ระงับให้บริการ! ผู้ถือซิมการ์ด 101 ซิมขึ้นไป ที่ยังไม่มายืนยันตัวตน

Loading

ตัวแทนคณะกรรมการ กสทช. ร่วมกับตำรวจไซเบอร์ และตัวแทนผู้ให้บริการ ประกอบด้วย AIS true-dtac และ NT ร่วมประชุมเพื่อหารือถึงมาตรการยืนยันตัวตนและข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการของผู้ใช้บริการที่ถือครองซิมการ์ด หลังพ้นกำหนดระยะเวลายืนยันตัวตน

ผู้ถือครอง ‘ซิมมือถือ’ มากกว่า 6 เบอร์ เริ่มยืนยันตัวตน 16 ม.ค.นี้ ฝ่าฝืน กสทช.ตัดสัญญาณ

Loading

เพื่อเป็นการป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์ กสทช. ขอให้ผู้ถือครองซิมมือถือตั้งแต่ 6 หมายเลขขึ้นไปยืนยันตัวตน ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.67 เป็นต้นไป มิเช่นนั้นซิมมือถือจะถูกระงับการใช้งาน โดยในปัจจุบันพบว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์มักจะมีซิมการ์ดจำนวนมาก เพื่อใช้ในการกระทำความผิด กสทช.

กสทช.ถกแก้ปัญหาสัญญาณเน็ตชายแดน หลังพบมิจฉาชีพลอบใช้กระทำผิดกฎหมาย

Loading

  เร่งแก้ปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตบริเวณชายแดนในฝั่งไทย พบอาจเอื้อต่อกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ มิจฉาชีพ ลักลอบนำสัญญาณไปใช้กระทำผิดกฎหมาย ชี้การตัดสัญญาณไม่ใช่ทางออก กระทบคนใช้สุจริต   รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. ได้จัดประชุมคณะทำงานกำหนดแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับความผิดทางเทคโนโลยี โทรคมนาคมและความมั่นคงของรัฐ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 โดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหาใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตบริเวณชายแดนในฝั่งไทย ซึ่งพบว่า อาจเอื้อต่อกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ ที่ลักลอบนำสัญญาณไปใช้กระทำผิดกฎหมาย   โดยที่ประชุมคณะทำงานฯ ในส่วนผู้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบจับกุม และผู้กำหนดแนวทางในการดูแลปัญหา ได้มีการหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา และหามาตรการที่เกิดสมดุลในการบังคับใช้กฎหมาย การดำเนินคดีกับมิจฉาชีพ และการไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้บริโภคในพื้นที่ชายแดน เนื่องจากการกระทำผิดของมิจฉาชีพมีความซับซ้อนและใช้เทคนิคกลโกงขั้นสูงมากขึ้น เช่น ใช้ช่องว่างของสัญญาณให้บริการของโอเปอเรเตอร์ที่มีความแรงข้ามขายแดน ในการกระทำความผิด ใช้บริการ ไว-ไฟ จากฝั่งไทยยิงสัญญาณข้ามชายแดนไปจุดที่ตั้งของคอลเซ็นเตอร์เถื่อน และใช้ ซิม บ็อกซ์ หรือ เบส สเตชั่น ปลอม เพื่อยิงเอสเอ็มเอสหลอกลวง ว่ามาจากผู้ห้บริการเครือข่าย ฯลฯ   แหล่งข่าวจาก กสทช. กล่าวว่า ทาง กสทช. ได้สั่งให้ สำนักงาน กสทช. ในเขตพื้นที่ตามแนวชายแดน ดำเนินการกำกับดูแลในเรื่องนี้อยู่แล้ว โดยพนักงาน กสทช. ในพื้นที่ จะประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการไม่ให้ส่งสัญญาณได้ โดยที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วหลายครั้ง เท่าที่ทราบกรณีที่เกิดขึ้นมีทั้งฝั่งชายแดน ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งติดกับประเทศเมียนมา และ สปป.ลาว บริเวณ จ.นครพนม รวมถึงเสาที่ตั้งบริเวณใกล้บ่อนการพนัน กรณีที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จะเป็นเสาที่ลักลอบตั้งขึ้นอย่างผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ทันที   “เมื่อมิจฉาชีพใช้กลโกงที่ซับซ้อน เจ้าหน้าที่ต้องสังเกตและรู้เท่าทันกลโกง การจะตัดสัญญาณสื่อสารบริเวณชายแดน ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะจะเกิดผลกระทบต่อผู้ที่ใช้บริการโดยสุจริต เจ้าหน้าที่ของไทยทราบว่า คอลเซ็นเตอร์เถื่อนตั้งอยู่ที่ไหนแต่เอาผิดไม่ได้ เพราะกฎหมายของไทยกับเพื่อนบ้านแตกต่างกัน ในอนาคตมีความจำเป็นต้องมีคณะทำงานร่วมเพื่อจัดการกับปัญหาอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการกำหนดมาตรการที่เข้มข้นขึ้น แต่ไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย”       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   …