ข่าวกรองสหรัฐฯ โบ้ยรัสเซียและอิหร่านแทรกแซงศึกเลือกตั้ง หลังพบอีเมลข่มขู่ให้เลือกทรัมป์

Loading

จอห์น แรตคลิฟฟ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (ดีเอ็นไอ) แห่งสหรัฐฯ ระบุในวันพุธ (21 ต.ค.) ว่ารัสเซียและอิหร่านต่างพยายามแทรกแซงศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา 2020 หลังพบอีเมลส่งถึงบรรดาสมาชิกเดโมแครต ข่มขู่ให้หันมาเลือกประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในศึกเลือกตั้งวันที่ 3 พฤศจิกายน แรตคลิฟฟ์ กล่าวอ้างดังกล่าวระหว่างการแถลงข่าวที่มีการตระเตรียมอย่างเร่งรีบ และร่วมด้วย คริสโตเฟอร์ เรย์ อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (FBI) การแถลงข่าวครั้งนี้มีขึ้น 2 สัปดาห์ก่อนการเลือกตั้ง และแสดงให้เห็นถึงระดับความกังวลในหมู่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ว่าตัวแสดงต่างชาติอาจกำลังหาทางบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของอเมริกันต่อความซื่อสัตย์ของศึกเลือกตั้ง และแพร่ข้อมูลข่าวเท็จในความพยายามเบี่ยงผลการลงคะแนน “เรายืนยันว่าอิหร่านและรัสเซียมีข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางส่วน” แม้ข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้งเหล่านั้น ส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป แต่ แรตคลิฟฟ์ บอกว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลเห็นอิหร่านส่งเมลที่แอบอ้างอีเมลแอดเดรสของผู้อื่น (spoofed emails) ข่มขู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ปลุกปั่นความไม่สงบทางสังคมและก่อความเสียหายแก่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แรตคลิฟฟ์ อ้างถึงอีเมลที่ถูกส่งออกมาเมื่อวันพุธ (21 ต.ค.) ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ดูเหมือนส่งออกจากมาจากพวก Proud Boys กลุ่มลัทธิชาตินิยมคนผิวขาว ที่เกลียดชังผู้หญิงและเกลียดกลัวอิสลามที่สนับสนุนประธานาธิบดีทรัมป์ ก่อนหน้านี้บรรดาหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ เคยเตือนว่าอิหร่านอาจแทรกแซงเพื่อบ่อนทำลายทรัมป์ ส่วนรัสเซียกำลังพยายามช่วยเหลือทรัมป์ในศึกเลือกตั้ง ผู้สันทัดกรณีในวงนอก มองว่าหากข้อสันนิษฐานของแรตคลิฟฟ์นั้นถูกต้อง…

‘อังกฤษ’ แฉ ‘รัสเซีย’ เล็งโจมตีทางไซเบอร์ 2 อีเวนท์ใหญ่ใน ‘ญี่ปุ่น’

Loading

“อังกฤษ” แฉ และประณามการกระทำ “รัสเซีย” เล็งเป้าโจมตีทางไซเบอร์ในงานโตเกียวโอลิมปิก-พาราลิมปิก ส่อสร้างสถานการณ์รุนแรงป่วน รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ว่า หน่วยข่าวกรองของกองทัพรัสเซีย(GRU) ได้ปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์โดยมีเป้าหมายไปที่การแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิกซึ่งเดิมมีกำหนดจัดขึ้นในช่วงฤดูร้อนปีนี้ รายงานระบุว่า GRU มีส่วนในกิจกรรมทางไซเบอร์ที่เป็นอันตรายก่อนญี่ปุ่นตัดสินใจในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมาที่จะเลื่อนการแข่งกีฬาโอลิมปิกออกไปเป็นปีหน้า อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลอังกฤษระบุว่า การสอดแนมทางไซเบอร์มีเป้าหมายโจมตีองค์กรที่จัดงาน บริษัทที่เป็นสปอนเซอร์ และบริการด้านโลจิสติกส์ โดยในขณะนี้ ยังไม่ทราบรายละเอียดของการโจมตีทางไซเบอร์ และยังไม่ชัดเจนว่าการโจมตีทางไซเบอร์สร้างความเสียหายอย่างแท้จริงกับเป้าหมายดังกล่าวหรือไม่ รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นแคมเปญล่าสุดของกิจกรรมทางไซเบอร์ที่อันตรายของรัสเซียที่มีต่อการแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิก นายโดมินิก ร้าบ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษเรียกการโจมตีทางไซเบอร์ของรัสเซียว่าเป็น การเหยียดหยามและการไม่ยั้งคิด และอังกฤษขอประณามการกระทำดังกล่าวอย่างรุนแรงที่สุด นายร้าบ  ระบุเสริมด้วยว่า อังกฤษจะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อเรียกร้องและตอบโต้การโจมตีทางไซเบอร์ในอนาคต สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า โตเกียวโอลิมปิกได้ถูกเลื่อนไปจัดในระหว่างวันที่ 23 ก.ค. ถึง 8 ส.ค.ในฤดูร้อนปีหน้า ตามด้วยการแข่งพาราลิมปิกในวันที่ 24 ส.ค. ถึง 5 ก.ย. ———————————————- ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ / 20 ตุลาคม 2563 Link : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/903545

สหรัฐเตือนทวิตเตอร์เร่งยกเครื่องความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

ทวิตเตอร์ได้รับการแนะนำให้สร้างกรอบการกำกับดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่ หลังจากทางการสหรัฐตรวจสอบพบว่า ทวิตเตอร์ไม่มีการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพียงพอ อีกทั้งยังไม่มีหัวหน้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของข้อมูลเมื่อบัญชีผู้ใช้งานของบริษัทคริปโตเคอร์เรนซีหลายแห่ง และบุคคลสาธารณะที่มีชื่อเสียงหลายรายถูกแฮกเมื่อวันที่ 15 ก.ค.ปีนี้ ลินดา เอ.เลซเวลล์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการทางการเงินในสังกัดกระทรวงบริการทางการเงินแห่งรัฐนิวยอร์ก (ดีเอฟเอส) กล่าวว่า “แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกลายเป็นแหล่งข่าวและแหล่งข้อมูลชั้นนำอย่างรวดเร็ว แต่กลับยังไม่มีผู้ควบคุมดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ของทวิตเตอร์อย่างเพียงพอ ข้อเท็จจริงที่ว่าทวิตเตอร์สุ่มเสี่ยงต่อการถูกโจมตีที่ไม่ซับซ้อนนั้นแสดงให้เห็นว่า การกำกับดูแลด้วยตัวเองไม่ใช่คำตอบ” รายงานระบุว่า แฮกเกอร์หลายรายเข้าถึงระบบของทวิตเตอร์ด้วยการโทรศัพท์หาพนักงานของบริษัท และอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากแผนกไอทีของทวิตเตอร์ หลังจากแฮกเกอร์หลอกพนักงาน 4 คนให้แจ้งข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบแก่พวกเขา พวกเขาก็ได้ขโมยบัญชีทวิตเตอร์ของนักการเมือง คนดัง และผู้ประกอบการหลายราย รวมถึงบารัก โอบามา, คิม คาร์แดเชียน เวสต์, เจฟฟ์ เบซอส, อีลอน มัสก์ และบริษัทระบบเงินตราเข้ารหัสหลายแห่ง ซึ่งบัญชีเหล่านี้มีผู้ติดตามหลายล้านคน “การเลือกตั้งกำลังใกล้เข้ามาในอีกไม่ถึง 30 วัน เราต้องมุ่งมั่นกำกับดูแลบริษัทโซเชียลมีเดียขนาดใหญ่ให้มากขึ้น เพราะความสมบูรณ์ของการเลือกตั้งและตลาดของเรายึดโยงอยู่กับสิ่งนี้ จะเห็นได้ว่าการตอบสนองที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพของบริษัทระบบเงินตราเข้ารหัสที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงฯ มีการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถส่งเสริมนวัตกรรมและการเติบโต และปกป้องผู้บริโภคไปพร้อมกันได้มากเพียงใด” เลซเวลล์กล่าว สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในปี 2562 ทวิตเตอร์มีผู้ใช้งานเฉลี่ยมากกว่า 330 ล้านคนต่อเดือน โดยข้อมูลของศูนย์วิจัยพิวระบุว่า71% ของชาวอเมริกันบนทวิตเตอร์ใช้แพลตฟอร์มนี้ติดตามข่าวสาร และ 42%…

รายงานด้านความปลอดภัยล่าสุดของวีเอ็มแวร์ เผย ความเสี่ยงไซเบอร์เพิ่มขึ้นทั่วโลกหลังพนักงานทำงานจากที่บ้าน อาชญากรหันใช้การโจมตีแบบ Island-Hopping หวังเจาะกำแพงความปลอดภัยองค์กรใหญ่

Loading

อาชญากรไซเบอร์มักมองเห็นช่องโหว่จากกำแพงความปลอดภัยขององค์กรต่างๆ ที่กำลังดิ้นรนเพื่อเพิ่มมาตรการป้องกันและเพิ่มขีดความสามารถให้กับระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กรในระดับสูงสุด เหตุจากการที่ต้องปรับรูปแบบให้สามารถกระจายการทำงาน กระจายซัพพลายเชน และลดงบประมาณด้านไอที เพื่อลดความเสี่ยงที่ธุรกิจอาจชะงักงัน ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการลั่นระฆังความปลอดภัยพร้อมกันทั่วโลกเพื่อเปิดโอกาสให้อาชญากรทางไซเบอร์เข้าโจมตี จากรายงานประจำปีที่สามของ VMware Carbon Black Global Threat Report แสดงให้เห็นว่าการที่ธุรกิจทั่วโลกเกิดความชะงักงันเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นการเปิดช่องให้กับอาชญากรไซเบอร์ อันนำไปสู่ภัยคุกคามอย่างคาดไม่ถึง แต่หากมองในแง่บวก สถานการณ์นี้ผลักดันให้องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องงัดกลยุทธ์ออกมาเพื่อต่อสู้กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น #1: การโจมตีทางไซเบอร์ (Cyberattack) กำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก อาชญากรกำลังพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของตัวเอง ในขณะที่รูปแบบการรักษาความปลอดภัยแบบเก่า ๆ ถูกทำลายลง จากการสำรวจ 90% ของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ระบุว่าการโจมตีทางไซเบอร์มีอัตราสูงขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ 94% ขององค์กรทั่วโลกต่างประสบปัญหาการละเมิดความปลอดภัย โดยจำนวนการละเมิดเฉลี่ยที่พบในรายงานในปีที่ผ่านมาคือ 2.17 มากกว่า 9 ใน 10 ของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย กล่าวว่าพวกเขาเห็นว่าการโจมตีทางไซเบอร์โดยรวมเพิ่มขึ้นจากการทำงานจากที่บ้าน ดร. แมธธิว ทอดด์ อดีต CISO และอาจารย์ใหญ่คนปัจจุบันที่ Full Scope Consulting LLC กล่าวว่า “จากสถานการณ์ COVID-19 องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับความจริงที่ท้าทายอย่างกะทันหัน…

หลายรัฐในอเมริกาเริ่มใช้แอปโทรศัพท์มือถือให้ข้อมูลการเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อ

Loading

Covid19 App เกือบหนึ่งปีตั้งแต่เริ่มการระบาดของโควิด -19 และหลังจากที่มีบางประเทศ เช่น จีน เกาหลีใต้ อิสราเอล และตุรกี ใช้แอปเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรคดังกล่าว ขณะนี้หลายรัฐในสหรัฐฯ เริ่มสนใจใช้ประโยชน์จากแอปในโทรศัพท์มือถือเช่นกัน ในหลายประเทศ กระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานผู้รับผิดชอบในระดับชาติมักเป็นผู้จัดทำแอปเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 แต่ในสหรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลกลางไม่มีแผนงานดังกล่าว เรื่องนี้จึงตกเป็นหน้าที่ของรัฐบาลแต่ละรัฐเพื่อจัดทำแอปใช้งานในรัฐของตนโดยเฉพาะ ถึงแม้รูปร่างหน้าตาหรือลักษณะของแอปนี้อาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วเทคโนโลยีที่ใช้ก็มาจากสองแหล่งใหญ่ คือ Apple กับ Google นั่นเอง โดยเป้าหมายหลักคือการใช้เทคโนโลยีช่วยแจ้งให้ประชาชนทราบอย่างรวดเร็วว่าตนเคยเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อหรือไม่ และเพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถติดตามเรื่องนี้ได้อย่างรวดเร็ว และขณะที่แอปในประเทศจีน เกาหลีใต้ อิสราเอล กับตุรกี อาศัยการระบุตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของบุคคล เพื่อช่วยให้ทราบว่าใครเคยเข้าใกล้ผู้ที่มีเชื้อโควิด-19 หรือไม่นั้น ลักษณะของแอปที่ใช้ในอเมริกาจะเก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตนเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือเครื่องอื่น ๆ ที่ผู้ใช้แอปได้เข้าใกล้ รวมทั้งระยะเวลาที่อยู่ใกล้ โดยข้อมูลในลักษณะที่เรียกว่า “digital handshake” หรือการตรวจจับสัญญาณระหว่างโทรศัพท์ซึ่งกันและกันนี้ จะถูกเก็บไว้เฉพาะในโทรศัพท์ของเจ้าของแอปเท่านั้น และวิธีดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่มีผลเลือดเป็นบวก เพราะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะให้โค้ดพิเศษแก่ผู้ที่เคยได้รับเชื้อให้ใส่ลงในแอปเพื่อส่งสัญญาณเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือที่อยู่ใกล้ ถึงแม้ Apple กับ Google จะตั้งเงื่อนไขว่าจะยอมให้นำเทคโนโลยีของตนไปใช้ หากแอปติดตามโควิด-19 นี้ไม่ระบุตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือเครื่องนั้น หรือข้อมูลเฉพาะด้านอื่นก็ตาม แต่คำถามเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวก็ยังคงมีอยู่ เพราะมีความกังวลว่าแอปเหล่านี้อาจเก็บข้อมูลมากกว่าที่ผู้ใช้ทราบหรือยอมรับ…

MITRE เปิด Adversary Emulation Library รวมข้อมูลและแผนจำลองของกลุ่มผู้โจมตีทางไซเบอร์

Loading

MITRE ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร จัดทำฐานข้อมูลรายละเอียดเทคนิคและวิธีการที่ถูกใช้งานโดยกลุ่มผู้โจมตีทางไซเบอร์ ภายใต้ชื่อโครงการ Adversary Emulation Library ซึ่งเปิดให้เข้าถึงได้ฟรีผ่านเว็บไซต์ https://github.com/center-for-threat-informed-defense/adversary_emulation_library จุดประสงค์ของการจัดทำฐานข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้ทีมรับมือภัยคุกคามได้ศึกษารูปแบบการโจมตีอย่างเป็นระบบ และนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปรับปรุงเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงได้ โดยพื้นฐานแล้วในแต่ละครั้งที่กลุ่มผู้โจมตีทางไซเบอร์ (adversary) ลงมือโจมตีนั้นก็มักจะใช้กลยุทธ์ เทคนิค และวิธีการ (tactics, techniques, and procedures หรือ TTPs) ที่คล้ายคลึงกับรูปแบบเดิม หมายความว่าหากพบรูปแบบการโจมตีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้าก็พอที่จะอนุมานได้ว่ากลุ่มผู้ก่อเหตุนั้นน่าจะเป็นกลุ่มใดบ้าง การศึกษารูปแบบการโจมตีที่เคยเกิดขึ้นจริงแล้วนำรูปแบบเครื่องมือและวิธีการดังกล่าวมาซักซ้อมในระบบที่ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมจริง (เรียกว่าเป็นการทำ adversary emulation) ก็จะสามารถช่วยให้ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการรับมือสามารถเข้าใจวิธีการตรวจจับและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ ในเบื้องต้น ข้อมูลใน Adversary Emulation Library ของ MITRE นั้นยังมีเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม FIN6 ซึ่งเป็นกลุ่มผู้โจมตีที่เน้นปฏิบัติการในสถาบันทางการเงิน รายละเอียดใน FIN6 Adversary Emulation (https://github.com/center-for-threat-informed-defense/adversary_emulation_library/tree/master/fin6) โดยหลัก ๆ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้ Intelligence Summary เป็นข้อมูลสรุปภาพรวมของกลุ่มผู้โจมตี เช่น ประวัติการโจมตีที่ผ่านมา หน่วยงานที่เคยตกเป็นเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการโจมตี รูปแบบและวิธีการที่อ้างอิงตาม…