ระวัง ! มัลแวร์ตัวใหม่ชื่อ Clipper ดูดรหัสและข้อมูลในอุปกรณ์ของคุณ

Loading

นักวิจัยจาก ESET ค้นพบมัลแวร์ที่มากับแอพอันตรายบน Google Play Store บนแอนดรอยด์ ที่สามารถเปลี่ยนข้อมูลบนคลิปบอร์ดได้ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อมัลแวร์ “Clipper” โดยจ้องดูดข้อมูลรหัสผ่านและคีย์ไพรเวทบนอุปกรณ์ รวมทั้งแก้ไขที่อยู่วอลเล็ททั้งบิตคอยน์และ Ethereum ที่ถูกคัดลอกบนคลิปบอร์ดให้กลายเป็นที่อยู่วอลเล็ทของแฮ็กเกอร์แทนด้วย ผู้พัฒนามัลแวร์ตัวนี้ใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมของผู้ใช้เงินคริปโตทั้งหลายที่ไม่มานั่งจำหรือพิมพ์ที่อยู่วอลเล็ทที่ยาวเหยียดด้วยตัวเอง แต่มักใช้การคัดลอกและวางผ่านคลิปบอร์ดมากกว่า จึงกลายเป็นช่องทางทำมาหากินของมัลแวร์ Clipper ตัวนี้ มีการพบมัลแวร์นี้ครั้งแรกบนแอพชื่อ MetaMask ซึ่งเป็นปลั๊กอินสำหรับเว็บบราวเซอร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโอนเงิน Ethereum บนเว็บทั่วไป ซึ่งใช้ได้กับทั้ง Chrome, Firefox, และ Brave ประเด็นคือ ปลั๊กอิน MetaMask จากผู้ผลิตที่ถูกต้องปลอดภัยนั้นมีให้ใช้เฉพาะบนพีซีเท่านั้น ดังนั้นแอพ MetaMask ที่โผล่ให้โหลดบนมือถือจึงกลายเป็นแอพปลอมของอาชญากรแทน จริงๆมัลแวร์ Clipper นั้นระบาดครั้งแรกบนพีซีที่ใช้วินโดวส์ตั้งแต่ปี 2017 และต่อมาก็หันมาระบาดในแอพบนสโตร์จากเธิร์ดปาร์ตี้ของแอนดรอยด์ แต่ล่าสุดไม่กี่วันนี้สามารถแฝงตัวเข้ามาอยู่ใน Google Play Store ทางการได้ ซึ่งแม้ทางกูเกิ้ลจะลบแอพอันตรายดังกล่าวแล้ว แต่ก็ทำให้เกิดคำถามถึงความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของสโตร์ทางการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ——————————————————– ที่มา : EnterpriseITPro / กุมภาพันธ์ 18, 2019 Link : https://www.enterpriseitpro.net/clipper-malware-play-store-replace-btc-eth-wallet-address/

Google เผย 2 ช่องโหว่ร้ายแรงบน Chrome และ Windows เตือนผู้ใช้อัพเดตด่วน มีการโจมตีแล้ว

Loading

Google รายงานช่องโหว่ zero-day 2 ตัวบน Chrome และ Windows พร้อมแจ้งเตือนให้ผู้ใช้รีบอัพเดตทันที ช่องโหว่แรก (CVE-2019-5786) เกิดใน FileReader API ของ Chrome ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดในการจัดการหน่วยความจำ ทำให้ Chrome เข้าไปอ่านหน่วยความจำในตำแหน่งที่ไม่ใช้งานแล้ว เปิดช่องให้แฮกเกอร์สามารถรันโค้ดทางไกลได้ โดย Google ได้อัพเดต Chrome เวอร์ชัน 72.0.3626.121 เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมาเพื่ออุดช่องโหว่นี้แล้ว ส่วนอีกช่องโหว่ที่ทีมความปลอดภัยของ Google ค้นพบเป็นช่องโหว่บนวินโดวส์ที่เป็นการใช้ NULL pointer ผิดพลาดในฟังก์ชั่น NtUserMNDragOver ในบางกรณี นำไปสู่การเพิ่มสิทธิของไดรเวอร์เคอร์เนล win32k.sys ซึ่งอาจทำให้โค้ดที่มุ่งร้ายหลบการตรวจสอบจากแซนด์บ็อกซ์ได้ เบื้องต้น Google เชื่อว่าช่องโหว่ดังกล่าวโจมตีได้เฉพาะ Windows 7 เนื่องจาก Windows 10 มีกระบวนการป้องกันไปแล้วและ ณ ตอนนี้มีรายงานการโจมตีเฉพาะบน Windows 7 32-bit…

ส่องกล้องมอง 6 แนวโน้มภัยคุกคามไซเบอร์ในปี 2019

Loading

จากการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2019 นี้ เรามีการพูดถึงเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะมีบทบาทสำคัญไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากคลาวด์มากขึ้น, แมชชีนเลิร์นนิ่ง, AI, การนำเทคโนโลยี 5G มาใช้อย่างแพร่หลายภายในปี 2020, ไปจนถึงอุปกรณ์อัจฉริยะ และการปรับตัวของโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป กับปัญหาใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนกระทบกับสถานการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งสิ้น หรือแม้แต่การทำงานในสำนักงานเองที่มีความเสี่ยงเพิ่มเติมจากเทรนด์การทำงานจากบ้าน, อุปสรรคในการทำตามกฎหมาย GDPR, การหลอกลวงทางจิตวิทยา, การหลอกลวงทางธุรกิจผ่านอีเมล์, การใช้ระบบอัตโนมัติมาช่วยโจมตี ไปจนถึงการรีดค่าไถ่แลกกับความเสียหายด้านต่างๆ ล้วนเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลในปัจจุบัน และนี่คือแนวโน้มที่ทาง Trend Micro ได้ทำนายเอาไว้ โดยสรุปเป็น 6 หัวข้อได้ดังนี้ 01) เครือข่ายที่ใช้งานตามบ้านจะเปิดความเสี่ยงใหม่ในลักษณะคล้าย BYOD ให้องค์กร • ทั้งความนิยมในการทำงานจากระยะไกล และการนำอุปกรณ์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อเครือข่ายได้มาใช้ในบ้านมากขึ้น ล้วนเพิ่มความเสี่ยงจากการเปิดจุดเข้าถึงเครือข่ายขององค์กร • มีแนวโน้มการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงาน เช่น เครื่องพิมพ์หรือสตอเรจมากขึ้นเป็นสองเท่าจากการเปิดให้ทำงานจากบ้าน 02) หน่วยงานภาครัฐจะเริ่มใช้กฎ GDPR บังคับปรับองค์กรขนาดใหญ่ก่อนด้วยอัตราโทษปรับสูงเต็ม 4% • ถึงเวลาที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจะต้องแสดงตัวอย่างการลงโทษให้ผู้คนเกรงกลัวกันแล้ว โดยคาดว่าจะมีการเล่นงานบริษัทขนาดใหญ่เป็นตัวอย่างก่อนด้วยการปรับสูงเต็มอัตราโทษที่ 4% ของรายรับรวมทั่วโลก • หลายหน่วยงานต่างได้รับการร้องเรียนให้ลงโทษองค์กรที่ละเมิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก 03) จะมีการใช้เหตุการณ์สำคัญของโลกมาเป็นเครื่องมือโจมตีเชิงจิตวิทยา • เช่น งานโอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว,…

สภาผู้แทนฯ รัสเซียกำลังพิจารณากฎหมาย Single Gateway

Loading

สภาผู้แทนราษฎรของรัสเซียหรือ Duma กำลังอยู่ระหว่างการอภิปรายและพิจารณากฎหมาย Internet Sovereignty Act ในวาระแรก ซึ่งเบื้องต้นกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้บริษัทอินเทอร์เน็ตของรัสเซียต้องเก็บข้อมูลไว้ภายในประเทศ ขณะที่ทราฟฟิคอินเทอร์เน็ตของทั้งประเทศก็จะถูกควบคุมดูแลโดยรัฐด้วย ด้านนักฎหมายและนักสิทธิมนุษยชนออกมาโจมตีกฎหมายฉบับนี้ว่าปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of speech) รวมถึงอันตรายกับสังคมอินเทอร์เน็ตในภาพรวมของรัสเซีย เพราะรัฐบาลสามารถสั่งปิดอินเทอร์เน็ตเมื่อไหร่ก็ได้ ด้านคณะกรรมการดิจิทัลของสภาที่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้แย้งว่า จุดประสงค์ของกฎหมายนี้ ก็เพื่อให้หน่วยงานกลางของรัฐสามารถกำหนดเส้นทางของทราฟฟิคอินเทอร์เน็ตได้อย่างเป็นระบบ กรณีที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไม่เสถียร รวมถึงเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อความของคนรัสเซียที่ส่งหาคนรัสเซียด้วยกัน รวมข้อมูลของบริษัทรัสเซีย ไม่จำเป็นต้องวิ่งออกไปนอกประเทศด้วย ที่มา – CGTN ——————————————————– Blognone / 22 February 2019 Link : https://www.blognone.com/node/108257