จีนพร้อมลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในอัฟกานิสถานหากได้รับหลักประกันด้านความปลอดภัย

Loading

  นายซาบิฮูลา มูจาฮีด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงข่าวสารข้อมูลและวัฒนธรรมของรัฐบาลตาลิบันให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่าขณะนี้จีนต้องการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในอัฟกานิสถานหากรัฐบาลตาลิบันสามารถให้หลักประกันเรื่องความมั่นคงปลอดภัยแก่คนทำงานรวมทั้งทรัพย์สินของจีนได้ และว่าขณะนี้รัฐบาลตาลิบันพร้อมที่จะทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวจากจีนด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประชาคมระหว่างประเทศยังคงตำหนิรัฐบาลตาลิบันในอัฟกานิสถานอย่างรุนแรงที่ไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาเรื่องการเคารพสิทธิของสตรีและชนกลุ่มน้อยและไม่ยอมให้มีตัวแทนจากกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน นอกจากนั้นรัฐบาลตาลิบันยังคงห้ามไม่ให้เด็กผู้หญิงในระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลายเข้าเรียนในโรงเรียน แต่ยอมให้เด็กผู้ชายกลับไปเรียนได้ตามเดิม อีกด้านหนึ่ง รายงานชิ้นใหม่ที่เผยแพร่โดยกองทัพสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้เปิดเผยว่าในขณะที่เกิดความโกลาหลวุ่นวายที่สนามบินนานาชาติของกรุงกาบูลเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้มีความพยายามจี้บังคับเครื่องบินพาณิชย์ลำหนึ่งซึ่งเตรียมไว้เพื่ออพยพผู้คนออกจากอัฟกานิสถาน โดยรายงานที่ว่านี้ระบุว่ามีบุคคลห้าคนบนเครื่องบินลำนี้ตั้งใจจะจี้บังคับเครื่องบินสำหรับเที่ยวบินเพื่ออพยพผู้คน อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นและรายงานก็ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาหรือเที่ยวบินที่ว่านี้ ที่มา: VOA ————————————————————————————————————————————- ที่มา :  VOA Thai      / วันที่เผยแพร่   15 ต.ค.2564 Link : https://www.voathai.com/a/china-afghanistan-ct/6271712.html

เช็คความพร้อมไอทีก่อน PDPA บังคับใช้

Loading

  เช็คความพร้อมไอทีก่อน PDPA บังคับใช้ : โดยนายวรเทพ ว่องธนาการ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนด้านโซลูชั่น บริษัท ยิบอินซอย จำกัด เชื่อว่าหลายองค์กรในขณะนี้ต่างมีความเข้าใจถึงความสำคัญของการบังคับใช้กฎหมาย PDPA ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะเป็นการเสริมความมั่นคงปลอดภัยและความมั่นใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้งาน เพื่อเป็นการส่งท้ายก่อนกฎหมาย PDPA จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในกลางปีนี้ จึงอยากเชิญชวนองค์กรมาเช็คความพร้อมของระบบไอทีไม่ให้ตกหล่นเครื่องมือสำคัญที่ต้องมีเพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูง นั่นคือ   เครื่องมือค้นหาและจัดประเภทข้อมูล (Data Discovery and Classification) เพราะแต่ละองค์กรต่างมีการจัดเก็บและเรียกใช้และปรับปรุงข้อมูลมากมาย กระจัดกระจายอยู่ในระบบทั้งในองค์กร นอกองค์กร บนคลาวด์ หรือแม้ในปลายทาง หรือ เอนด์พอยต์ อย่างโทรศัพท์มือถือ หรือ BYOD ต่าง ๆ ดังนั้น การค้นหาและจัดประเภทข้อมูล จึงเป็นก้าวเริ่มต้นที่สำคัญในการวางระบบความปลอดภัยให้ข้อมูล เพราะเราคงไม่สามารถคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลใด ๆ ได้เลยหากไม่รู้ว่าข้อมูลนั้นอยู่ที่ไหน ข้อมูลใดสำคัญหรือไม่สำคัญและควรกำหนดแนวทางคุ้มครองอย่างไร การมีเครื่องมือไอทีที่ดีในการจัดทำคลังข้อมูลส่วนบุคคล นับเป็นการสร้างกระบวนการบริหารเชิงรุกไม่ให้มีการนำข้อมูลไปใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหา ระบุตำแหน่งที่จัดเก็บ และคัดแยกประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลในระบบ การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงผ่านการกำกับดูแลได้จากจุดเดียว สามารถติดตามกิจกรรมที่เกิดขึ้นกับการเรียกหรือใช้งานข้อมูลเหล่านั้นได้ทั้งการตรวจสอบย้อนหลัง หรือป้องปรามโดยการแจ้งเตือนทันทีที่เกิดการละเมิดนโยบายหรือข้อตกลง รวมถึงป้องกันการเข้าถึงข้อมูลด้วยการเข้ารหัส…

มาตรการเพื่อความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ e-Meeting 7 กระบวนการ ภายใต้ พ.ร.ก. การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

Loading

คธอ. เปิดข้อกำหนดใช้ e-Meeting อย่างไรให้มั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ รองรับ Work from Home ในช่วง COVID-19 ระลอกใหม่ ประธาน คธอ. เปิดมาตรการเพื่อความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ e-Meeting 7 กระบวนการ ภายใต้ พ.ร.ก. การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เตือนหน่วยงานรัฐหากมีการประชุมลับต้องมี มาตรการควบคุมสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของผู้เข้าประชุม และต้องใช้ระบบควบคุมการประชุมที่ติดตั้งและให้บริการในประเทศเท่านั้น ชวนตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองทางทุกช่องทางของ ETDA     ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลให้หลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ต่างมีมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้าน หรือ Work from home ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) พร้อมปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชุมที่เป็นขั้นตอนทำงานสำคัญ เป็นการประชุมออนไลน์ หรือ e-Meeting ซึ่งได้รับความนิยมและมีจำนวนการใช้งานเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อดูแลให้การประชุมออนไลน์มีความมั่นคงปลอดภัยและลดความเสี่ยงของภัยคุกคามต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ การประชุมออนไลน์จึงควรดำเนินการให้สอดคล้องตามมาตรฐานขั้นต่ำที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบัน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม…

รูปแบบคล้ายกรณี Hidden Cobra! มธ.แจงแก้ปัญหาถูกแฮกเซิร์ฟเวอร์ตั้งฐานจารกรรมหลาย ปท.แล้ว

Loading

  ธรรมศาสตร์ แจงเพิ่มมาตรการป้องกันความปลอดภัยเข้มงวดแล้ว หลังเกิดปัญหา McAfee ตรวจพบเซิร์ฟเวอร์ถูกควบคุมการทำงานใช้เป็นฐานจารกรรมหลายประเทศ รูปแบบคล้ายกรณี Hidden Cobra ที่กองทัพแฮกเกอร์เกาหลีเหนืออยู่เบื้องหลัง ยันประสานงานไทยเซิร์ต ทำตามคำแนะนำแก้ปัญหาเร่งด่วนทันที ตัดการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ตรวจสอบไม่พบความเสียหายต่อระบบภายในมหาวิทยาลัย สืบเนื่องจากสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำเสนอข้อมูลกรณี McAfee (โปรแกรมเอกชนที่ใช้ตรวจสอบไวรัสในคอมพิวเตอร์ ทำให้คอมพิวเตอร์ปลอดภัยจากไวรัสและสปายแวร์ต่างๆ) ตรวจสอบพบแฮกเกอร์เกาหลีเหนือใช้เซิฟเวอร์ประเทศไทยในการจารกรรมข้อมูลจาก 17 ประเทศ โดยระบุที่ตั้ง server ที่ใช้จารกรรมข้อมูลดังกล่าวนั้นตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเบื้องต้นอยู่ระหว่างการตรวจสอบของศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ เอ็ตด้า นั้น (อ่านประกอบ : เรื่องใหญ่! เมื่อ McAfee ตรวจพบเกาหลีเหนือใช้ server (ธรรมศาสตร์) จารกรรมข้อมูล17ปท.ทั่วโลก?) ล่าสุดมหาวิทยาลัยธรรมาศาสตร์ ได้ออกข่าวประชาสัมพันธ์ อ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ ดร.ปกป้อง ส่องเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ (สทส.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า จากกรณีกระแสข่าวมีนักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก McAfee รายงานว่าช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บางเครื่องถูกเข้ามาควบคุมการทำงานบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้เป็นฐานสำหรับการพยายามไปควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์อื่นในหลายประเทศ…