‘หมู่เกาะโซโลมอน’ เตรียมแบนเฟสบุ๊กเพื่อปกป้อง ‘ความสามัคคีภายในชาติ’

Loading

In this Nov. 24, 2018, photo, ships are docked offshore in Honiara, the capital of the Solomon Islands. รัฐบาลประเทศหมู่เกาะโซโลมอน ประกาศสนับสนุนแผนห้ามใช้สื่อสังคมออนไลน์ เฟสบุ๊ก (Facebook) เพื่อปกป้อง “ความเป็นเอกภาพแห่งชาติ” ท่ามกลางเสียงตอบโต้ว่ามาตรการนี้มีขึ้นเพื่อกลบเสียงวิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลมากกว่า เฟสบุ๊ก เป็นหนึ่งในช่องทางการสื่อสารยอดนิยมของประชาชนชาวหมู่เกาะโซโลมอน ซึ่งมีภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยเกาะเล็กเกาะน้อยมากมายกระจายเป็นระยะทางมากกว่า 1,400 กม. ปัจจุบัน ประเทศหมู่เกาะแห่งนี้มีประชากรราว 685,000 คน และมีอยู่ราว 20% ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แต่รัฐบาลของหมู่เกาะโซโลมอนระบุว่า ที่ผ่านมาเฟสบุ๊กถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทางที่ผิด พร้อมเสนอแผนบล็อกเฟสบุ๊กและสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ จากความกังวลเรื่องการหมิ่นประมาทและการรังแกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ รวมทั้งต้องการจัดระเบียบพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเสียใหม่เพื่อปกป้องชุมชนจากถ้อยคำที่รุนแรงและละเมิดผู้อื่น รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารของหมู่เกาะโซโลมอน ปีเตอร์ ชาเนล อโกวากา กล่าวว่า สิ่งที่ควรมาพร้อมกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพของสื่อ คือความรับผิดชอบต่อสังคม เช่นเดียวกับสื่อสังคมออนไลน์ที่ควรใช้อย่างมีสติและฉลาดเท่าทัน ไม่ใช่ใช้เพื่อทำร้ายผู้อื่นเหมือนที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ผู้ต่อต้านบอกว่าคำสั่งห้ามใช้เฟสบุ๊กถือว่าขัดกับรัฐธรรมนูญของประเทศว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น…

เปิดเเผนรัสเซียขยายอิทธิพลเพื่อ ‘แทรกซึมการเมืองสหรัฐฯ’ ต่อเนื่อง

Loading

Putin’s language สี่ปีหลังจากการเตือนภัยและเตรียมการต่อต้านการเเเทรกแซงของรัสเซียต่อการเลือกตั้งอเมริกัน หน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯ มั่นใจว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเมื่อปี ค.ศ. 2016 ที่รัสเซียสามารถเจาะล้วงระบบข้อมูลและขยายอิทธิพลต่อกระบวนการประชาธิปไตยอเมริกา อย่างไรก็ตาม ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่ารัสเซียยังคงพยายามขยายปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสารในรูปแบบที่แยบยลกว่าในอดีต จากเดิมที่รัสเซียใช้บัญชีโซเชี่ยลมีเดียปลอมสร้างเนื้อหาและเผยเเพร่ข้อมูล ปัจจุบันกลวิธีใหม่ๆ ถูกนำมาใช้เพื่อชี้นำความคิดในสังคมอเมริกัน เช่น การแทรกซึมเข้าไปในวงการข่าวและสื่อสังคมออนไลน์ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มขวาจัดและซ้ายจัดในอเมริกา เอวานา ฮู ซีอีโอ ขององค์กร Omelas ที่ศึกษาเกี่ยวกับความคิดสุดโต่งออนไลน์ ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า วิธีการลักษณะนี้ของรัสเซียสามารถสร้างความสนใจและมีปฏิกิริยาตอบโต้บนสื่อออนไลน์โดยผู้ใช้สื่อจำนวนนับล้านคน เธอบอกว่าโพสต์เหล่านี้ถูกออกแบบมาอย่างดี เพื่อกระตุ้นความรู้สึก ทั้งทางบวกและทางลบต่อเป้าหมาย องค์กรของเธอซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน วิเคราะห์เนื้อหาที่รัสเซียปล่อยออกมาบนสื่อสังคมไลน์ 1 ล้าน 2 แสนโพสต์บน 11 แพลตฟอร์มช่วง 90 วัน ก่อนและหลังวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 3 พฤศจิกายน US-politics-vote-RALLY องค์กร Omelas พบว่าสื่อของรัสเซียที่ปล่อยข้อมูลออกมามากในอันดับต้นๆได้เเก่ RT, Sputnik, TASS และ Izvestia TV Omelas…

อย่างโหด! จุดไฟเผารัฐสภากัวเตมาลา ประท้วงขับไล่ประธานาธิบดี

Loading

ผู้ชุมนุมกัวเตมาลาหลายร้อยคน จุดไฟเผาอาคารรัฐสภาเมื่อวันเสาร์ (21 พ.ย.) ระหว่างการประท้วงเรียกร้องให้ประธานาธิบดี อเลฮันโดร จิอัมมัตเต ลาออกจากตำแหน่ง หลังความเคลื่อนไหวผ่านงบประมาณฉบับหนึ่ง โหมกระพือความไม่พอใจภายในชาติอเมริกากลางที่ยากจนแห่งนี้ เปลวเพลิงที่โหมไหม้อาคารรัฐสภา สามารถมองเห็นได้ไกลจากท้องถนนของกรุงกัวเตมาลาซิตี และโฆษกของสภากาชาดเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า เจ้าหน้าที่ของพวกเขาได้ให้การรักษาผู้ที่ได้รับพิษจากควันไฟไปหลายคน นอกจากบริเวณดังกล่าวแล้ว ได้มีการประท้วงเรียกร้อง จิอัมมัตเต ลาออกอีกแห่ง โดยจุดนี้พวกผู้ชุมนุมปักหลักกันอย่างสันติ ที่ทำเนียบเก่าของรัฐบาล ในย่านเก่าแก่ของเมืองหลวง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากอาคารรัฐสภา พวกผู้ประท้วงไหลบ่าเต็มจัตุรัสใจกลางกรุงกัวเตมาลาซิตี บริเวณด้านหน้าทำเนียบเก่า โบกธงชาติและป้ายข้อความ ที่ระบุว่า “ไม่เอาคอร์รัปชัน” และ “จิอัมมัตเต ออกไป” ผู้คนในกัวเตมาลารู้สึกไม่พอใจต่อคณะรัฐบาลของจิอัมมัตเต และสภาคองเกรสมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อกรณีที่ประเทศแห่งนี้ขาดแคลนทรัพยากรและไม่มีงบประมาณในการต่อสู้กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาคองเกรสของกัวเตมาลา ซึ่งพรรคร่วมรัฐบาลแนวคิดอนุรักษนิยมครองเสียงข้างมาก ได้เห็นชอบงบประมาณเกือบ 13,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 390,000 ล้านบาท) ก้อนใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ สำหรับลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจใหญ่ๆ กระตุ้นความขุ่นเคืองในประเทศที่เต็มไปด้วยคนยากจน และครึ่งหนึ่งของเด็กๆอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เป็นโรคขาดสารอาหาร สภาคองเกรงยังได้อนุมัติงบประมาณ 3,800 ล้านดอลลาร์ (ราว 110,000 ล้านบาท)…

สหรัฐฯ – อิรัก ตึงเครียด! หลังเหตุจรวดโจมตีสถานทูตอเมริกันในกรุงแบกแดด

Loading

Security forces inspect the scene of a rocket attack at the gate of al-Zawra public park in Baghdad, Iraq, Nov. 18, 2020. Rockets struck Iraq’s capital on Tuesday with four landing inside its heavily fortified Green Zone. เกิดเหตุจรวดโจมตีบริเวณเขตอาคารสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงแบกแดด ในช่วงข้ามคืนวันอังคารที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดทางการทูตเพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯ กับอิรัก หลังจากที่สหรัฐฯ เพิ่งจะประกาศถอนทหารอเมริกันอีก 500 นายออกจากอิรัก สื่อของอิรักรายงานว่า จรวดจำนวน 7 ลูกที่ยิงมาจากกลุ่มติดอาวุธที่สนับสนุนรัฐบาลอิหร่าน ตกลงในเขตปลอดภัยสูงสุด หรือ กรีนโซน ในกรุงแบกแดด โดยเชื่อว่ามีเป้าหมายโจมตีอาคารสถานทูตสหรัฐฯ…

สหรัฐฯ ประกาศ “ความก้าวหน้าอันเป็นรูปธรรม” ในการต่อต้านภัยคุกคามความมั่นคงจากจีน

Loading

US Attorney General William Barr speaks on Operation Legend, the federal law enforcement operation, during a press conference in Chicago, Illinois, on September 9, 2020. (Photo by KAMIL KRZACZYNSKI / AFP) กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เผยว่า “มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม” ในโครงการ “China Initiative” ที่เป็นความริเริ่มของรัฐบาลในการต่อต้านความพยายามของจีนในการก่อกวนความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศ ตามข้อมูลในแถลงการณ์ที่ออกมาในวันจันทร์ตามเวลาในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 2 ปีของการดำเนินโครงการดังกล่าว วิลเลียม บารร์ รัฐมนตรียุติธรรมกล่าวว่า ทางกระทรวงฯ ประสบความสำเร็จอย่างมากในการต่อต้านภัยคุกคามจากจีน แต่ย้ำด้วยว่า ยังมีหลายเรื่องที่ต้องดำเนินการอยู่ และกระทรวงยุติธรรมจะเดินหน้าจัดการกับผู้ที่ขโมย หรือเข้าถึง “ทุน” ทางปัญญาของสหรัฐฯ โดยไม่ถูกกฎหมายให้ได้ สหรัฐฯ…

ก่อการร้ายเขย่ากรุงเวียนนาของออสเตรีย : ใครทำ?

Loading

ที่มาภาพ: https://www.bbc.com/news/world-europe-54798508 Written by Kim หลายชั่วโมงก่อนที่ออสเตรียจะปิดเมือง (lockdown) อีกครั้ง เพื่อสะกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2020 ได้เกิดเหตุก่อการร้ายในกรุงเวียนนา โดยที่เกิดเหตุหลายแห่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคง ขณะที่ผู้นำยุโรปรวมทั้งนายกรัฐมนตรีอังกฤษบอริส จอห์นสันและประธานาธิบดีฝรั่งเศสเอ็มมานูเอล มาครงร่วมประณามการโจมตีดังกล่าว ซึ่งแสดงเครื่องหมายการก่อการร้ายของ ISIS ที่คล้ายคลึงกับปฏิบัติการโจมตีกรุงปารีส (พฤศจิกายน 2015) และกรุงบรัสเซลส์ (มีนาคม 2016)[1]           การโจมตีแบบประสานงานของผู้ก่อการร้าย (ไม่ทราบจำนวน) ใช้อาวุธปืนไรเฟิลและปืนพกกราดยิง 6 จุดในกรุงเวียนนาเมื่อ 20.00 น. ของวันที่ 2 พฤศจิกายน 2020 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน (ชาย 2 หญิง 2) บาดเจ็บมากกว่า 15 คน (มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงคนร้ายเสียชีวิต 1 คน) ทางการออสเตรียระบุว่า เหตุดังกล่าวเป็นการก่อการร้าย ขณะที่ข่าวลือแพร่สะพัดในโลกออนไลน์รวมถึงการจับตัวประกันที่โรงแรมฮิลตันและร้านซูชิญี่ปุ่นสถานที่เกิดเหตุทั้ง 6 แห่งยังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคง ทางการออสเตรียเตือนให้ประชาชน (พลเรือน) หลีกเลี่ยงการเดินทางใจกลางกรุงเวียนนา โดยเฉพาะสถานีขนส่งสาธารณะ เนื่องจากหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายได้เปิดปฏิบัติการรักษาความมั่นคงขนาดใหญ่ เพื่อพิสูจน์ทราบและกักตัวผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย มีการปิดกั้นพื้นที่สถานบันเทิง ธุรกิจและถนนรอบเมือง รถยนต์กู้ภัยฉุกเฉินมุ่งสู่ถนนใจกลางกรุงเวียนนาซึ่งเป็นทางสัญจรหลักที่มีบาร์และร้านอาหารจำนวนมาก…