Bluebik Titans แนะวิธีปกป้ององค์กรขั้นต้น ก่อนถูกโจมตีขโมยข้อมูลไปขายใน Dark Web

Loading

    หลังจากทั้งโลกได้ทรานส์ฟอร์มเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในเรื่องที่ทุกองค์กรต้องพิจารณาและให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าหากเกิดเหตุภัยคุกคามไม่ว่าจะเป็นการถูกละเมิดข้อมูล (Data Breach) ข้อมูลถูกทำลาย หรือเอาไปขายใน Dark Web แล้วเรียกค่าไถ่ สิ่งต่าง ๆ อาจผลกระทบรุนแรงจนทำให้ธุรกิจจำต้องหยุดชะงักลงได้   เมื่อวานนี้ ทีมงาน TechTalk Thai ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พูดคุยกับคุณพลสุธี ธเนศนิรัตศัย ผู้อำนวยการแห่ง Bluebik Titans และคุณรชต ถาวรเศรษฐ รองผู้อำนวยการแห่ง Bluebik Titans ซึ่งทั้งสองท่านได้แนะนำวิธีการปกป้ององค์กรขั้นต้น ที่ทุกองค์กรควรต้องดำเนินการเป็นอย่างน้อย เพื่อปกป้องไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีมาโจมตีหรือขโมยข้อมูลองค์กรเอาไปขายใน Dark Web ได้อย่างง่ายดายจนเกินไป     เว็บไซต์บนโลก มีมากกว่าที่เห็น   ปัจจุบันที่ทุกคนท่องเว็บไซต์อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตนั้น ถือว่าเป็นเพียงแค่ 5% ของเว็บทั้งหมดบนโลกเท่านั้น เพราะว่าเว็บไซต์บนโลก แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่  …

จับตา 2 ปี สัญญาณอันตราย ปัญหาบุคลากร ‘ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’

Loading

  การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 หรือสองปีข้างหน้านี้เกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริหารความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Leaders) จะเปลี่ยนงาน     Keypoints   –   ผู้บริหาร 25% จะหันไปทำงานในบทบาทที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง –   ปัญหาขาดบุคลากรหรือความผิดพลาดของมนุษย์มีส่วนโดยตรงต่อเหตุการณ์ทางไซเบอร์มากกว่าครึ่ง   โดยที่ผู้บริหาร 25% จะหันไปทำงานในบทบาทที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง อันเป็นผลมาจากปัจจัยความกดดันหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน   ดีฟติ โกพอล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ เผยว่า คนทำงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์กำลังเผชิญกับความเครียดในระดับที่แตกต่างกันออกไป   ผู้บริหารระดับสูงด้านการรักษาความปลอดภัย (Chief Information Security Officer : CISOs) อยู่ในโหมดที่ต้องปกป้ององค์กรโดยมีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้อย่างเดียวคือ “ต้องไม่โดนแฮ็ก” หรือไม่ทำให้เกิดช่องโหว่เสียเอง ผลกระทบทางจิตวิทยาของสิ่งนี้ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการตัดสินใจและประสิทธิภาพการทำงานของทั้งผู้นำและทีมงานไซเบอร์ซิเคียวริตี้     ช่องโหว่ ‘มนุษย์’ ต้นเหตุหลักภัยไซเบอร์   ข้อมูลระบุว่า ด้วยพลวัตเหล่านี้รวมถึงโอกาสในตลาดที่มีอยู่อย่างมหาศาลสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำให้การเปลี่ยนย้ายบุคลากรที่มีทักษะความสามารถกลายเป็นสัญญาณอันตรายต่อทีมงานความปลอดภัย   การวิจัยของการ์ทเนอร์ชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เน้นปฏิบัติตามกฎระเบียบ…

จีนออกมาตรการคุมเทคโนโลยี “ดีพเฟค” เริ่มบังคับใช้ ม.ค. นี้

Loading

  สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (ซีเอซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ของจีน ระบุว่า กฎใหม่ของจีน สำหรับผู้ให้บริการเนื้อหาที่มีการแก้ไขข้อมูลใบหน้าและเสียง จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2566 โดยหน่วยงานมุ่งหวังที่จะตรวจสอบเทคโนโลยีและบริการที่เรียกว่า “ดีพเฟค” อย่างเข้มงวดมากขึ้น   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ว่า กฎระเบียบใหม่จากซีเอซี ซึ่งออกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กำหนดให้บุคคลได้รับการคุ้มครองจากการถูกแอบอ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม อันมาจากเทคโนโลยี “ดีพเฟค” ภาพเสมือนที่มีความคล้ายคลึงกับภาพต้นฉบับจนแยกไม่ออก และถูกนำไปใช้เพื่อการบิดเบือน หรือการให้ข้อมูลเท็จได้โดยง่าย   China's rules for "deepfakes" to take effect from Jan. 10 https://t.co/faLf9KG1gj pic.twitter.com/52XnzO89iw — Reuters (@Reuters) December 12, 2022   ซีเอซี กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวข้างต้นมีเป้าหมายเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้บริการโดยแพลตฟอร์มดังกล่าว…

จีนประณามสหรัฐฯ โจมตีทางไซเบอร์มหาวิทยาลัยจีน

Loading

  นายหวาง เหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนเปิดเผยว่า มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าสหรัฐฯ เป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลก และเรียกร้องให้มีความพยายามร่วมกัน เพื่อต่อต้านการละเมิดอธิปไตยในโลกไซเบอร์และกฎระเบียบระหว่างประเทศของสหรัฐฯ   เมื่อวันอังคาร (27 ก.ย.) ศูนย์ตอบสนองเหตุฉุกเฉินไวรัสคอมพิวเตอร์แห่งชาติของจีน รายงานว่า สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ (NSA) เจาะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเข้าควบคุมสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในประเทศจีนและแทรกซึมเข้าไปในเครือข่ายภายในของมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น โปลีเทคนิคอล ของจีนโดยใช้เซิร์ฟเวอร์ในประเทศต่างๆ เช่น เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก เป็นฐานการโจมตีทางไซเบอร์ผ่าน ญี่ปุ่น เยอรมนี สาธารณรัฐเกาหลี และประเทศอื่นๆ มายังประเทศจีน ทำให้สามารถขโมยข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนและข้อมูลส่วนบุคคลได้ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังควบคุมผู้ให้บริการโทรคมนาคมอย่างน้อย 80 ประเทศ และดำเนินการดักฟังโทรศัพท์ของผู้ใช้โทรคมนาคมทั่วโลกตามอำเภอใจ   นายหวาง กล่าวว่า รายงานฉบับนี้นับเป็นฉบับที่ 3 ของเดือนนี้ ที่เกี่ยวกับการที่สหรัฐฯ โจมตีทางไซเบอร์ต่อมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ซึ่งที่ผ่านมา จีนได้เรียกร้องคำอธิบายจากสหรัฐฯ และขอให้ยุติการดำเนินการที่ผิดกฎหมายในทันที แต่จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ยังคงนิ่งเงียบ       —————————————————————————————————————————————– ที่มา :   …

“สกมช.”จับมือ กองบัญชาการกองทัพไทย ลงนามยกระดับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

  สองหน่วยงานจับมือลงนามเอ็มโอยู สนับสนุนด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ยกระดับการดูแล การรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการป้องกันราชอาณาจักร วันนี้ (19 พ.ค.)  สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดย พลเอก ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กับกองบัญชาการกองทัพไทย โดย พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ณ ห้องนเรศวร กองบัญชาการกองทัพไทย พลเอก ปรัชญา กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงฯ ฉบับดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ยกระดับการดูแล การรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ และสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการป้องกันราชอาณาจักร ซึ่งครอบคลุมถึงการดำเนินการเพื่อปกป้อง ป้องกัน ส่งเสริม ลดความเสี่ยง จากการถูกโจมตี ตลอดจนรับมือ และแก้ไขสถานการณ์ด้านภัยคุกคามที่ส่งผลต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยมีขอบเขตความร่วมมือในการพัฒนา สร้างการตระหนักรู้ พัฒนาขีดความสามารถทักษะและความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ผ่านโครงการกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรทางด้านไซเบอร์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังร่วมกันสนับสนุนการดำเนินการเพื่อยกระดับการดูแลและการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ในลักษณะแบบ CERT (Computer Emergency Response…

กูรูเปิด ‘3 เทรนด์’ ซิเคียวริตี้ สะเทือนความมั่นคงไซเบอร์

Loading

  ทุกวันนี้ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งผู้คน องค์กร และหน่วยงานรัฐบาล ล้วนตกอยู่บนความเสี่ยง แม้จะระมัดระวังอย่างมากแล้วก็มีโอกาสตกเป็นเหยื่อ กูรูด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ปี 2022-2024 ว่า 3 เทรนด์ที่น่าจับตามอง ประกอบด้วย   1.ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและความจำเป็นเร่งด่วนในการฉีดวัคซีนไซเบอร์ให้กับประชาชน โดย การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งปฏิกิริยาดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นขององค์กรการทำงานแบบเวิร์คฟรอมโฮมทำให้เปิดช่องโหว่ในการโจมตีของแฮ็คเกอร์มากขึ้นและที่สำคัญเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เพราะปัญหาทางไซเบอร์ไม่อาจแก้ได้โดยทางเทคนิคอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยกระบวนการที่ดีและการให้ความรู้ประชาชนด้วย   2.การโจมตีทางไซเบอร์ในระบบห่วงโซ่อุปทานและการรับรองมาตรฐานระดับวุฒิภาวะทางไซเบอร์ งานวิจัยทั่วโลกพบว่าการโจมตีทางไซเบอร์มีสาเหตุมาจากการที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมีการต่อเชื่อมกับหน่วยงานที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) โดยที่หน่วยงานเหล่านั้นมีช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทำให้องค์กรที่ต่อเชื่อมเกิดปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานหรือการรับรองความมั่นคงปลอดภัย ในระบบห่วงโซ่อุปทาน   3.ความท้าทายจากพฤติกรรมการทำงานที่เปลี่ยนไปและสถาปัตยกรรมความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมกับโลกยุค Post-COVID ด้วยการทำงานแบบเวิร์คฟรอมโฮมจะอยู่ไปอีกนาน ผู้คนเริ่มมีความคุ้นชินกับการประชุมออนไลน์ ซึ่งทำให้ระบบความมั่นคงปลอดภัยขององค์กรจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคทันสมัยและรองรับการโจมตีทางไซเบอร์เนื่องจากลักษณะการทำงานดังกล่าว   ดังนั้นฝ่ายรักษาความมั่นคงปลอดภัยมีความจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างเรื่องการป้องกันความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร และเรื่องการดำเนินธุรกิจ พร้อมๆ ไปกับการสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ โดยระบบมีความจำเป็นในการตรวจจับพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงและผิดปกติอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะยกระดับความเชื่อใจหากถูกคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที ปริญญา วิเคราะห์เหตุการณ์ดูดเงินซึ่งมีผู้เสียหายกว่า 4 หมื่นราย ความเสียหายกว่า…