมระบุว่า “ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระยืนยันแล้วว่า ข้อมูลนี้ไม่มีพื้นฐานความจริง”   โพสต์ข่าวลวงนี้ได้ถูกแชร์โดยเหล่าเซเลบคนดังมากมาย รวมถึงนักแสดงสาว โซฟี เทอร์เนอร์ (Sophie Turner) และวิโอลา เดวิส (Viola Devis) ส่วนนายกฯ ทรูโด ได้แชร์ทวีตดังกล่าวเมื่อค่ำวันจันทร์ (14) โดยระบุว่ารัฐบาลแคนาดาขอประณาม “การตัดสินใจอันป่าเถื่อนของระบอบอิหร่านที่ลงโทษประหารชีวิตผู้ประท้วงเกือบ 15,000 คน”   ทวีตดังกล่าวคงอยู่ในหน้าบัญชีของ ทรูโด นานถึง 12 ชั่วโมง ก่อนที่จะถูกลบทิ้ง   โฆษกรัฐบาลแคนาดาชี้แจงกับ…

“ดีอีเอส” แจงแนวทางระงับการเผยแพร่ข้อมูลผิดกฎหมาย

Loading

    ดีอีเอส ร่วมกับ กสทช. และ 35 หน่วยงาน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หาแนวทางแจ้งเตือน ระงับการเผยแพร่ข้อมูลผิดกฎหมาย หลังประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้ใน 60 วัน   วันที่ 3 พ.ย. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม​ (ดีอีเอส) ได้เชิญผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 35 ราย รับทราบ และชี้แจงประกาศกระทรวงดิจิทัลฯ เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2565 เพื่อระงับเนื้อหาข้อมูลเท็จ ความมั่นคง ลามกอนาจาร หลังรับแจ้งการกระทำผิด   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดีอีเอส กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 65 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์…

การทดลองเผย แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ล้มเหลวในการกรองข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  Global Witness องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิทธิมนุษยชน และทีมงาน Cybersecurity for Democracy (C4D) แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์กเผยว่า Facebook และ TikTok ล้มเหลวในการขัดขวางโฆษณาที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐอเมริกาที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน   โดย Global Witness ได้ทำการทดสอบมาตรการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนโซเชียลมีเดีย ด้วยการสร้างบัญชีปลอมบน Facebook, TikTok และ YouTube จากนั้นใช้บัญชีเหล่านี้สร้างโฆษณาทั้งในภาษาอังกฤษและสเปน   ทางองค์กรระบุว่าโฆษณาแต่ละตัวมีเนื้อหาที่เป็นข้อมูลเท็จอย่างชัดเจน อย่างการอ้างว่าคนที่จะไปเลือกตั้งได้ต้องฉีดวัคซีนก่อน หรืออ้างว่าต้องโหวต 2 ครั้งถึงจะมีความหมาย โฆษณาบางตัวก็ใส่วันที่ของการเลือกตั้งแบบผิด ๆ   พื้นที่เป้าหมายของโฆษณาเหล่านี้คือรัฐที่มีการแข่งขันกันอย่างสูสีระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ แอริโซนา โคโลราโด จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนา และเพนซิลเวเนีย   ผลก็คือมีเพียง YouTube เท่านั้นที่สามารถปิดกั้นโฆษณาทั้งหมด รวมถึงยังสามารถบล็อกบัญชีที่สร้างโฆษณาเท็จได้ด้วย   ในทางกลับกัน ในการทดลองครั้งแรก Facebook อนุมัติถึงร้อยละ 20 ของโฆษณาปลอมที่เป็นภาษาอังกฤษ และอนุมัติครึ่งหนึ่งของโฆษณาภาษาสเปน ในขณะที่การทดลองใหม่อีกครั้ง…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ข้อมูลผู้ป่วยรพ. ศิริราชกว่า 39 ล้านคน รั่วไหลถูกนำไปประกาศขายในอินเทอร์เน็ต

Loading

  ตามที่มีการส่งต่อข้อความในประเด็นเรื่องข้อมูลผู้ป่วยรพ. ศิริราชกว่า 39 ล้านคน รั่วไหลถูกนำไปประกาศขายในอินเทอร์เน็ต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ   จากกรณีที่มีการส่งต่อเรื่องราวโดยระบุว่าข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช รั่วและถูกนำไปเสนอขาย โดยรายละเอียดข้อมูลที่รั่วคือ ชื่อ สกุล ที่อยู่ รหัสบัตรประชาชน เบอร์โทร เพศ วันเกิด และอื่นๆ   ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าขณะนี้ยังไม่พบการรั่วไหลของข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลในสังกัด   ทั้งนี้ โรงพยาบาลศิริราชยังเปิดให้บริการตามปกติ และไม่มีผลกระทบต่อการรักษาและการให้บริการทางการแพทย์แต่อย่างใด โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเรียนให้ผู้รับบริการทุกท่านมั่นใจว่า คณะฯ ให้ความสำคัญในการปกป้องและรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยอย่างสูงสุดตามมาตรฐานสากล โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลไม่มีนโยบายการติดต่อกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลเพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ   ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.si.mahidol.ac.th/th หรือติดตามข้อมูลข่าวสารจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.)   บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ขณะนี้ยังไม่พบการรั่วไหลของข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลในสังกัด ทั้งนี้…

หนุ่มญี่ปุ่นโดนไล่ออก หลัง ‘ทุจริต’ สมัครงาน โกหกจบแค่ม.ปลาย ทั้งที่จบมหาลัย

Loading

  เจ้าหน้าที่เทคนิคญี่ปุ่นโดนไล่ออก หลัง ‘ทุจริต’ สมัครงานของคนที่จบวุฒิม.ปลาย ทั้งที่ตัวเองจบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย อ้าง ‘กลัวทำข้อสอบไม่ผ่าน’ ณ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ได้มีคำสั่งลงโทษทางวินัย โดยการให้ ‘ออกจากงาน’ กับเจ้าหน้าที่เทคนิคชาย วัย 44 ปีรายหนึ่ง ของสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค เมื่อวันที่ 31 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยกล่าวว่าเขาได้รับการว่าจ้าง หลังจากที่ผ่านการทดสอบการคัดเลือกงานด้านแรงงาน ที่มีคุณสมบัติจำกัด เฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น แต่ชายรายนี้กลับจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ตามประกาศได้ระบุว่าชายคนนี้ได้สอบผ่าน และผ่านการคัดเลือกพนักงานในปี 2543 โดยเขาได้โกหกว่าตนนั้นจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น ก่อนจะกลายเป็นลูกจ้างของเมืองในปี 2544 จนกระทั่งมีการพบข้อมูลการโกหก และบิดเบือนข้อมูลภูมิหลังทางการศึกษาของพนักงานชายคนดังกล่าว ว่าข้อมูลนั้นเป็น ‘ข้อมูลเท็จ’     โดยชายรายนี้ได้ให้เหตุที่เขาโกหกเรื่องวุฒิการศึกษานั้นก็เพราะว่า ‘กลัวทำข้อสอบการรับเข้าทำงานของระดับปริญญาตรีไม่ผ่าน’ ทั้งนี้เนื้อหาในการสอบขณะนั้นจะประกอบไปด้วยการศึกษาทั่วไปการทดสอบสมรรถภาพทางกาย องค์ประกอบ การสัมภาษณ์ และการตรวจร่างกาย โดยในขณะนั้นชายคนนี้มีอายุเพียง 24 ปีเท่านั้น ซึ่งภูมิหลังทางการศึกษาจะอยู่ในขั้นสุดท้ายของการรายงานตัว จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เห็นว่า ประเทศญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับการ ‘ทุจริต’ เป็นอย่างมาก เพราะการกระทำดังกล่าวนั้นมีเจตนาปิดบังข้อมูล…