ปากีสถานเอาคืน บอกถล่ม‘ผู้ก่อการร้าย’ในอิหร่าน เพื่อความมั่นคงแห่งชาติ ด้านอเมริกาเปิดฉากโจมตีที่มั่นฮูตีในเยเมนอีกระลอก

Loading

ภาพถ่ายจากคลิปเผยแพร่ทางสื่อสังคม แสดงให้เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังการโจมตีของปากีสถานใส่หมู่บ้านในอิหร่านแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้ๆ เมืองซาราวัน จังหวัดซิสถานและบาลูจิสถาน ของอิหร่าน เมื่อวันพฤหัสฯ (18 ม.ค.)

จีนเสนอร่างมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสำหรับผู้ตรวจสอบบัญชีทางธุรกิจในจีน

Loading

กระทรวงการคลัง (MOF) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการไซเบอร์สเปซกลางของจีน ได้ร่างมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสำหรับผู้ตรวจสอบบัญชีทางธุรกิจ ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และกฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยเครือข่าย ซึ่งเผยแพร่ต่อสาธารณะบนเว็บไซต์ของกระทรวงการคลัง เมื่อ 10 พ.ย.66

ระอุหนัก! สหรัฐฯ ยกระดับป้องกันตนเองในเอเชีย-แปซิฟิก ส่ง ‘ฐานลอยน้ำยักษ์’ เข้าประจำการ

Loading

    กองทัพเรือสหรัฐฯ กำลังยกระดับป้องกันตนเองในเอเชีย-แปซิฟิก ท่ามกลางความตึงเครียดกับจีน ด้วยการส่งฐานจอดอากาศยานขนาดใหญ่ลำใหม่ล่าสุดเข้าประจำการในโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ยูเอสเอส มิเกล คีธ เรือฐานเคลื่อนที่ซึ่งออกแบบมาเพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ปริมาณมากและทำหน้าที่ในฐานะเป็นฐานลอยน้ำสำหรับฝูงบินเฮลิคอปเตอร์และเรือสะเทินน้ำสะเทินบก ถูกส่งเข้าประจำการที่ฐานทัพเรือไวท์บีช บนเกาะโอกินาวา ของญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์ (8 ต.ค.) ที่ผ่านมา จากคำแถลงของกองทัพเรือสหรัฐฯ ถ้อยแถลงของกองทัพเรือสหรัฐฯ ระบุว่าเรือลำนี้จะเข้าปฏิบัติภารกิจร่วมกับกองเรือโจมตีเคลื่อนที่เร็วและกองกำลังนาวิกโยธินของกองเรือที่ 7 แห่งสหรัฐฯ เรือยูเอสเอส มิเกล คีธ เป็นเรือชั้นลูอิส บี พูลเลอร์ ความยาว 240 เมตร และสามารถมอบการสนับสนุนด้านโลจิสติกส์แก่ปฏิบัติการทางเรือต่างๆ การประจำการครั้งนี้มีขึ้นในขณะที่กองทัพเรือของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอินเดีย เริ่มการซ้อมรบร่วมภายใต้กรอบการทำงานของ Quad ในวันอังคาร (12 ต.ค.)     การซ้อมรบ “มาลาบาร์” 3 วัน ตั้งแต่วันอังคาร (12 ต.ค.) จนถึงวันพฤหัสบดี (14 ต.ค.) ในอ่าวเบงกอล…

อีกมุมมอง “ต่างชาติซื้อบ้าน” ได้ กรณีศึกษาแนวทาง-ข้อกังวล

Loading

  จากกรณีวาระร้อนช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา กับการปลดล็อกเงื่อนไขการลงทุนที่หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเปิดทางให้ต่างชาติซื้อบ้านและที่ดินในไทยได้ นำไปสู่ข้อครหา “ขายชาติ!” ที่หลายฝ่ายยังถกเถียงว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่? ในบริบทที่ว่านี้ ผู้เขียนจึงขอพา “คุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์” มาลองมองอีกมุมมองจากประเทศอื่นๆ เช่น “ญี่ปุ่น” กันดูว่า “ทำไมเขาถึงกล้าให้คนชาติอื่นเข้ามาจับจองซื้ออสังหาริมทรัพย์ในบ้านตัวเอง โดยไม่สนคำครหาเช่นเดียวกับไทยนี้บ้าง?” ผ่าน “กรณีศึกษา” แนวทางและวิธีการที่เป็นไปได้ แต่ก่อนอื่นนั้น… ต้องมาย้อนดูมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 14 กันยายน 2564 อีกครั้ง เพื่อไล่เรียงทีละข้อว่า รายละเอียดที่ถูกพูดถึงกันมาก และกลายเป็นคำกล่าวหา “ขายชาติ” มีเช่นไรบ้าง? การเปิดทางให้ “ต่างชาติซื้อบ้าน” ในไทยได้นั้น เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน เพื่อหวังดึงดูดชาวต่างชาติที่มี “ศักยภาพสูง” ซึ่งเป็นข้อเสนอของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่มีทั้งหมด 7 ข้อด้วยกัน และที่ว่านี้ก็อยู่ในข้อที่ 2 โดยระบุว่า “มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวใหม่ รวมทั้งข้อยกเว้นและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1)…

อังกฤษเตือนนักเคลื่อนไหวทางการเมืองฮ่องกง อาจถูกส่งกลับในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน

Loading

  รัฐบาลอังกฤษประกาศเตือน การเดินทางไปต่างประเทศอาจทำให้นักเคลื่อนไหวทางการเมืองฮ่องกงไม่ปลอดภัย ภายหลังฮ่องกงประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ ทางการอังกฤษได้ออกประกาศเตือนนักวิจารณ์เกี่ยวกับฮ่องกงในการเดินทางไปต่างแดน โดยเฉพาะนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษย์ชนชื่อดัง Bill Browder ผู้มีบทบาทในการเรียกร้องให้รัฐบาลคว่ำบาตรประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่องกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ โดยเฉพาะประเทศที่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับฮ่องกง เรื่องนี้ถูกเปิดเผยจากนายบราวเดอร์เอง โดยกล่าวว่าเขาได้รับการติดต่อจากสำนักงานต่างประเทศของอังกฤษในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ให้ตัวเขาและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีส่วนเรียกร้องการคว่ำบาตร หลีกเลี่ยงเดินทางไปยังประเทศที่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับฮ่องกง เพราะอาจตกเป็นเป้าหมายการเล่นงานของกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ของจีน ตัวของนายบราวเดอร์ได้รับรายชื่อประเทศที่มีกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนแก่ทางฮ่องกงจากเจ้าหน้าที่ แต่ไม่มีการให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่ามีการติดต่อมาจากที่ใดบ้าง เช่นเดียวกับสำนักงานต่างประเทศของอังกฤษก็ไม่ได้ให้ข้อมูลส่วนนี้เพิ่มเติม กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ของจีน เริ่มประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2020 โดยถือว่าพฤติกรรมการแสดงออกที่ชี้นำไปในลักษณะการสมรู้ร่วมคิดบ่อนทำลาย, การแยกตัวจากประเทศ, การโค่นล้มรัฐบาล และการก่อการร้าย เป็นสิ่งผิดกฎหมาย โดยมีการบังคับใช้จับกุมผู้ต้องสงสัยไปแล้วกว่า 140 คน ทั้งบุคคลที่สนับสนุนประชาธิปไตย นักกิจกรรมนักศึกษา นักข่าว และนักเคลื่อนไหวทางสิทธิมนุษยชน อีกทั้งมีการตั้งข้อหานี้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเมือง รวมถึงบุคคลที่หลบหนีออกมายังต่างประเทศ กฎหมายดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดยรัฐบาลจีน ถูกนำมาบังคับใช้อย่างกว้างขวางอีกทั้งมีการอ้างสิทธิ์ในต่างประเทศ นำไปสู่ความกังวลว่ามันจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นงานนักเคลื่อนไหว คนเห็นต่างที่ออกมาเรียกร้อง หรือเป็นศัตรูทางการเมืองของจีนที่อยู่ในต่างประเทศด้วย กฎหมายการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนของฮ่องกงมีการผูกไว้กับ 19 ประเทศ รวมถึง อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงค์โปร์, แอฟริกาใต้ และโปรตุเกสที่ยังมีข้อตกลงผูกมัดอยู่ ในขณะที่อีกหลายประเทศ ทั้งอังกฤษ, ออสเตรเลีย, เยอรมนี,…

ความมั่นคงรัสเซีย

Loading

  สหพันธรัฐรัสเซียกำลังปรับยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามใหม่ จากทั้งภายในและภายนอก ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย   นายนิโคไล พาตรูชอฟ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติรัสเซีย เผยต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ รอสซีสกายา กาเซตา ของรัฐบาลมอสโก ว่า การกดดันทางการเมืองและเศรษฐกิจ กำลังถูกใช้เพื่อควบคุมรัสเซีย และมีความพยายามบ่อนทำลายสถานการณ์ทางสังคมและการเมือง มีการวางแผนสนับสนุนและยุยงให้มีการประท้วง ก่อความรุนแรงในรัสเซีย รวมทั้งทำลายจิตวิญญาณดั้งเดิม และคุณค่าทางจริยธรรมของชาวรัสเซีย   วันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย เป็นประธานการรประชุมสมาชิกถาวรของสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อหารือเกี่ยวกับร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ โดยแผนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2558 และตามกฎหมายของรัสเซีย กำหนดให้ทบทวนและร่างใหม่ทุก 6 ปี   แผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ โดยหลักจะเน้นมาตรการพิเศษทางด้านเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชากร เสริมความสามัคคีของชนในชาติ และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งชาติ   พาตรูชอฟ เน้นย้ำว่า การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ใหม่ ยังจะรวมถึงการใช้ วิธีการบีบบังคับแบบเข้มข้น (coercive forceful methods) เพื่อเสริมศักยภาพด้านกลาโหมของประเทศ   รัสเซียจะให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ…