เมื่อ Smart Phone คือ ปัญหาของสิทธิพลเมืองที่ต้องระวัง…

Loading

ในโลกที่ทุกสิ่งทันสมัยมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ Smart Phone กลายเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก แต่ในความสะดวกกับมาพร้อมกับปัญหาของล่วงล้ำสิทธิอย่างคาดไม่ถึง… เมื่อ Smart Phone ล่วงล้ำพื้นที่ส่วนตัว? นวัตกรรม และเทคโนโลยีอันทันสมัยได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน แต่ในทางกลับกัน เครื่องมือที่ทันสมัย และมอบความสะดวกสบาย กับช่องทางให้เกิดอาชญากรรมรูปแบบใหม่ และเกิดคำถามมากมายถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่อาจเข้ามาละเมิดสิทธิพลเมือง เช่น สิทธิในความเป็นส่วนตัว ได้เช่นกัน เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากที่โลกได้ก้าวไปสู่ยุคที่เราเรียกว่า “ยุคดิจิทัล” ที่แทบจะทุกคนใช้สมาร์ทโฟนเป็นเหมือนอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย เพียงแต่หลายคนยังไม่ตระหนักถึงภัยคุกคามที่ตามมาเน่ืองจากไม่เชื่อว่าจะเป็นเช่นดังในหนัง “สายลับ” ได้จริง หากคุณนึกภาพไม่ออกผู้เขียนแนะนำให้ลองกลับไปหาหนังเรื่อง สโนว์เดน (Snowden) หรือ แฉกระฉ่อนโลก (CitizenFour) ดู เพราะมันคือหนังที่สร้างขึ้นจากกรณีของ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ของ ซีไอเอ (CIA) ที่ออกมาเปิดเผยถึงโครงการลับสุดยอดที่ใช้ชื่อรหัสว่า “พริซึม” (prism) หรือการสอดแนมด้วยเทคโนโลยีที่ให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) สำนักงานข่าวกรองกลาง (CIA) และสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐฯ (FBI) สามารถเข้าไปจารกรรม…

เฟซบุ๊ก จับมือ สำนักข่าว เอเอฟพี ตรวจสอบข่าวปลอมในไทย

Loading

เฟซบุ๊ก ร่วมกับ สำนักข่าว เอเอฟพี เปิดโปรแกรมตรวจสอบข่าวปลอมในประเทศไทย หากพบว่าไม่จริง จะแจ้งเตือนผู้ใช้งานก่อนแชร์ว่าปลอมพร้อมแสดงลิงก์ข่าวที่ถูกต้อง ขณะที่เพจข่าวปลอมจะถูกลดคะแนนการมองเห็น ส่งผลกระทบต่อการหารายได้จากเฟซบุ๊ก นางอันจาลี คาปูร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพันธมิตรข่าวประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เฟซบุ๊ก กล่าวว่า เฟซบุ๊กประกาศเปิดตัวโปรแกรมการตรวจสอบข้อมูลเท็จโดยผู้ตรวจสอบภายนอก ในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรักษาความโปร่งใสบนแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและพัฒนาคุณภาพของข่าวสารที่ผู้คนอ่านบนโลกออนไลน์ โดยเฟซบุ๊กร่วมมือกับ สำนักข่าว เอเอฟพี ซึ่งได้รับการรับรองโดยเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับนานาชาติ (International Fact Checking Network หรือ IFCN) ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่สถาบันพอยน์เตอร์ โดย เฟซบุ๊ก ได้เปิดตัวโปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยผู้ตรวจสอบภายนอกในเดือนธันวาคม 2559 และมีพันธมิตรกว่า 50 รายทั่วโลก ครอบคลุมกว่า 40 ภาษา มีเจ้าหน้าที่กว่า 30,000 คน กระจายตัวทำงานอยู่ในแต่ละประเทศ เพื่อให้เข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ สำหรับการตรวจสอบ จะตรวจสอบบนเพจ หรือ ลิงก์ ข่าว ที่เป็นทั้งเนื้อหาข่าว รูปภาพและวิดีโอ ที่เปิดเป็นสาธารณะ เท่านั้น ไม่ได้ตรวจสอบกับเพจส่วนบุคคล เมื่อมีการตรวจสอบพบว่า…

เกาหลีใต้เล็งออกกฎหมายต่อต้านการบุลลี่ในโลกออนไลน์

Loading

ร่างกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นหลังการจากไปของไอดอลคนดังที่ถูกผู้ใช้อินเทอร์เน็ตวิจารณ์ด้วยถ้อยคำรุนแรงจนต้องจบชีวิตตัวเอง โลกอินเทอร์เน็ตเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในที่ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งรวมของ Hate Speech หรือการเอ่ยวาจาประทุษร้าย จนคนที่เป็นเป้าหมายตัดสินใจจบชีวิตหนีความเจ็บปวดจากคนที่อาจจะไม่แม้แต่จะรู้จักหรือเห็นหน้าค่าตากันเลยสักครั้ง ในขณะที่เจ้าของถ้อยคำทิ่มแทงจิตใจเหล่านี้ทำไปเพราะความสะใจเพียงชั่วครู่ชั่วยาม ไม่ได้ตระหนักถึงผลที่จะตามมาแม้แต่น้อย ล่าสุดสมาชิกรัฐสภาของเกาหลีใต้อย่างน้อย 9 คนได้ร่วมกันเสนอร่างกฎหมายต่อต้านการแสดงความคิดเห็นในช่องทางออนไลน์ด้วยถ้อยคำมุ่งร้าย หยาบคาย รุนแรง โดยคณะอนุกรรมการจะพิจารณารายละเอียดและข้อบังคับต่างๆ ภายในต้นเดือน ธ.ค.ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการคณะดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนจากสมาคมศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ, สมาคมนักฟุตบอลคนดัง, สหภาพแรงงานของคนในวงการบันเทิง, สหภาพแรงงานข้าราชการ รวมทั้งคนดังที่ที่เคยหรือมีคนใกล้ชิดเคยตกเป็นเหยื่อการใช้ถ้อยคำรุนแรง ร่างกฎหมายฉบับนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กฎหมายซอลลี” ซึ่งตั้งชื่อตามซอลลี นักร้องและนักแสดงเกาหลีใต้ที่เพิ่งตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง หลังจากทุกข์ทรมานกับภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการถูกผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของเธอด้วยถ้อยคำมุ่งร้ายมาตลอดเวลาที่เธออยู่ในวงการบันเทิง หลังการเสียชีวิตของเธอจึงเกิดการล่ารายชื่อเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎที่เข้มงวดกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่แสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำไม่เหมาะสม รวมทั้งเรียกร้องให้เปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของผู้แสดงความคิดเห็นด้วย เมื่อ 3 ปีที่แล้ว สมาคมการบริหารงานวงการบันเทิงเกาหลี (CEMA) ได้ร่วมกับสมาคมธุรกิจธุรกิจบันเทิงและศิลปิน รณรงค์เกี่ยวกับการใช้ภาษาในโลกออนไลน์ ทว่าด้วยเหตุขัดข้องบางอย่างจึงไม่สามารถผลักดันเป็นกฎหมาย ทั้งนี้ การสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้เมื่อปีที่แล้ว พบว่า ในจำนวนนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมัธยม 50,000 คนที่เคยเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน 10.8% ถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ (cyberbullying) ซึ่งสูงกว่านักเรียนที่ถูกทำร้ายร่างกายที่มีเพียง 10% เมื่อปลายปีที่แล้ว นักเรียนมัธยมปลายใน จ.ชุงช็องเหนือตัดสินใจฆ่าตัวตายหลังได้รับข้อความข่มขู่จากเพื่อน ส่วนอีกรายหนึ่งถูกเพื่อนข่มขืนแล้วนำเรื่องราวไปเปิดเผยทำให้มีคนส่งข้อความไปหาเธอทางเฟซบุ๊คเพื่อขอมีเพศสัมพันธ์ด้วยมากมาย จนเธอมีอาการซึมเศร้า อีชางโฮ จากสถาบันนโยบายเยาวชนแห่งชาติ…

Elizabeth Warren ซื้อโฆษณาแพร่ข้อมูลปลอมในเฟซบุ๊ก เพื่อทดสอบว่าเฟซบุ๊กจะลบมันออกไหม

Loading

Elizabeth Warren ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ผู้มีโยบายลดอิทธิพลบริษัทไอทีขนาดใหญ่ ทดสอบเฟซบุ๊กด้วยการซื้อโฆษณาที่มีเนื้อหาว่า เฟซบุ๊ก สนับสนุนการกลับมาลงเลือกตั้งอีกครั้งของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในตอนนี้ และยังแนบภาพที่ทรัมป์ และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก จับมือพบปะกันที่ทำเนียบขาวด้วย เนื้อหาดังกล่าวไม่เป็นความจริง ซึ่ง Warren ก็รู้ในจุดนี้ แต่เธอกำลังทดสอบว่า เฟซบุ๊กจะมีท่าทีอย่างไรกับโฆษณาการเมืองที่มีข้อมูลปลอม ผลปรากฏว่าตอนแรก เฟซบุ๊กก็ดึงโฆษณาออก แต่ก็ดึงกลับมาใหม่อีกครั้ง โดยเฟซบุ๊กให้เหตุผลว่า หน้าที่ของเฟซบุ๊กคือ พยายามป้องกันการแทรกแซงการเลือกตั้งจากภายนอก แต่ไม่มีสิทธิ์ไปแทรกแซงสิ่งที่นักการเมืองพูดหรือแถลงไว้ และคำพูดของนักการเมืองจะไม่ไปถึงมือผู้ตรวจสอบข้อมูลภายนอก แต่ถ้าคำพูดนั้นเป็นการทำอันตรายให้คนอื่นก็ยังคงถือว่าผิดกฎแพลตฟอร์ม แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ไปเซนเซอร์คำพูดของนักการเมือง ผู้อ่านสามารถดูโฆษณาดังกล่าวได้ ที่นี่ ———————————————— ที่มา : Blognone / 15 ตุลาคม 2562 Link : https://www.blognone.com/node/112527

เผยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 40% ใน เอเชีย-แปซิฟิก มี Cyber risk สูง

Loading

ความจริงที่น่าตกตะลึง!! ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใน เอเชีย-แปซิฟิก มีพฤติกรรมทางไซเบอร์เสี่ยงสูง (Cyber risk) ผลสำรวจพบว่า 40% เต็มใจเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว… ผลสำรวจชี้ชัด Cyber risk ใน APAC สูง  เมื่อไม่นานมานี้ได้มีเปิดเผยผลสำรวจ Global Privacy Report 2018 ที่ทาง แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้สำรวจผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific หรือ APAC) พบว่า 39.2% เต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้ได้ความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบ หรือสอดส่องความปลอดภัยออนไลน์ แต่ยังมีกว่า 40% ที่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว โดยกว่า 22% สารภาพว่าแชร์ข้อมูลโซเชียลมีเดียเพื่อเล่นควิซต่างๆ ขณะที่ 18.9% ยอมรับว่ายอมสละความเป็นส่วนตัวเพื่อรับสินค้า และบริการฟรี เช่น ซอฟต์แวร์หรือของขวัญอื่น ๆ นอกจากนี้ในรายงานฉบับดังกล่าวยังเปิดเผยอีกว่า 55.5% ของผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในช่วงอายุ 16-24 ปี และ 25-34 ปี และมีความคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความเป็นส่วนตัวครบถ้วนสมบูรณ์ในโลกดิจิทัลสมัยใหม่ และเชื่อว่าข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ วันเกิด…