Data Journalism’ สืบจากข้อมูล เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง

Loading

    “ ข้อมูลทั้งหมดที่เราได้มาตอนนั้นมีจำนวน 11.5 ล้านไฟล์ ความจุรวม 2.6 เทราไบต์ มันเป็นข้อมูลที่ใหญ่มหึมามากและต้องอ่านเยอะมาก ทั้งแบบที่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและไม่ได้บอกอะไรเลย เป็นกระดาษมาแผ่นหนึ่งหรือเป็นหนังสือบริคณห์สนธิที่ยังไม่ได้บอกอะไร และเป็นตัวเลขหลายๆแผ่นที่ไม่ได้บอกความเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมของตัวเลขนั้นว่าหมายความว่าอะไร มันเหมือนการค่อยๆไล่ต่อจิ๊กซอร์จนกว่าจะได้รายชื่อบุคคล เราจะตีความอย่างไรถ้าเรื่องมันไม่สมบูรณ์ เราจะบอกอะไรกับสังคม อะไรที่เรารายงานไปแล้วมันจะเป็นประโยชน์…การทำความเข้าใจกับข้อมูล…นี่คือสิ่งที่ยากที่สุด ”   ปรางทิพย์ ดาวเรือง นักข่าวไทยเพียงหนึ่งเดียว ที่ร่วมอยู่ในเครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ หรือ ICIJ  เล่าถึงเบื้องหลังการตีแผ่รายงาน “ปานามา เปเปอร์ส”  รายงานข่าวสืบสวนชิ้นสำคัญบนหน้าประวัติศาสตร์ เพราะเป็นผลงานข่าวข้ามพรมแดนขององค์กรสื่อกว่า 100 องค์กรทั่วโลก จากเอกสาร “ปานามา”เอกสารลับการทำงานของบริษัทกฎหมายแห่งหนึ่งสัญชาติปานามา ที่ช่วยเหลือลูกค้ารายใหญ่ ทั้งนักการเมือง ผู้นำประเทศ และคนดังหลากหลายวงการจากทั่วโลก เพื่อฟอกเงินและหลีกเลี่ยงภาษี     ที่ผลจากรายงานข่าวชิ้นนี้ยังสร้างแรงสั่นสะเทือนไปยังวงการต่างๆ จนมีผู้นำประเทศและนักการเมืองระดับสูงต้องพ้นจากตำแหน่งไปอีกหลายราย       “ปานามา เปเปอร์ส” ถือเป็นงานข่าวโลกยุค  ‘Big Data’ ที่ถูกหยิบยกมาเป็น 1 ในหัวข้อของการอบรม เชิงปฏิบัติการ “รายงานข่าวสืบสวนด้วยข้อมูลเชิงลึก” TRAINING & WORKSHOP: DATA JOURNALISM FOR INVESTIGATIVE REPORTING  ซึ่งชมรมเครือข่ายนักสื่อสารข้อมูลเชิงลึกแห่งประเทศไทย (TDJ) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย  จัดขึ้น เมื่อวันที่ 24 – 26 มกราคม 2568  โดยมีวิทยากรและหัวข้อในการอบรมที่เจาะลึกแบบเข้มข้น ในการทำงานข่าวสืบสวนสอบสวนด้วยข้อมูลเชิงลึก…

“เป็นหู เป็นตา”

Loading

  เมื่อสองเดือนก่อน ผู้บริหารระดับสูง 8 คนของสายการบินไหหลำ ใส่เสื้อเชิ้ตแขนยาว ไม่มีเสื้อกันหนาว ออกไปยืนเรียงแถวกันภายนอกอาคาร ที่นครปักกิ่ง กลางอากาศเย็นเฉียบที่ 0 องศาเซลเซียส ไม่ใช่ว่าผู้บริหาร อยู่ดีๆ เกิดนึกสนุกออกไปยืนหนาวสั่นรับความเย็นเช่นนั้น เป็นเวลานานถึง 40 นาที แต่เป็นเพราะถูกคำสั่งลงโทษ ให้ทำเช่นนั้นครับ สาเหตุก็เพราะ มีผู้โดยสารระดับพลาตินัมของสายการบิน ลงเครื่องบินที่กรุงปักกิ่งแล้วเขาเหลือบไปเห็นแอร์โฮสเตสหญิงคนหนึ่ง เธอนั่งตัวงอด้วยความหนาวสั่นอยู่ริมถนน ระหว่างที่เธอกำลังรอรถบัส น้องคนนั้นอยู่ในชุดปฏิบัติงานของสายการบินที่ออกแบบไว้สำหรับใช้สวมใส่ในฤดูร้อน เป็นชุดขาสั้น มองเห็นท่อนขาสูงขึ้นไปจนเหนือเข่า และไม่มีเสื้อคลุมกันหนาว แต่ขณะนั้นอากาศได้เปลี่ยนเป็นฤดูหนาวแล้ว ผู้โดยสารคนนั้น ถ่ายภาพพนักงานต้อนรับแล้วไปให้ผู้บริหารระดับสูงของสายการบินไหหลำ ผลก็คือการลงโทษผู้บริหาร 8 คนอย่างที่เห็น เพื่อ “ให้รู้เสียบ้างว่า อย่าเอาแต่นั่งในออฟฟิศ แล้วคิดว่าฤดูอะไรก็เหมือนกันแหละ…ออกไปแก้ปัญหาซะ” วิธีลงโทษแบบนี้ คงทำได้ในประเทศจีนและอีกบางประเทศเท่านั้น ประเทศอื่นๆ คงทำได้ยากสักหน่อย แต่ประเด็นของผมไม่ได้อยู่ตรงนั้นครับ ผมมองไปที่บทบาทของผู้โดยสารคนนั้นมากกว่า มีคำกล่าวภาษาไทยที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีที่เรียกว่า “เป็นหู เป็นตา” ผมคิดว่าผู้โดยสารคนนั้น ได้ทำหน้าที่มากกว่าผู้โดยสารทั่วไป ซึ่งเมื่อเห็นแล้วคงแค่รู้สึกเห็นใจพนักงานสาวเท่านั้น แต่ผู้โดยสารคนนี้ ได้ทำหน้าที่ “เป็นหู เป็นตา”…