“ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติหลัง COVID-19”
 ประเทศไทยควรปรับสมดุลอย่างไร-ด้านใดบ้าง จึงจะไปต่อได้อย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืน

Loading

By :  Atthasit Mueanmart ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนาและคิดค้นวัคซีน COVID-19 กันอย่างเร่งด่วน เพื่อฝ่าวิกฤตโรคอุบัติใหม่นี้ไปให้ได้ รวมถึงงานวิจัย “วัคซีนชนิด mRNA” ที่ศูนย์วัคซีนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ได้มอบหมายให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รับผิดชอบ ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ หลังทดสอบในหนูทดลองแล้วประสบความสำเร็จดี และกำลังเตรียมจะทดสอบในลิงในประเทศไทยสัปดาห์หน้าต่อไป ขณะเดียวกัน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ก็ได้มองไปข้างหน้าถึงโลกยุคหลัง COVID-19 ผ่านการนำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงชาติหลัง COVID-19 จากหนังสือ “โลกเปลี่ยน ไทยปรับ : หลุดจากกับดัก พ้นจากโลกที่ล้มเหลว” ผลงานเขียนของ ดร.สุวิทย์ เองที่ได้เผยแพร่สู่สาธารณชนไปแล้วก่อนหน้านี้ โดย ดร.สุวิทย์ ชี้ว่าหากมองวิกฤตเป็นโอกาส การแพร่ระบาดของ COVID–19 อาจเป็นตัวแปรในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่เปลี่ยน “โลกที่ไม่พึงประสงค์” เป็น “โลกที่พึงประสงค์” ทำให้ผู้คนหันกลับมาทบทวนสมมติฐานในความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ กลายเป็นการผนึกกำลังร่วม การคำนึงถึงประโยชน์จากธรรมชาติ ก่อให้เกิดคุณค่าอย่างไม่สิ้นสุด สถานการณ์ COVID-19 ทำให้เห็นว่าเรากำลังอยู่ในยุค “หนึ่งโลก หนึ่งชะตากรรมร่วม” (One World, One Destiny)“จากนี้ไป เวลาสุขเราก็จะสุขด้วยกัน เวลาทุกข์เราก็จะทุกข์ด้วยกัน จากโลกที่ไร้ความสมดุล ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพและความไม่มั่นคงตามมา เกิดเป็นวงจรอุบาทว์โลก (Global Vicious Circle)” ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) การสร้างรัฐ–ชาติ (Nation Building) ผ่านเสรีภาพ (Liberty) ความเสมอภาค (Equality) และภราดรภาพ (Fraternity) ในศตวรรษที่ผ่านมา จะถูกแทนที่ด้วย การสร้างความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) ผ่านการกระชับแน่นภายในกลุ่ม (Bonding) การเชื่อมโยงข้ามกลุ่ม (Bridging) และยึดโยงระหว่างสถาบัน (Linking) ในโลกหลัง COVID-19 โดยแนวทางในการการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ มี 2 แนวทางหลัก คือ การออกแบบสวัสดิการสังคมใหม่ ด้วยการใช้ Negative Income Tax (NIT) และโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (Social Safety Net) เช่น การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย การมีรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอกับการใช้ชีวิต การช่วยเหลือผู้บกพร่องทางร่างกายและผู้สูงอายุ การขจัดความยากจนอย่างตรงจุด และแผนประกันชีวิต/สุขภาพ รูปแบบใหม่ เนื่องจากเมื่อเศรษฐกิจเติบโตขึ้น ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้มักจะกลายเป็นปัญหาที่แต่ละประเทศต้องเผชิญ ที่ผ่านมามีนักวิชาการหลายคนได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหานี้…

FBI ชี้บุกกราดยิงฐานทัพเรือสหรัฐฯในเทกซัสเกี่ยวข้อง “ก่อการร้าย” คนร้ายรายที่ 2 ยังคงหลบหนี

Loading

เอเอฟพี/เอเจนซีส์ – เหตุกราดยิงเกิดขึ้นในเวลา 06.15 น.เมื่อวานนี้ (21 พ.ค.) ที่สถานีอากาศกองทัพเรือสหรัฐฯคอร์ปัส คริสตี (Naval Air Station Corpus Christi) รัฐเทกซัส คนร้าย อดัม อัลซาห์ลี (Adam Alsahli) วัย 20 ปี เชื้อสายตะวันออกกลาง ก่อเหตุใช้ปืนพกยิงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่หน้าอกก่อนที่จะขับต่อไปจนชนเครื่องกีดขวางบริเวณด้านหน้า และเริ่มต้นกราดยิงก่อนถูกวิสามัญ FBI ชี้ เป็นคดีเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย และกำลังตามหาคนร้ายรายที่ 2 ที่ยังคงหลบหนี เอเอฟพีรายงานเมื่อวานนี้ (21 พ.ค.) ว่า โฆษกสำนักงาน FBI เลีย เกรฟส์ (Leah Graves) กล่าวว่า มือปืนก่อเหตุเสียชีวิตและในเวลานี้ทาง FBI กำลังตามหาผู้ต้องสงสัยรายที่ 2 การกราดยิงเริ่มขึ้นในเวลาราว 06.15 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวานนี้ (21) ที่ สถานีอากาศกองทัพเรือสหรัฐฯคอร์ปัส คริสตี (Naval…

อเมริกาอย่าแหยม เวเนซุเอลาลั่นส่งเรือรบ-เครื่องบินรบคุ้มกันเรือน้ำมันอิหร่าน

Loading

แฟ้มภาพ ประธานาธิบดีนิโกลัส มาดูโร (ซ้าย) และรัฐมนตรีกลาโหม วลาดิมีร์ ปาดริโน โลเปซ ชมพิธีสวนสนามในวันกองทัพเวเนซุเอลา เมื่อ 13 เมษายน 2562 เวเนซุเอลาประกาศเมื่อวันพุธว่า กองทัพเรือและกองทัพอากาศจะส่งเรือรบและเครื่องบินรบตามคุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันของอิหร่าน 5 ลำทันทีที่เข้าสู่น่านน้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวเนซุเอลา ขณะอิหร่านเตือนสหรัฐ หากขัดขวางจะถือเป็นการกระทำเยี่ยงโจรสลัด เอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคมว่า คำประกาศของรัฐบาลเวเนซุเอลามีออกมาภายหลังฮวน ไกวโด ผู้นำฝ่ายค้านที่สถาปนาตนเองเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวของเวเนซุเอลา โดยได้รับการรับรองจากสหรัฐและอีกกว่า 50 ประเทศ กล่าวเตือนเรื่องการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลสหรัฐบอกว่า สหรัฐกำลังพิจารณาหนทางตอบสนองกับเรื่องนี้ รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้มาตรการแซงก์ชันโดยฝ่ายเดียวทั้งกับเวเนซุเอลาและอิหร่าน เพื่อยุติการส่งออกน้ำมันดิบของสองประเทศนี้ เมื่อต้นเดือนเมษายน กองทัพสหรัฐกล่าวไว้ว่า สหรัฐเพิ่มการเฝ้าระวังและได้ส่งเรือรบหลายลำไปวางกำลังในทะเลใกล้กับเวเนซุเอลา เนื่องจากพื้นที่นั้นมีการก่ออาชญากรรมมากขึ้น เวเนซุเอลาเป็นประเทศที่มีน้ำมันดิบสำรองมากที่สุดในโลก แต่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการกลั่นน้ำมัน เนื่องจากขาดแคลนการลงทุนมานานหลายปี สภาพเศรษฐกิจที่พังครืนทำให้ประเทศนี้ขาดแคลนเชื้อเพลิงอย่างรุนแรง ข่าวรอยเตอร์กล่าวว่า เรือบรรทุกน้ำมันของอิหร่าน 5 ลำ ซึ่งได้แก่เรือฟอร์จูน, ฟอเรสต์, เพทูเนีย, แฟกซัน และคลาเวล กำลังนำน้ำมันเชื้อเพลิง 1.5 ล้านบาร์เรลมาส่งให้เวเนซุเอลา…

จบกัน จีนดันกม.ความมั่นคงกำราบฮ่องกง ขณะฝ่ายปชต.ปลุกม็อบนับล้านต้าน

Loading

นักเคลื่อนไหวและ ส.ส.ฝ่ายประชาธิปไตยฮ่องกงแถลงข่าวตอบโต้การเสนอกฎหมายความมั่นคงเข้าสภาของจีนเมื่อวันศุกร์ ไม่รอสภาฮ่องกงแล้ว พรรคคอมมิวนิสต์จีนเสนอกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติเข้าสภาตรายางของจีนในวันศุกร์ กำราบพวกกบฏแบ่งแยกดินแดนปลุกปั่นโค่นล้มระบอบในฮ่องกง ฝ่ายประชาธิปไตยพิโรธ ระบุเป็นอวสานของฮ่องกง ประกาศระดมคนหลายล้านประท้วงต่อต้านสุดสัปดาห์นี้ ร่างกฎหมายความมั่นคงที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเสนอเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนประชาชนจีน (เอ็นพีซี) ในวันเปิดประชุมประจำปีเช้าวันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม เป็นผลต่อเนื่องจากคำเตือนซ้ำหลายครั้งของบรรดาผู้นำในพรรคว่าจีนจะไม่ทนอดกลั้นกับการต่อต้านขัดขืนในฮ่องกงอีกต่อไป หลังจากเกิดการประท้วงครั้งใหญ่ของฝ่ายประชาธิปไตยที่ยืดเยื้อยาวนาน 7 เดือนเมื่อปีที่แล้ว เอเอฟพีรายงานว่า กฎหมายฉบับนี้จะเป็นการบังคับใช้มาตรา 23 ของกฎหมายพื้นฐานของฮ่องกง ที่ห้าม “การก่อกบฏ, การแบ่งแยกดินแดน, การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง และการบ่อนทำลาย” รัฐบาลจีน ซึ่งไม่เคยถูกนำมาบังคับใช้เนื่องจากการต่อต้านของชาวฮ่องกงที่เห็นว่าเป็นกฎหมายที่ทำลายสิทธิพลเมืองของพวกเขา ภายใต้รูปแบบกึ่งปกครองตนเองตามหลักหนึ่งประเทศ สองระบบ ที่จีนให้คำมั่นไว้ภายหลังรับมอบเกาะศูนย์กลางการเงินแห่งนี้คืนจากอังกฤษเมื่อปี 2550 เมื่อปี 2556 สภานิติบัญญัติของฮ่องกงเคยพยายามผ่านมาตรานี้ แต่ก็ต้องยกเลิกเนื่องจากชาวฮ่องกงราว 500,000 คนออกมาเดินขบวนประท้วงต่อต้าน ความพยายามผลักดันกฎหมายนี้อีกครั้งเมื่อปีที่แล้วกลับเผชิญการต่อต้านหนักหน่วงยิ่งกว่าเก่า หวัง เฉิน รองประธานคณะกรรมการประจำของเอ็นพีซี กล่าวอย่างชัดเจนเมื่อวันศุกร์ว่า ร่างกฎหมายนี้มีเป้าหมายเพื่อกำราบขบวนการประชาธิปไตยของฮ่องกง “เราต้องใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน, หยุดยั้ง และลงโทษพวกเขาตามกฎหมาย” หวังกล่าวถึงขบวนการต่อต้านจีนในฮ่องกง การดำเนินการของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะข้ามกระบวนการทางนิติบัญญัติของฮ่องกงโดยถือเป็นการผ่านกฎหมายจากสภาแห่งชาติ หวังกล่าวว่าความล่าช้าในการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงของฮ่องกงบังคับให้ผู้นำจีนต้องดำเนินการเอง “เป็นเวลานานกว่า 20 ปีแล้วนับแต่รับมอบฮ่องกงคืนมา ที่กฎหมายเหล่านี้ยังไม่ได้บังคับใช้เพราะการลอบทำลายและขัดขวางโดยพวกที่พยายามหว่านปัญหาในฮ่องกงและจีน…

FBI พบ “ทหารซาอุฯ” กราดยิงฐานทัพเรือรัฐฟลอริดาปีที่แล้ว เกี่ยวข้อง “อัลกออิดะห์” จากหลักฐานในไอโฟน

Loading

เอเจนซีส์ – FBI ปลดล็อกโทรศัพท์มือถือไอโฟนทหารอากาศกองทัพซาอุฯ โมฮัมเหม็ด ซาอิด อัลชามรานี ที่ก่อเหตุกราดยิงภายในฐานทัพเรือเพนซาโคลา รัฐฟลอริดา ปีที่แล้ว พบเชื่อมโยงกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ และมีความสัมพันธ์ย้อนไปไกลถึงปี 2015 ด้านแอปเปิลถูกวิจารณ์ที่ไม่ยอมให้ความช่วยเหลือ FBI ทำการปลดล็อก เอบีซีนิวส์ สื่อสหรัฐฯ รายงานวันนี้ (19 พ.ค.) ว่า รัฐมนตรียุติธรรมสหรัฐฯ วิลเลียม บาร์ และผู้อำนวยการสำนักงาน FBI สหรัฐฯ คริสโตเฟอร์ เรย์ (Christopher Wray) แถลงในวันจันทร์ (18) ว่า ผู้ต้องสงสัยกราดยิงฐานทัพเรือเพนซาโคลา รัฐฟลอริดา เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โมฮัมเหม็ด ซาอิด อัลชามรานี นั้น มีการติดต่อโดยตรงกับมือปฏิบัติการกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ ซึ่งบาร์และเรย์ ชี้ว่า การโจมตีมีการวางแผนมานานหลายปีในข้อมูลใหม่นี้ได้จากหลักฐานที่ถูกพบในโทรศัพท์มือถือไอโฟนของทหารอากาศซาอุดีอาระเบียนายนี้ บาร์เปิดเผยว่า อัลชามรานีพยายามทำลายโทรศัพท์ของตัวเอง และพบว่าได้ยิงกระสุนหนึ่งนัดใส่โทรศัพท์หนึ่งเครื่องจากจำนวนทั้งหมด ในแถลงการณ์เขากล่าวว่า “โทรศัพท์เหล่านี้มีข้อมูลใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนต่อทางเรานั้นได้ทำให้สามารถแสดงความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างอัลชามรานีต่อเครือข่ายอัลกออิดะห์ในกลุ่มคาบสมุทรอาระเบีย (AQAP) ที่ไม่ใช่แค่ก่อนการโจมตีแต่ก่อนที่เขาจะเดินทางเข้าสหรัฐฯ ในเวลานี้เรามีความเข้าใจมากถึงความเกี่ยวข้องของอัลชามรานีและความเคลื่อนไหวนานนับปี นับเดือน…

“โดรนไฮเทค” ของสหรัฐทำภารกิจส่งดาวเทียม

Loading

ยาน “เอ็กซ์-37บี” ของกองทัพอากาศสหรัฐ ปฏิบัติภารกิจครั้งที่ 6 ในรอบ 10 ปี เป็นการส่งดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการวิจัย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ว่าจรวดแอตลาส ไฟฟ์ (Atlas V) ของบริษัทยูไนเต็ด ลอนช์ อัลไลแอนซ์ ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดภายในศูนย์อวกาศเคนเนดี บนแหลมคานาเวอรัล ริมชายฝั่งรัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 09.14 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันอาทิตย์ที่ผ่าน (20.14 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ภายในอีกไม่กี่นาทีหลังจากนั้น ยาน “เอ็กซ์-37บี” ( X-37B ) ของกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งเป็นพาหนะทดสอบวงโคจรและไร้คนขับ ผลิตโดยบริษัทโบอิ้ง ทำหน้าที่ปล่อย “ฟอลคอนแซต-เอต” ( FalconSat-8 ) ดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการวิจัย เข้าสู่วงโคจรโลกเพื่อปฏิบัติภารกิจ “ที่ละเอียดมากขึ้นกว่าภารกิจในอดีต” โดยในเบื้องต้นมีการเปิดเผยเพียงว่า ภารกิจของดาวเทียมฟอลคอนแซต-เอต “มีหลายอย่าง” รวมถึงการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของกัมมันตรังสีที่มีต่อเมล็ดพันธุ์ และการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นคลื่นไมโครเวฟ อนึ่ง ภารกิจครั้งนี้ของยานฟอลคอนแซต-เอต…