Google เตรียมใช้เทคโนโลยีควอนตัมบน Chrome เพื่อให้ทำงานดีขึ้น

Loading

  เทคโนโลยีควอนตัม ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีการพูดถึงมากในช่วง 1-2 ปีนี้ เพราะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ดีเยี่ยม แต่นักวิชาการหลายฝ่ายก็ยังกังวลว่าจะเป็นตัวทำลายเทคโนโลยีดั้งเดิม ทำให้ทุกอย่างเหมือนรีเซ็ทใหม่   มีความกังวลของผู้เชี่ยวชาญหลายราย ที่ออกมาเตือน Google ในการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมว่า อาจจะเป็นบ่อนทำลายเทคโนโลยีเดิมหลายอย่าง และอาจจะรุนแรงถึงขั้นข้อมูลสำคัญสูญหาย ด้าน Google ยังเงียบ   เทคโนโลยีควอนตัม ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีการพูดถึงมากในช่วง 1-2 ปีนี้ เพราะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่คาดว่าจะเป็นตัวทำลายเทคโนโลยีดั้งเดิม อาจทำให้เกิดทั้งข้อดี-ข้อเสีย ไม่ว่าจะเป็นความได้เปรียบ-เสียเปรียบทางเศรษฐกิจ ทั้งรัฐและเอกชนทั่วโลก   อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ก็ยังมีเรื่องดีในแง่ของงานวิจัยและการคำนวณ แต่เป็นผลร้ายในแง่ของการรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูล   โดย Google ได้นำควอนตัมมาใช้จริงในเทคโนโลยีบางส่วนมาใช้ปฏิบัติจริงใน Chrome ซึ่งความน่ากังวลคือเทคโนโลยีนี้จะกระทบการเข้ารหัสแบบใหม่ที่อาจจะถูกทำลายด้วยควอนตัมก็เป็นได้   การผสานรวมเทคโนโลยีที่เรียกว่า X25519Kyber768 ซึ่งเป็นชื่อของอัลกอริทึมการเข้ารหัสแบบไฮบริด การรวมทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันหมายความว่า ข้อมูลได้รับการปกป้องทั้งอัลกอริธึมเดิมที่ปลอดภัยดีอยู่กับข้อมูลที่ได้รับการป้องกันจากควอนตัมคอมพิวเตอร์   นอกจากนี้ การอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของ Google เพื่อ “เตรียมตัวสำหรับการย้ายข้อมูลบนเว็บไซต์ ไปยังการเข้ารหัสแบบควอนตัมที่ดีขึ้น”   Devon O’Brien ผู้จัดการโปรแกรมทางเทคนิคของ…

ควอนตัมคอมพิวเตอร์: พัฒนาการและผลกระทบ

Loading

  ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ควอนตัมคอมพิวเตอร์ (Quantum Computer) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเป็นเทคโนโลยีนำการขับเคลื่อนโลกเศรษฐกิจและธุรกิจเข้าสู่ยุคใหม่อีกครั้ง   ควอนตัมคอมพิวเตอร์ มีความสามารถที่ไม่เคยมีมาก่อนในการประมวลผลการคำนวณที่ซับซ้อนด้วยความเร็วที่สูงมาก ในขณะที่ปัญญาประดิษฐ์ได้พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองจนกำลังปฏิวัติอุตสาหกรรมและโลกของการทำงาน   โดยพื้นฐานแล้ว เอไอเป็นพัฒนาการของโปรแกรม “ซอฟต์แวร์” ในขณะที่ควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นพัฒนาการ “ฮาร์ดแวร์” เมื่อมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของทั้งเอไอและควอนตัมคอมพิวเตอร์ จึงจะเกิดการปฏิวัติทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ จึงจะส่งผลกระทบต่อยุคอนาคตเป็นอย่างมาก   ควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงมาก เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเฉพาะของฟิสิกส์ควอนตัมเพื่อประมวลผลข้อมูลในรูปแบบที่เหนือกว่าความสามารถของคอมพิวเตอร์คลาสสิกที่ก้าวหน้าที่สุด ในการคำนวณแบบดั้งเดิม ข้อมูลจะถูกประมวลผลในรูปแบบไบนารี คือ บิตของ 0 หรือ 1   อย่างไรก็ตาม การคำนวณแบบควอนตัม ควอนตัมบิต (qubits) สามารถมีอยู่ในสถานะ 0, 1 หรือทั้งสองอย่างพร้อมกันได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เรียกว่า “superposition”   โดยควอนตัมคอมพิวเตอร์ขนาด 2 คิวบิตสามารถประมวลผลได้ 4 สถานะพร้อมกัน ควอนตัมคอมพิวเตอร์ขนาด 3 คิวบิตสามารถประมวลผลได้ 8 สถานะพร้อมกัน    …

9 แนวโน้มนวัตกรรมยุคใหม่แห่งปี 2023(3)

Loading

  เปรียบเทียบกับตอนอื่นนี่น่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่หลายคนเพิ่งตระหนักความน่ากลัว ความก้าวล้ำของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควอนตัมคอมพิวเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์ สู่นวัตกรรมที่อาจพลิกโฉมมนุษยชาติไปตลอดกาล   เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของแนวโน้มนวัตกรรมแห่งปี 2023 ที่ขาดไปไม่ได้ย่อมต้องเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของปัญญาประดิษฐ์ที่นำไปสู่ข้อถกเถียงขนานใหญ่ในสังคม     7. พัฒนาการจากความขัดแย้งของเซมิคอนดักเตอร์ ท่ามกลางวิกฤติโควิดหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลกที่สุดคือ เซมิคอนดักเตอร์ ชิปขนาดจิ๋วที่สร้างผลกระทบแก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ และกลายเป็นตัวแปรสำคัญในความขัดแย้งภายใต้เขตปกครองพิเศษไต้หวัน   ช่วงที่ผ่านมาการพัฒนาของชิปและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากมายหยุดชะงัก จากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์จากบริษัท TSMC เมื่อรวมกับสงครามเทคโนโลยีระหว่าง สหรัฐฯ และ จีน แล้วจึงกลายเป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ ที่นำไปสู่การแตกหักของสองมหาอำนาจ   ล่าสุดจีนเริ่มทุ่มเม็ดเงินกว่า 5 ล้านล้านบาท เพื่อสนับสนุนโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ เช่นเดียวกับสหรัฐฯที่ออกกฎหมาย CHIPS Act ดึงดูดบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์จากทั่วโลกเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศด้วยงบสนับสนุนกว่า 1.8 ล้านล้านบาท โดยมีเงื่อนไขห้ามตั้งโรงงานผลิตในจีน 10 ปี   แม้ความขัดแย้งจะทำให้การพัฒนาหยุดชะงักไปขั่วคราว แต่เมื่อเม็ดเงินมหาศาลไหลเวียนเซมิคอนดักเตอร์จะได้รับการพัฒนายิ่งขึ้น การแข่งขันจะผลักดันการพัฒนาให้ถีบตัว เมื่อรวมกับความตื่นตัวในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ในปี 2023 เราอาจมีชิปที่พัฒนาก้าวกระโดดขึ้นมาได้เช่นกัน     8.…

โลก ‘ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’ สะเทือน เมื่อ ’ควอนตัม’ เจาะการเข้ารหัสข้อมูลได้

Loading

จริงหรือไม่ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะสามารถเจาะการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ ได้ และอาจส่งผลให้อาชญากรสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กรได้ ไอบีเอ็ม ไขคำตอบเรื่องนี้!!!   วันนี้ความสามารถของ “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และอาจจะเร็วกว่าที่เคยมีการคาดการณ์ไว้เมื่อห้าปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี การพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงถือเป็นหนึ่งในความท้าทายสูงสุดทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดประตูสู่การแก้ปัญหาสำคัญๆ   อาทิ การพัฒนาแบตเตอรีรูปแบบใหม่ที่มีน้ำหนักเบาแต่ทรงพลังกว่าลิเธียมไอออนในปัจจุบัน การวิเคราะห์โครงสร้างโมเลกุลเพื่อหาวัสดุทางเลือก การวิเคราะห์การจัดสรรพอร์ตการลงทุน รวมถึงการต่อกรกับความท้าทายทั้งเรื่องสภาพอากาศและเน็ตซีโรแล้ว ควอนตัมคอมพิวเตอร์ยังจะเป็นพลังประมวลผลมหาศาลที่เข้าต่อยอดเทคโนโลยีอย่างเอไอหรือสนับสนุนการวิจัยทางชีววิทยาการแพทย์     เมื่อควอนตัมเจาะรหัสข้อมูล   สุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ไขประเด็นที่น่าสนใจ เมื่อมีการตั้งคำถามว่า จริงหรือไม่ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะสามารถเจาะการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ ได้ และอาจส่งผลให้อาชญากรสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กรได้   “ทุกวันนี้การเข้ารหัสคือเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การส่งอีเมล การซื้อของออนไลน์ หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลโดยใช้ดิจิทัล ซิกเนเจอร์ หรือที่เรียกกันว่าลายเซ็นดิจิทัล หากระบบการเข้ารหัสถูกเจาะได้ ย่อมเกิดผลกระทบต่อทั้งองค์กรและผู้บริโภคในวงกว้าง”   สุรฤทธิ์ กล่าวว่า ความก้าวล้ำของควอนตัมคอมพิวเตอร์จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้…

สิงคโปร์เอาจริง เข้ารหัสข้อมูลลับ ด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์

Loading

  ไซเบอร์กำลังคุกคามแต่ละประเทศหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกับประเทศที่เน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ซึ่งก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดช่องโหว่ขึ้นได้   สิงคโปร์ หนึ่งในประเทศที่เป็นฮับทางเทคโนโลยีของเอเซีย มีแผนที่จะนำควอนตัมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีประมวลขั้นสูงมาใช้เป็นเครื่องมือที่จะใช้ต่อสู้กับแฮกเกอร์   เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศแผนการที่จะจัดสรรเงินจำนวน 23.5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อสนับสนุนแพลตฟอร์มระดับชาติ ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการวิศวกรรมควอนตัม (QEP)   โดยหลักแล้ว เทคโนโลยีควอนตัม จะถูกนำมาเพื่อใช้เข้ารหัสในระบบต่าง ๆ เพื่อให้การเจาะระบบทำยากขึ้น รวมทั้งจะใช้ในการคาดการณ์อนาคตและกำหนดอนาคตต่าง ๆ ในเชิงรุก ซึ่งสิงคโปร์มีแผนที่จะเดินนำหน้าแฮกเกอร์ให้เร็วกว่า นั่นแปลว่าสิงคโปร์อาจรู้ถึงช่องโหว่ Zero-day ก่อนที่แฮกเกอร์จะรู้ครับ เห็นแบบนี้แล้วก็แอบอิจฉาเหมือนกันนะ….     ที่มาข้อมูล https://www.zdnet.com/article/singapore-ups-investment-in-quantum-computing-to-stay-ahead-of-security-threats/         ————————————————————————————————————————- ที่มา :      Techhub      / วันที่เผยแพร่   8 ก.ค. 65 Link :…

จีนเปิดตัวควอนตัมคอมพิวเตอร์เร็วสุดในโลก ด้วยความเร็ว 1 มิลลิวินาที เท่าการทำงานคอมพิวเตอร์ปกติ 30 ล้านล้านปี

Loading

  จีนเพิ่งประกาศว่า พวกเขาได้พัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกสำเร็จแล้ว และพวกเขายังบอกอีกว่า มันสามารถทำงานด้วยความเร็ว 1 มิลลิวินาที ที่เทียบเท่าการทำงานคอมพิวเตอร์ปกติ 30 ล้านล้านปี   ปาน เจียนเว้ย นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเหอเฟย ในมณฑลอานฮุย ผู้นำการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ เปิดตัวควอนตัมคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องใหม่ โดยพวกเขาตั้งชื่อหนึ่งในควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นว่า จูชงจือ 2 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อนักคณิตศาสตร์ของจีน ที่มีชีวิตอยู่เมื่อราวศตวรรษที่ 5   จูชงจือ 2 ได้รับการพัฒนา จนทำให้มันกลายเป็นควอนตัมคอมพิวเตอร์ ที่เร็วเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมันมีตัวนำโปรแกรมขนาด 66 คิวบิต เร็วกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดอย่าง Sycamore ของ Google ในขนาด 55 คิวบิต ถึง 10 ล้านเท่าตัว และมันยังทำงานได้ซับซ้อนกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของ Google ถึง 1 ล้านเท่าตัว   ปานยังประกาศอีกว่า ควอนตัมคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ได้รับการพํฒนาขึ้นมา มีชื่อว่า จิวจาง 2…