เกาหลีเหนือระเบิดสำนักประสานงานร่วมกับเกาหลีใต้ หลังถูกกลุ่มผู้แปรพักตร์เคลื่อนไหวโจมตีจากชายแดน

Loading

  กระทรวงการรวมชาติของเกาหลีใต้บอกว่าระเบิดเกิดขึ้นที่สำนักประสานงานร่วม เมื่อ 14:49 น. ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่ไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านั้น เกาหลีเหนือเพิ่งขู่ว่าจะเริ่มปฏิบัติการทางทหารบริเวณพรมแดน หลังจากความสัมพันธ์ของสองประเทศตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ มาหลายสัปดาห์ อันมีจุดเริ่มต้นจากการที่กลุ่มผู้แปรพักตร์ในฝั่งเกาหลีใต้ที่เคลื่อนไหวโครงการโฆษณาชวนเชื่อจากพรมแดนข้ามกลับไปในฝั่งเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ระบุผ่านแถลงการณ์ว่าจะตอบโต้อย่างแข็งขันหากเกาหลีเหนือทำให้สถานการณ์แย่ไปกว่านี้อีก และชี้ว่าการทำลายสำนักประสานงานร่วมนี้ “ทำลายความหวังของทุกคนที่อยากจะให้ความสัมพันธ์ของสองชาติเกาหลีพัฒนา และให้มีสันติภาพบนคาบสมุทรเกาหลี” รัฐบาลเกาหลีใต้บอกด้วยว่าเกาหลีเหนือเป็นต้นเหตุของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแต่เพียงผู้เดียว เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นางคิม โย จอง น้องสาวของนายคิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ เพิ่งออกมาขู่ว่าจะทำลายสำนักงานนี้ ก่อนหน้านี้เคยมีความหวังว่าความสัมพันธ์สองประเทศจะดีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ พบกับนายคิมที่ชายแดนเกาหลีเหนือ-ใต้ เมื่อเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้ดีขึ้น เกาหลีเหนือกำลังเผชิญกับความยากลำบากหลังถูกสหรัฐฯ และสหประชาชาติคว่ำบาตรเพื่อกดดันไม่ให้พัฒนาโครงการอาวุธนิวเคลียร์ ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าเกาหลีเหนืออาจจะพยายามสร้างวิกฤตเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยเจรจาเรื่องอาวุธนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ ที่ยังไม่คืบหน้าไปไหน ส่วนสหรัฐฯ นั้นยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุด ลูกบอลลูนและโดรน ในช่วงที่ผ่านมา เกาหลีเหนือมักออกมาประณามเกาหลีใต้ที่อนุญาตให้กลุ่มคนที่แปรพักตร์ ส่งเนื้อหาโฆษณาชวนเชื่อผ่านลูกบอลลูน หรือแม้กระทั่งโดรนที่ลอยเข้าไปยังเกาหลีเหนือ เมื่อวันอังคารที่แล้ว ทางการเกาหลีเหนือได้ประกาศตัดช่องทางติดต่อทางการทั้งหมดกับเกาหลีใต้ และในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายคิม จอง อึน ก็ขู่ว่าจะส่งทหารไปยังเขตปลอดทหาร (Demilitarized Zone –…

การต่อต้านข้อมูลบิดเบือน (disinformation): ทางเลือกนโยบายที่เหลืออยู่

Loading

ที่มาภาพ: GLOBSEC Strategic Communication Programme https://counterdisinfo.org/ Written by Kim การรณรงค์ (หาเสียง) ด้วยข้อมูลบิดเบือน (disinformation) สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การเปลี่ยนผลการเลือกตั้งไปจนถึงกระตุ้นการก่อความรุนแรง ภาครัฐและเอกชนรวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯและบริษัทสื่อสังคม (social media) เพิ่งเริ่มต้นใช้กลยุทธ์ต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือน ซึ่งนำไปสู่การตอบสนองทีละน้อย ทั้งนี้ การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มาพร้อมกับ “infodemic”[1] จะต้องพิจารณาอย่างครอบคลุมรวมถึงการใช้กฎหมายใหม่และการคว่ำบาตรตลอดจนขยายทรัพยากรขององค์กร เพื่อจัดการความท้าทายของข้อมูลบิดเบือน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไม่ใช่ยาครอบจักรวาล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนจะต้องเสริมสร้างทักษะความรู้ของตัวเองเกี่ยวกับดิจิตอลและสื่อด้วย[2]           การเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนถือเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพและสันติภาพระหว่างประเทศ การรณรงค์อย่างซับซ้อนเพื่อสร้างอิทธิพลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 ของรัสเซีย บ่งชี้ถึงการเป็นภัยคุกคามอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีสมคบคิดที่ถูกผลักดันทางออนไลน์ (โลกเสมือนจริง) สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ในโลกกายภาพ ล่าสุดที่ลอสแอนแจลิส วิศวกรรถไฟชื่อ Eduardo Moreno เจตนาทำให้รถไฟตกรางเพื่อขัดขวางความพยายามของรัฐบาลในการต่อสู้กับ COVID-19 โดย Moreno เชื่อว่า เรือโรงพยาบาล (the Mercy) ของกองทัพเรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการยึดครองประเทศของรัฐบาล นอกเหนือจากการปรับใช้ทฤษฎีสมคบคิดและ deepfakes (วิดิโอดัดแปลงด้วยปัญญาประดิษฐ์) เพื่อจัดการความเชื่อของปัจเจกบุคคล บริษัทสื่อสังคมซึ่งเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามข้อมูลบิดเบือนได้ใช้วิธีไม่คงเส้นคงวาในการต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือนและ deepfakes โดย Twitter ดำเนินการเชิงรุกด้วยการห้ามโฆษณาทางการเมือง แต่ตัดสินใจติดธง (ไม่ลบ) deepfakes ทางการเมือง ในทางกลับกัน Facebook ประกาศว่าจะไม่ลบโฆษณาทางการเมืองที่ทราบว่าเป็นข้อมูลผิด ปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงเมื่อเกิดการระบาดของ COVID-19 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เรียกว่า infodemic           รัฐบาลประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯมีนโยบายตอบโต้ข้อมูลบิดเบือนค่อนข้างช้า…

สหรัฐประณามศาลรัสเซียสั่งจำคุกชาวอเมริกันคดีสายลับ

Loading

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแสดงความไม่พอใจอย่างหนัก ต่อการที่ศาลของรัสเซียพิพากษาให้อดีตนาวิกโยธินชาวอเมริกันรับโทษจำคุก 16 ปี ในข้อหาจารกรรม และเรียกร้องการปล่อยตัวโดยเร็ว ด้านรัฐบาลมอสโกกล่าวว่า “ไม่ใช่เรื่องการเมือง” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ว่านายไมค์ ปอมเปโอ รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แถลงเมื่อวันจันทร์ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังศาลแขวงกรุงมอสโกมีคำพิพากษาให้พลเมืองสหรัฐ คือนายพอล วีแลน อดีตนาวิกโยธินวัย 50 ปี รับโทษจำคุกเป็นเวลา 16 ปี ฐานมีความผิดจริงในข้อหาจารกรรมข้อมูลลับด้านความมั่นคงของรัสเซีย ว่าเป็นคำตัดสิน “ที่เลวร้าย” และไม่เป็นธรรมอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการไต่สวน “ซึ่งเป็นความลับ” และไม่มีการสืบพยานชัดเจน พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัววีแลนโดยเร็วที่สุด ขณะที่นายจอห์น ซัลลิแวน เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงมอสโก กล่าวว่า “ผิดหวังอย่างมาก” กับคำพิพากษาของศาล “แต่ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายมากนัก” เนื่องจากพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่ต้นว่ากระบวนการของคดีจะเป็นไปในทิศทางใด ทว่าทิ้งท้ายเป็นนัยว่ารัฐบาลวอชิงตัน “ยินดีเจรจาต่อไป” ด้านนายวลาดิเมียร์ เซเรเบนคอฟ ทนายความของวีแลน ยืนยันจะมีการอุทธรณ์แน่นอน และอ้างการที่ลูกความของตัวเองอาจได้เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย ต่อมานายดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่าบทลงโทษของวีแลนเป็นไปตามครรลองของกระบวนการยุติธรรม  “ซึ่งมีการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับแล้ว” และยืนยันว่าพลเมืองสหรัฐรายนี้…

ประท้วงเรียกร้องสิทธิคนผิวสีลุกลามทั่วยุโรป!

Loading

Protest against police brutality and the death in Minneapolis police custody of George Floyd, in Nantes ตำรวจปราบจลาจลในหลายประเทศของยุโรปยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายผู้ชุมนุมในหลายเมืองของยุโรปในสุดสัปดาห์ ที่ออกมาเรียกร้องสิทธิให้กับคนผิวสีเช่นเดียวกับการประท้วงในอเมริกา ที่กรุงปารีส บรรดาผู้ประท้วงรวมตัวกันที่ Place de la Republique พร้อมตะโกนคำว่า “ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีความสงบ” และเกิดการปะทะกันกับตำรวจหลังจากการประท้วงอย่างสงบผ่านไปราวสามชั่วโมง การเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันที่ถูกตำรวจใช้เข่ากดคอไว้จนเสียชีวิตเมื่อเดือนที่แล้ว ทำให้ชาวฝรั่งเศสจำนวนมากลุกขึ้นเพื่อต่อต้านการปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรมต่อประชาชนผิวสีในฝรั่งเศสเช่นกัน ส่วนที่เมืองมาร์กเซย์ล มีรายงานผู้ประท้วงจุดไฟเผาถังขยะและขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจ และที่กรุงลอนดอน อังกฤษ เกิดการปะทะกันระหว่างผู้เดินขบวนสองกลุ่มคือกลุ่มเรียกร้องสิทธิคนผิวสีกับกลุ่มขวาจัด บริเวณสถานีรถไฟวอเตอร์ลู มีการจุดดอกไม้เพลิง และขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจในหลายพื้นที่ นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ทวีตข้อความประณามการก่อความรุนแรงตามท้องถนน และระบุว่าใครก็ตามที่ทำร้ายตำรวจจะต้องเผชิญกับการปราบปรามตามกฎหมาย ตำรวจอังกฤษแถลงว่าได้จับกุมผู้ประท้วง 5 คนที่ก่อเหตุรุนแรงและทำร้ายตำรวจ และมีตำรวจได้รับบาดเจ็บ 6 ราย กลุ่มอนุรักษ์นิยมขวาจัด ระบุว่าพวกตนพยายามปกป้องวัฒนธรรมของอังกฤษ โดยเฉพาะอนุสาวรีย์ต่าง ๆ…

UN เผยขีปนาวุธร่อนที่ใช้โจมตีโรงกลั่นน้ำมันซาอุฯ มาจาก ‘อิหร่าน’

Loading

ภาพเปลวเพลิงที่กำลังโหมลุกไหม้โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทอารามโกที่เมืองอับกอยก์ (Abqaiq) จังหวัดตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย หลังถูกโดรนโจมตีเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 14 ก.ย. รอยเตอร์ – เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติยืนยันต่อคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น ว่า ขีปนาวุธร่อนที่ใช้โจมตีโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่และท่าอากาศยานนานาชาติของซาอุดีอาระเบียเมื่อปีที่แล้ว “มีต้นทางมาจากอิหร่าน” ขณะที่ทางการเตหะรานรีบออกมาปฏิเสธทันควัน อันโตนิโอ กูเตียร์เรส เลขาธิการใหญ่ยูเอ็น ระบุว่า อาวุธและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องหลายชิ้นที่สหรัฐฯ ยึดได้ในเดือน พ.ย. ปี 2019 และ ก.พ. ปี 2020 “มาจากอิหร่าน” โดยบางชิ้นมีลักษณะตรงกับสินค้าที่ผลิตโดยบริษัทสัญชาติอิหร่าน และมีอักษรภาษาฟาร์ซีกำกับ ขณะที่บางชิ้นถูกนำเข้าอิหร่านระหว่างเดือน ก.พ. ปี 2016 จนถึง เม.ย. ปี 2018 กูเตียร์เรส ชี้ว่า การจัดส่งอุปกรณ์เหล่านี้อาจละเมิดมติคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นปี 2015 ที่รับรองข้อตกลงควบคุมนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มมหาอำนาจ P5+1 คณะทูตอิหร่านประจำยูเอ็นชี้ว่า รายงานฉบับนี้ “ผิดพลาดร้ายแรง และคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง” “รัฐบาลอิหร่านขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิงต่อรายงานที่ว่า อิหร่านมีความเกี่ยวข้องกับการส่งออกอาวุธและอุปกรณ์ที่ใช้ในการโจมตีซาอุดีอาระเบีย รวมถึงข้อมูลที่ว่าหลักฐานต่างๆ ที่สหรัฐฯ ยึดได้มีที่มาจากอิหร่าน” สหรัฐฯ เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น 15…

‘ไอบีเอ็ม’ ยุติพัฒนา-จำหน่ายเอไอ ‘จดจำใบหน้า’ ชี้แฝงอคติเหยียดสีผิว

Loading

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า “ไอบีเอ็ม” บริษัทผู้ผลิตและให้บริการคอมพิวเตอร์ระดับโลกประกาศยุติการจัดจำหน่ายและการพัฒนา “เทคโนโลยีจดจำใบหน้า” (facial recognition) ของบริษัท รวมถึงเรียกร้องรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาหยิบยกเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การอภิปรายอย่างเร่งด่วน เพื่อปฏิรูปกฎหมายควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีนี้โดยเจ้าหน้าที่ ให้ปราศจากการเหยียดสีผิวและเป็นธรรมทางเชื้อชาติ โดยนายอาร์วินด์ คริชนา ซีอีโอของไอบีเอ็มได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐสภาสหรัฐระบุว่า บริษัทต้องการทำงานร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อหารือถึงแนวทางด้านกฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมและความเหมาะสมในการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้า รวมถึงการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม การตัดสินใจของไอบีเอ็มที่จะยุติธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีจดจำใบหน้าครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางการประท้วงที่ยังคงลุกลามบานปลายจากกรณีของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายชาวผิวสีที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่งผลให้ประเด็นเรื่องปฏิรูปองค์กรตำรวจของสหรัฐ และการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติสีผิวกลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ขณะที่ กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ต่ออคติที่แฝงอยู่ในเทคโนโลยีจดจำใบหน้ามีมาโดยตลอด โดยข้อมูลงานวิจัยของ “จอย โบโอแลมวินี” นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ผู้ก่อตั้งสมาคมอัลกอริทึมมิกจัสติซ (Algorithmic Justice League) ระบุว่า เทคโนโลยีดังกล่าวของบางบริษัทแสดงให้เห็นถึงอคติทางเชื้อชาติสีผิวและอคติทางเพศอย่างชัดเจน ซึ่งคนบางกลุ่มเห็นว่า ไม่ควรจำหน่ายเทคโนโลยีนี้ให้กับหน่วยภาครัฐ เพื่อรักษาความปลอดภัยของความเป็นส่วนตัวและสิทธิพลเมือง จดหมายของนายคริชนาระบุว่า “ไอบีเอ็มคัดค้านและไม่ยินยอมให้มีการใช้เทคโนโลยีใด ๆ รวมถึงเทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพื่อการสอดแนมประชาชน การเหยียดเชื้อชาติ การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยม หลักการความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของเรา เราเชื่อว่าขณะนี้เป็นวาระแห่งชาติที่จะเริ่มอภิปรายในประเด็นว่า ควรใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหรือไม่และอย่างไร” นายคริชนาเข้ารับตำแหน่งซีอีโอของไอบีเอ็มในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบคลาวด์เซอร์วิสของบิรษัทมากขึ้น แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากในสำนักงานด้วย โดยขณะนี้บริษัทมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าธุรกิจเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจะไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับไอบีเอ็มมากนัก แต่การตัดสินใจครั้งนี้ก็สร้างความตื่นตัวในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติให้กับรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไอบีเอ็ม “ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง ที่สามารถช่วยให้ผู้บังคับใช้กฎหมายดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้จำหน่ายและผู้ใช้งานระบบเอไอมีความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการทดสอบอคติที่แฝงอยู่ในระบบเอไอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประยุกต์ใช้กับการบังคับใช้กฎหมาย…