ระทึก! ‘ทรัมป์’ เผ่นหนีออกจากห้องแถลงข่าว หลังเกิดเหตุยิงกันนอกทำเนียบขาว

Loading

รอยเตอร์ – ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ถูกตำรวจอารักขาประธานาธิบดี (ซีเคร็ต เซอร์วิส) พาออกจากห้องแถลงข่าวอย่างกะทันหันเมื่อวานนี้ (10 ส.ค.) หลังเกิดเหตุยิงกันที่ด้านนอกทำเนียบขาว ทรัมป์ กำลังยืนบนโพเดียมและชี้แจงเรื่องตลาดหุ้น ในขณะที่เจ้าหน้าที่ซีเคร็ตเซอร์วิสคนหนึ่งเข้ามาเบรกและเชิญเขาออกไปจากห้อง ส่วนรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง สตีเวน มนูชิน และผู้อำนวยการฝ่ายงบประมาณ รัสส์ วอต ก็ถูกพาออกจากห้องแถลงข่าวเช่นเดียวกัน ผู้นำสหรัฐฯ เดินกลับเข้าไปที่ห้องสื่อมวลชนอีกครั้งในอีกหลายนาทีต่อมา และชี้แจงว่าเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายได้ยิงสกัดบุคคลคนๆ หนึ่งซึ่งมีอาวุธ และนำตัวเขาส่งโรงพยาบาลแล้ว “มีการยิงกันเกิดขึ้นที่ด้านนอกทำเนียบขาว และดูเหมือนจะคุมสถานการณ์ได้แล้ว” ทรัมป์ บอก “แต่มีการยิงเกิดขึ้นจริงๆ และใครบางคนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ผมยังไม่ทราบว่าอาการเขาเป็นอย่างไร” ทรัมป์ เผยด้วยว่า จุดที่มีการยิงกันนั้นอยู่ใกล้กับรั้วด้านนอกทำเนียบ หน่วยซีเคร็ตเซอร์วิสแถลงผ่านสื่อทวิตเตอร์ว่า “เรากำลังสอบสวนเจ้าหน้าที่ซีเคร็ตเซอร์วิสที่เกี่ยวข้องกับเหตุยิงกันครั้งนี้ ชายผู้ต้องสงสัยและเจ้าหน้าที่ซีเคร็ตเซอร์วิสถูกนำส่งโรงพยาบาลทั้งคู่ แต่เรายืนยันว่าไม่มีใครบุกรุกเข้าไปในพื้นที่ทำเนียบขาว และไม่มีผู้ถูกอารักขาคนใดได้รับอันตราย” ประตูห้องแถลงข่าวของทำเนียบขาวถูกล็อกทันที หลังจากเจ้าหน้าที่พาตัว ทรัมป์ ออกไป ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวชื่นชมตำรวจอารักขาซึ่งปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองตนอย่างรวดเร็ว และระบุว่าทางซีเคร็ตเซอร์วิสจะแถลงรายละเอียดให้ทราบในภายหลัง ————————————————————- ที่มา : MGR Online…

รบ.เลบานอนลาออกยกคณะ เซ่นระเบิดเบรุต ลั่นทำตามความต้องการประชาชน

Loading

รัฐมนตรีเลบานอนประกาศลาออกทั้งคณะ ไม่ถึงสัปดาห์หลังเกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ในกรุงเบรุต ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 220 ศพ และการประท้วงรุนแรงติดต่อกันหลายวัน สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า นายกรัฐมนตรี ฮันซัน ดิอับ แห่งเลบานอน ประกาศลาออกจากตำแหน่งพร้อมกับคณะรัฐมนตรีของเขาทั้งคณะแล้วในคืนวันจันทร์ที่ 10 ส.ค. 2563 โดยระบุว่าสาเหตุมาจากการระเบิดในกรุงเบรุต ซึ่งเขาระบุว่าเป็นหายนะที่ไม่อาจประเมินความเสียหายได้ ในแถลงการณ์ผ่านทางโทรทัศน์ทั่วประเทศ นายดิอับประณามกลุ่มนักการเมืองช้ันปกครอง สนับสนุนระบบการทุจริตคอร์รัปชันที่ใหญ่โตยิ่งกว่าระดับประเทศ “เราต่อสู้อย่างกล้าหาญและมีเกียรติ” นายกรัฐมนตรี พูดถึงตัวเองกับคณะรัฐมนตรีของเขา “แต่ระหว่างเรากับความเปลี่ยนแปลงมีกำแพงใหญ่ที่แข็งแกร่งขวางอยู่” นายดิอับยังเปรียบเทียบเหตุระเบิดเมื่อวันอังคารที่ 4 ส.ค. ว่าเป็นแผ่นดินไหนที่สั่นสะเทือนเลบานอน ทำให้รัฐบาลของเขาต้องลาออก “วันนี้ เราทำตามความต้องการของประชาชนที่เรียกร้องให้รับผิดชอบต่อหายนะที่ซุกซ่อนมากว่า 7 ปี และความต้องการของพวกเขาที่อย่างให้มีความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง” ก่อนหน้าที่นายดิอับจะมีแถลงการณ์ กลุ่มผู้ประท้วงจำนวนมากออกมาประท้วงอย่างรุนแรงหน้าทำเนียบนายกรัฐมนตรี ในกรุงเบรุต โดยผู้ชุมนุมหลายสิบคนขว้างปาก้อนหิน, ดอกไม้ไฟ และระเบิดขวาดใส่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงซึ่งตอบโต้ด้วยแก๊สน้ำตา ผู้ประท้วงบางคนยังพยายามรื้อกำแพงนอกจัตุรัสรัฐสภาด้วย ทั้งนี้ เลบานอนกำลังเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษอยู่แล้ว กอปรกับการระบาดของไวรัสโควิด-19, การคอร์รัปชันและการบริหารจัดการที่ผิดพลาดของรัฐบาล แต่เหตุระเบิดที่กรุงเบรุต ซึ่งมีสาเหตุจากการละเลยปล่อยให้สารแอมโมเนียมไนเตรทถึง 2,750 ตันเก็บอยู่ที่ท่าเรือใกล้เขตที่อยู่อาศัยมานานถึง 7 ปี จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 220…

มุมมืดของศิลปะ เมื่อขบวนการฟอกเงินซ่อนอยู่ข้างหลังภาพ

Loading

การประมูลงานศิลปะนั้นเปรียบเสมือนโลกที่เต็มไปด้วยความลับ ทำให้เป็นช่องโหว่ให้กับขบวนการฟอกเงิน สำหรับมหาเศรษฐีหลายคน การเข้าร่วมงานประมูลงานศิลปะเป็นเรื่องของความสุขทางใจ ขณะที่อีกหลายคนเชื่อว่า การครอบครองงานศิลปะมูลค่ามหาศาลคือการลงทุน เก็งกำไรเพื่ออนาคต แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่เห็นว่า การทุ่มเงินซื้องานศิลปะเป็นอีกวิธีการฟอกเงินที่ได้ผล และนี่คือกรณีตัวอย่างจากสองพี่น้องตระกูลโรเทนเบิร์ก ที่ถูกทางการสหรัฐฯ ตรวจสอบด้วยข้อกล่าวหาว่า พวกเขาใช้ช่องโหว่จากการประมูลงานศิลปะเป็นช่องทางการฟอกเงิน พี่น้องตระกูลโรเทนเบิร์กคือใคร ฟอกเงินผ่านงานศิลปะอย่างไร? นายอาร์คาดีและนายบอริส โรเทนเบิร์ก เป็นเจ้าของ SMP Bank ซึ่งเป็นธนาคารที่ดำเนินธุรกิจในรัสเซีย ปัจจุบันถูกจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บส์ให้เป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 1,730 ของโลก โดยทั้งคู่ถูกรัฐบาลสหรัฐฯ ในสมัยนายบารัค โอบามา คว่ำบาตรเมื่อปี 2557 เนื่องจากพบมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย และเพื่อเป็นการตอบโต้รัสเซียที่ยึดไครเมีย จากการสอบสวนโดยวุฒิสภาสหรัฐฯ พบว่า พี่น้องคู่นี้อาศัยความลับของโลกศิลปะในการซื้องานศิลปะราคาแพงหลังถูกคว่ำบาตร โดยพวกเขาทุ่มเงินมากกว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 560 ล้านบาทในการซื้อขายงานศิลปะ ในรายงานยังพบอีกว่าตระกูลโรเทนเบิร์กยังเกี่ยวข้องกับการซื้อขายอื่นๆ เป็นจำนวนเกือบ 3,000 ล้านบาท แม้จะถูกรัฐบาลสหรัฐฯ คว่ำบาตรแล้ว จากการตรวจสอบพบว่า ผู้มีอิทธิพลชาวรัสเซียได้ติดต่อกับนายเกรกอรี บอลท์เซอร์ ชาวอเมริกัน ที่เป็นเจ้าของชมรมศิลปะบอลท์เซอร์ (BALTZER) ในกรุงมอสโก…

ภูมิทัศน์ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายระดับโลกในปี 2019

Loading

ดาวน์โหลดเอกสารที่ https://www.state.gov/country-reports-on-terrorism-2/ Written by Kim กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเผยแพร่รายงานการก่อการร้ายรายประเทศประจำปี 2019 (Country Reports on Terrorism 2019)[1] สรุปภาพรวมภูมิทัศน์ของภัยคุกคามทั่วโลกโดยเน้นความคืบหน้าในการต่อต้านการก่อการร้ายในพื้นที่ต่าง ๆ และยอมรับว่ายังมีความท้าทายสำคัญรออยู่ข้างหน้า ทั้งนี้ กลุ่ม Salafi-jihadist[2] รวมถึงรัฐอิสลาม (Islamic State -IS) และ al-Qaida ยังคงเป็นปฏิปักษ์ที่ยืดหยุ่นและเป็นภัยคุกคามความมั่นคงโลกผ่านกลุ่มพันธมิตรและขยายพื้นที่ปฏิบัติการใหม่อย่างต่อเนื่อง แม้รายงานจะบ่งชี้ว่า สหรัฐฯกดดันอิหร่าน “ขั้นสูงสุด” โดยประกาศให้กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (Islamic Revolutionary Guard Corps – IRGC) อิหร่านเป็นองค์กรก่อการร้ายต่างชาติ แต่ผลที่ได้มีความหลากหลายรวมกัน หากมองในแง่ดีที่สุด[3] เมื่อ 24 มิถุนายน 2020 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเผยแพร่รายงานประจำปีเกี่ยวกับการก่อการร้ายรายประเทศโดยสรุปภาพรวมภูมิทัศน์ภัยคุกคามทั่วโลก สาระสำคัญส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยรวมทั้งภัยคุกคามจากกลุ่มก่อการร้ายที่ยังคงอยู่และบทบาทของอิหร่านในการสนับสนุน (ตัวแทน) กลุ่มก่อการร้าย เช่น กลุ่ม Hezballah ปลุกปั่นการก่อการร้ายและความรุนแรงสุดโต่งทั่วโลก (จากตะวันออกกลางถึงละตินอเมริกา) และยอมรับว่าเครือข่ายกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติที่มีเหตุจูงใจด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ก่อการร้ายคนขาวผู้สูงส่ง (white supremacist terrorists) เป็นภัยคุกคามความมั่นคง ในเบื้องต้นรายงานมุ่งเน้นเหตุการณ์ในปี 2019 ซึ่งสหรัฐฯและพันธมิตรสามารถเอาชนะและกำจัดที่มั่นสุดท้ายของ IS ใน Baghouz…

เมื่อข่าวกรอง (Intelligence) ถูกทำให้เป็นการเมือง (Politicizing): อันตรายของประเทศ

Loading

https://www.npr.org/2020/07/01/885909588/trump-calls-bounty-report-a-hoax-despite-administration-s-briefing-of-congress Written by Kim รัฐบาลของประธานธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯมีมาตรฐานการปฏิบัติต่อรายงานใด ๆ ที่เผยให้เห็นว่าประธานาธิบดีทรัมป์ประจบประแจงประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ด้วยการตีตราว่ารายงานนั้นเป็น “ข่าวปลอม” การทำให้รายงานประมาณการข่าวกรองแห่งชาติ (national intelligence assessments) และการวิเคราะห์จากประชาคมข่าวกรองเป็น “การเมือง” (politicizing) ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ส่งผลทางลบอย่างมหาศาลและก่อให้เกิดความจริงทางเลือก (alternative facts) ที่ขัดแย้งไม่สำคัญทางการเมืองรวมทั้งการวิเคราะห์ฝ่ายเดียว ทั้งนี้ มีหน่วยงานพลเรือนของรัฐบาลกลางเพียงไม่กี่แห่งที่ไม่ถูกประธานาธิบดีทรัมป์และผู้จงรักภักดีทางการเมือง ป้ายสีว่าลำเอียงเข้าข้าง ทรยศหรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐพันลึก (Deep State)[1] ระหว่างการนำสหรัฐฯเข้าสู่หายนะของการรุกรานอิรักในปี 2003 รัฐบาลของประธานาธิบดีบุชประสบความสำเร็จอยู่บ้างในการคัดเลือกเฉพาะข่าวกรองที่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง (casus belli) เพื่อเข้าทำสงคราม จากนั้นรองประธานาธิบดี Dick Cheney ได้แทรกแซงและจุ้นจ้านกับการวิเคราะห์ของสำนักงานข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency – CIA) โดยใช้การเมืองกดดันหน่วยข่าวกรองมืออาชีพฝ่ายพลเรือน โดยผลพวงของความขัดแย้งดังกล่าวยังคงรู้สึกได้จนถึงทุกวันนี้ รัฐบาลสหรัฐฯมักจัดลำดับความสำคัญและออกคำสั่งข่าวกรองแห่งชาติ (national intelligence directives) มอบหมายภารกิจให้หน่วยงานข่าวกรองรวบรวม วิเคราะห์ ประมาณการและแจกจ่ายรายงานข่าวกรองตามลำดับความสำคัญและวัตถุประสงค์ เมื่อใดที่รัฐบาลพยายามแสวงหาข่าวกรอง เพื่อสนับสนุนข้อกำหนดที่มีอยู่ก่อน (pre-existing preference) หรือความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลที่เกิดขึ้นตามมาย่อมเลวร้ายเสมอ นี่คือแนวโน้มความแตกแยกที่ถูกตรวจสอบโดยข้าราชการพลเรือนที่ทำหน้าที่รับใช้ฝ่ายบริหารทุกระดับของรัฐบาล…

ชายสิงคโปร์รับสารภาพเป็น ‘สายลับจีน’ แฝงตัวในสหรัฐฯ

Loading

เอเอฟพี – ชายชาวสิงคโปร์รับสารภาพวานนี้ (24 ก.ค.) ว่าเข้ามาเปิดบริษัทที่ปรึกษาในสหรัฐฯ บังหน้าเพื่อเป็นสายลับรวบรวมข่าวกรองให้กับจีน โหยว จุน เว่ย หรือ ดิกสัน โหยว (Dickson Yeo) รับสารภาพต่อศาลกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ว่า ทำงานเป็นสายสับต่างชาติ โดยได้รับการว่าจ้างจากหน่วยข่าวกรองจีนให้ “ระบุตัวตนและประเมินบุคลากรกองทัพหรือลูกจ้างรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ได้รับอนุญาตเข้าถึงข้อมูลชั้นความลับ” ระหว่างปี 2015-2019 โหยว วัย 39 ปี จ่ายเงินจ้างคนเหล่านี้ให้เขียนรายงาน โดยอ้างว่าจะส่งให้กับลูกค้าในเอเชีย แต่แท้ที่จริงข้อมูลดังกล่าวกลับถูกส่งตรงให้กับรัฐบาลจีน คำรับสารภาพของ โหยว มีขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่สหรัฐฯ สั่งปิดสถานกงสุลจีนในเมืองฮิวสตัน รัฐเทกซัส โดยกล่าวหาว่าเป็นศูนย์สอดแนมและปฏิบัติการขโมยความลับด้านเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญา สหรัฐฯ ยังจับกุมนักวิชาการจีนอีก 4 คน ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาในข้อหาแจ้งข้อมูลวีซ่าอันเป็นเท็จ และปิดบังความสัมพันธ์กับกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน โหยว ยอมรับว่า เขารู้ตัวว่ากำลังทำงานให้หน่วยข่าวกรองจีน เคยพบปะสายลับจีนมาแล้วเป็นสิบๆ ครั้ง และได้รับการดูแลเป็นพิเศษเมื่อเดินทางไปจีน เขาถูกจับหลังจากที่เดินทางกลับมายังสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือน พ.ย. ปี 2019 โหยว เริ่มทำงานกับหน่วยสืบราชการลับจีนตั้งแต่เป็นนักศึกษาปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS)…