แสบ! แฮ็กเครื่องพิมพ์กว่า 50,000 เครื่อง โปรโมทช่อง YouTube ตัวเอง

Loading

ท่ามกลางสมรภูมิอันดุเดือดของศึกชิงเจ้าตำแหน่งแชแนลบนยูทูปที่มีคนติดตามเยอะที่สุดในโลก ระหว่าง T-Series และ PewDiePie นั้น ปรากฏว่าเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา เครื่องพิมพ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกว่า 50,000 เครื่องทั่วโลกต่างโดนแฮ็กให้ปริ๊นท์กระดาษที่มีข้อความเชิญชวนให้กดสมัครสมาชิกแชแนล ซึ่งชื่อจริงของเจ้าของแชแนลดังกล่าวคือ Felix Kjellberg เป็นยูทูปเบอร์จากสวีเดน รู้จักกันในแง่ของคนคอมเมนต์เกมและอัพคลิปแกล้งคนต่างๆ ติดอันดับแชแนลที่มีคนกดสมัครสมาชิกติดตามมากที่สุดในโลกตั้งแต่ปี 2013 แต่ทว่าไม่กี่เดือนก่อนกลับมีแชแนลช่องหนังอินเดียชื่อ T-Series ขึ้นมาแซง และขับเคี่ยวกันสูสีในปัจจุบันที่ตัวเลขคนซับสไครป์ประมาณ 72.5 ล้านราย แม้ไม่แน่ใจว่าใช่เจ้าตัวหรือไม่ หลายคนก็มองว่าน่าจะเป็นแฟนคลับที่เหนียวแน่นผู้ไม่อยากให้ไอดอลของตัวเองเสียตำแหน่ง ที่ผันตัวเองมาเป็นแฮ็กเกอร์นิรนามผู้ใช้ชื่อบนทวิตเตอร์ว่า “TheHackerGiraffe”คอยสแกนหาปริ๊นท์เตอร์บนเน็ตผ่าน Shodan ที่เผลอเปิดพอร์ต 9100 ทิ้งไว้ จากนั้นจึงสั่งให้เครื่องพิมพ์ของเหยื่อปริ๊นท์กระดาษที่มีข้อความเชิงให้อันซับสไคร์ปช่อง T-Series แล้วหันมากดสมัครช่อง PewDiePie แทน สำหรับช่องโหว่บนปริ๊นท์เตอร์ที่โดนเล่นงานครั้งนี้เรียกว่า Printer Exploitation Toolkit (PRET) ซึ่งฟีเจอร์ดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตทดสอบหาช่องโหว่ ซึ่งถ้าไม่ได้ตั้งค่าความปลอดภัยดีๆ แม้แต่แค่รู้เบอร์แฟ็กส์ก็สามารถแฮ็กได้แล้ว ————————————————– ที่มา : Enterpriseitpro / ธันวาคม 13, 2018 Link : https://www.enterpriseitpro.net/pewdiepie-printer-hack/

การประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ : ไม่ง่ายอย่างที่คิด

Loading

โดย : พิเศษ เสตเสถียร เมื่อเร็ว ๆ นี้มีกรรมการของบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งถามผมว่า การประชุมกรรมการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำได้แล้วไม่ใช่หรือ? พอดีเขามีเรื่องที่จะต้องประชุมด่วน แต่กรรมการของเขาอยู่ต่างประเทศ ถ้าอย่างนั้น บริษัทของเขาจะประชุมคณะกรรมการทาง Video Conference จะได้ไหม? ผมตอบไปว่าอย่างไรขออุบไว้ก่อน เรามาดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมอิเล็กทรอนิกส์กันก่อนดีกว่าครับ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 74/2557 เรื่อง การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้ออกมาตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ได้บัญญัติถึง “การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์” เอาไว้ว่า “การประชุมที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีการประชุมที่กระทําผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยผู้ร่วมประชุมอย่างน้อยหนึ่งในสามขององค์ประชุมต้องอยู่ในที่ประชุมแห่งเดียวกัน และผู้ร่วมประชุมทั้งหมดต้องอยู่ในราชอาณาจักรขณะที่มีการประชุม แม้จะมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกันและสามารถประชุมปรึกษาหารือและแสดงความคิดเห็นระหว่างกันได้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์” เพราะฉะนั้น เงื่อนไขข้อแรกของการประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ คือนอกจากจะต้องกระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์หรือวิดีโอ แล้ว ก็จะต้องมีเงื่อนไขว่าต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 1 ใน 3 ต้องอยู่ในที่เดียวกัน และที่สำคัญที่สุดผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจะต้องอยู่ในราชอาณาจักรขณะที่มีการประชุม เพราะฉะนั้น ถ้าบริษัทไหนมีกรรมการเป็นชาวต่างประเทศที่อยู่นอกประเทศไทย ก็คิดดูเอาเองครับว่าจะประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่? ในการประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น ก็ไม่ยากอะไร ในข้อ 6 ของประกาศ คสช. ดังกล่าวบอกว่า “ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้มีหน้าที่จัดการประชุมต้อง…