บินชนนก หนึ่งในปัญหาสำคัญในแวดวงการบิน ถือเป็นอุบัติเหตุอันเรียบง่ายแต่ไม่เคยแก้ตก ในอดีตเคยเกิดเหตุสลดจากสาเหตุนี้มามากมายและยังคงต้องเฝ้าระวังกันในอนาคต แต่ล่าสุดมีการเสนอทางแก้ปัญหาโดยการใช้หุ่นยนต์เหยี่ยวเพื่อขับไล่นกจากพื้นที่ หนึ่งในปัญหาสร้างความปวดหัวแก่นักบินมานักต่อนักคือ นก การมีนกบินผ่านขวางขณะกำลังพุ่งไปด้านหน้า หรือร้ายกว่าในกรณีนกเกิดหลุดเข้าไปในเครื่องยนต์ของเครื่องบินซึ่งกำลังลอยอยู่บนฟ้าเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เป็นเหตุให้มีการคิดค้นวิธีแก้ไขมาหลากหลายเพื่อขจัดปัญหานี้อย่างยั่งยืน ล่าสุดมีการคิดค้นหุ่นยนต์เหยี่ยวเพื่อไล่นกโดยเฉพาะแล้วก็จริง แต่มาดูกันว่านกสร้างปัญหาให้เครื่องบินแค่ไหน? Bird strike เรื่องสุดเลวร้ายของผู้ทำการบิน Bird strike หรือ บินชนนก ถือเป็นอุบัติเหตุที่พบได้ทั่วไปเมื่อทำการบิน อาจฟังดูน่าตลกชวนเกิดข้องกังขาสำหรับบางท่านว่า เหตุใดเครื่องบินซึ่งเราใช้งานบางครั้งมีขนาดใหญ่กว่านกทั่วไปจนเทียบกันไม่ได้ แต่นกตัวเดียวกลับทำให้เกิดความเสียหายที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของคนขับและผู้โดยสาร สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเกิดจากเมื่อเกิดการบินเราจำเป็นต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เมื่อเกิดการกระทบเข้ากับวัตถุจะสร้างพลังงานจลน์ตามหลัก E = 1/2mv2 โดยมีปัจจัยหลักของแรงกระแทกจากมวลและความเร็ว นั่นทำให้เมื่อเกิดการบินชนนกเข้า แม้บางครั้งอาจไม่ได้เป็นนกตัวใหญ่แต่ความเร็วที่สูงจะสร้างแรงปะทะและความเสียหายร้ายแรง ประกอบกับพื้นฐานการบินบนอากาศ เมื่อสูญเสียแรงขับเคลื่อนย่อมหมายถึงการร่วงหล่นที่ทำให้คนขับและผู้โดยสารเสียชีวิตได้โดยง่าย สถิติการเกิดอุบัติเหคุจากการบินชนนกเริ่มได้รับการรวบรวมมาตั้งแต่ปี 1912 ถือเป็นอันตรายอันดับหนึ่งซึ่งสร้างความเสียหายร้ายแรงให้แก่แวดวงการบิน ในวงการบินพลเรือนไทยประเมินว่ามีค่าเสียหายเกิดจากอุบัติเหตุประเภทนี้เกิดขึ้นกว่าปีละ 4 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับทางสหรัฐฯที่คาดว่ามีความเสียหายจากนกเกิดขึ้นปีละถึง 4.92 แสนล้านบาทเลยทีเดียว ความเสียหายร้ายแรงที่สุดจากการชนนกคือ เครื่องบิน L-188…