กลุ่มตาลีบานโจมตีสังหารทหารอัฟกัน 21 ราย

Loading

Takhar Province เจ้าหน้าที่อัฟกานิสถานระบุในวันจันทร์ว่า สมาชิกกองกำลังรักษาความมั่นคงอย่างน้อย 21 รายเสียชีวิตจากการโจมตีของกลุ่มตาลีบาน ในขณะที่แผนการสลับตัวนักโทษระหว่างกลุ่มตาลีบานกับรัฐบาลอัฟกานิสถานต้องถูกชะลอออกไป การโจมตีที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเกิดขึ้นในแถบจังหวัดทักฮาร์ ทางเหนือของอัฟกานิสถาน เมื่อกลุ่มตาลีบานโจมตีใส่ด่านของเจ้าหน้าที่อัฟกานิสถานหลายจุดในคืนวันอาทิตย์ทำให้มีชาวบ้านและทหารเสียชีวิต 14 ราย ความรุนแรงครั้งล่าสุดนี้ทำให้กระบวนการสลับตัวนักโทษต้องถูกเลื่อนออกไป จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันอังคารนี้ มาตรการสลับตัวนักโทษถือเป็นส่วนสำคัญในข้อตกลงสันติภาพระหว่างสหรัฐฯ กับกลุ่มตาลีบาน ที่ลงนามเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ซึ่งระบุให้รัฐบาลกรุงคาบุลปล่อยตัวนักโทษซึ่งเป็นอดีตสมาชิกกลุ่มแข็งข้อต่อต้านจำนวน 5,000 คน แลกกับการที่กลุ่มตาลีบานจะปล่อยตัวนักโทษ 1,000 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารอัฟกัน ภายใต้ความตกลงของรัฐบาลอัฟกานิสถานกับกลุ่มตาลีบาน กำหนดให้ผู้แทนของกลุ่มตาลีบานต้องเดินทางไปยังฐานทัพอากาศบากรัมทางเหนือของกรุงคาบุล เพื่อรับรองและตรวจสอบนักโทษที่จะได่รับการปล่อยตัวเป็นอิสระเหล่านั้น ———————————————————- ที่มา : VOA Thai / 31 มีนาคม 2563 Link : https://www.voathai.com/a/afghanistan-taliban/5352174.html

แอฟริกาเริ่มโหดใช้ปืนขู่ประชาชนไม่กักตัวคุมไวรัส

Loading

หลังจากปลอดโรคมาได้พักใหญ่ตอนนี้โควิด-19กำลังโจมตีแอฟริกาอย่างหนักขึ้นทุกที การระบาดของโควิด-19 เริ่มกระจายเข้าสู่ทวีปแอฟริกาอย่างรวดเร็ว หลายประเทศมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากแล้ว และมีการกักตุนอาหารและใช้กำลังรุนแรงในการควบคุมประชาชน เช่น ที่กานาประชาชนไปต่อแถวซื้อของจำเป็นมากักตุนไว้ และที่แอเฟริกาใต้ตำรวจใช้วิธีรุนแรงในการบังคับใช้คำสั่งกักกัน เช่น ใช้ปืนยกขึ้นขู่ประชาชน และใช้กำลังบุกเข้าไปตรวจบ้านเรือน และที่เคยาตำรวจยิงแก๊สน้ำตาไล่ประชาชนที่ยังออกมาโดยสารเรือข้ามฟากทั้งๆ ที่มีคำสั่งห้ามแล้ว ในภาพหน้าปกข่าว ตำรวจแอฟริกาใต้ส่องปืนไรเฟิลไปยังกลุ่มผู้มาจับจ่ายสินค้าในเขตเยโอวิลล์ เมืองโจฮันเนสเบิร์กเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 ในขณะที่พยายามบังคับระยะห่างด้านความปลอดภัยนอกซุปเปอร์มาร์เก็ตท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของโควิด-19 (COVID-19)  แอฟริกาใต้ประกาศกักบริเวณทั่วประเทศเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563เกือบพร้อมๆ กับประเทศอื่นๆ ในแอฟริกาอื่นที่มีการประกาศเคอร์ฟิวและการปิดเมืองอย่างเข้มงวดเพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของโควิด-19 (ภาพถ่ายโดย MARCO LONGARI / AFP) 1. เจ้าหน้าที่ตำรวจแอฟริกา (SAPS) กำลังมองดูเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเอกชนพยายามเปิดประตูอพาร์ทเมนต์ในอาคารที่พักอาศัยในเขตฮิลล์บราว เมืองโจฮันเนสเบิร์ก เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2020 ในขณะที่พยายามบังคับใช้มาตรการกักกันทั่วประเทศ (ภาพถ่ายโดย Michele Spatari / AFP) 2. เจ้าหน้าที่ตำรวจแอฟริกา (SAPS) กำลังไล่ล่าชายคนหนึ่งในฮิลล์บราว เมืองโจฮันเนสเบิร์กเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 ตามมาตรการกักกันทั่วประเทศ (ภาพถ่ายโดย Michele Spatari…

ใครสร้างภาพ? VS ใครพยายามแก้ปัญหา?

Loading

Written by Kim ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนเสื่อมทรามลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งเปลี่ยนพื้นฐานทางภูมิศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจและสังคมอย่างชัดเจน นักการทูตจีนได้เผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theories) ข่าวลือเท็จและข้อมูลบิดเบือน (disinformation) โดยเจตนากล่าวหาสหรัฐฯว่าเป็นผู้รับผิดชอบการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา เครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของจีนทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อควบคุมการเล่าเรื่อง เบี่ยงเบนการกล่าวโทษเรื่องไวรัส ขณะที่พยายามสร้างภาพให้จีนเป็นวีรบุรุษผู้กอบกู้ช่วยเหลือประเทศอื่นที่ประสบปัญหา โดยกำหนดกรอบการตอบสนอง COVID-19 ในฐานะตัวแบบรัฐอำนาจนิยมซึ่งตรงกันข้ามกับประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่ล้มเหลวในการสกัดการแพร่กระจายของไวรัส[1]           รัฐบาลจีนประกาศเมื่อ 17 มีนาคม 2020 ว่าจะขับผู้สื่อข่าวชาวอเมริกันทั้งหมดที่ทำงานให้กับ The New York Times, The Washington Post,  และ The Wall Street Journal กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสารนิเทศได้ออกคำสั่งให้ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ทั้ง 3 ฉบับคืนใบรับรองการทำงานภายใน 10 วัน และพวกเขาก็ไม่สามารถทำงานในเขตปกครองพิเศษฮ่องกงและมาเก๊าด้วย[2] การขับไล่นักข่าวชาวอเมริกันจากประเทศจีนไม่เพียงเป็นการคิดสั้น แต่ยังเป็นอันตราย การขาดความโปร่งใสเกี่ยวกับปัญหาไวรัสโคโรนาจะทำให้สถานการณ์ในจีนแย่ลง ตลอดทั่วทั้งเอเชียตะวันออกและที่อื่น ๆ หลายเดือนที่ผ่านมา พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) พยายามทำให้ความรุนแรงของ COVID-19 ดูสำคัญน้อยลง และยับยั้งข่าวสารเชิงลบเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัสและความตาย           เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลสหรัฐฯรวมทั้งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ  ไมค์ ปอมเปโอ เรียกไวรัสโคโรนาว่า “ไวรัสจีน” และ “ไวรัสอู่ฮั่น” ตามลำดับ ขณะที่องค์การอนามัยโลกอ้อนวอนผู้นำโลกให้งดเว้นการเชื่อมโยงเชื้อโรคดังกล่าวกับประเทศหรือกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะเกรงว่าจะทำให้อาชญากรรมของความเกลียดชังเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกและเกิดการต่อต้านชาวเอเชีย ขณะเดียวกันนักการทูตจีนได้เผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิด…

“นีโอนาซี” ในสหรัฐฯวางแผนแพร่โคโรนาไวรัสสู่ ชุมชนยิวและตำรวจ

Loading

FILE – A member of a white supremacy group gives a fascist salute during a gathering in West Allis, Wisconsin, Sept. 3, 2011. สื่อสหรัฐฯสองแห่ง รายงานว่า กลุ่มคนผิวขาวที่เหยียดเชื้อชาติและมีความคิดสุดโต่ง ซึ่งรวมถึงผู้ฝักใฝ่ลัทธินาซีใหม่ (นีโอนาซี) มีแนวคิดให้คนในกลุ่มที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส ใช้โรคร้ายนี้ แพร่ความเจ็บป่วยไปสู่ตำรวจและชาวยิว Yahoo News และ ABC News รายงานว่า สมาชิกเหล่านี้ของกลุ่มความคิดสุดโต่ง ได้รับคำแนะนำว่าให้ใช้นำ้ลาย เป็นอาวุธในการเเพร่เชื้อโควิด 19 ซึ่งอาจทำโดยผ่านการสเปรย์ หรือ ผ่านการป้าย และการปนเปื้อนในรูปแบบต่างๆ สื่ออเมริกันทั้งสองแห่งอ้างข้อมูลข่าวกรองรายสัปดาห์ ของหน่วยงานรักษากฎหมายของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ABC News กล่าวว่าข้อมูลนี้มาจากสำนักงานสาขานิวยอร์กของหน่วยงานสืบสวนกลางสหรัฐฯ หรือเอฟบีไอ สำนักข่าวแห่งนี้รายงานด้วยว่า กลุ่มหัวรุนแรงแนะนำให้สมาชิกที่ติดโคโรนาไวรัส แพร่เชื้อโรคที่…

กพท.ยกระดับสกัดไวรัส “โควิด-19” ต่างชาติเข้าไทยต้องมีใบรับรองแพทย์-ประกัน 1 แสนเหรียญ

Loading

กพท.ออกประกาศยกระดับสกัดไวรัสโควิด-19 ให้ผู้เดินทางเข้าประเทศไทยต้องมีใบรับรองแพทย์รับรองไม่เกิน 72 ชั่วโมง และมีประกันคุ้มครองไม่น้อยกว่า 100,000 เหรียญ ตั้งแต่ 22 มี.ค. เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้ลงนามในประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง แนวปฏิบัติสำหรับผู้ดำเนินการเดินอากาศที่ทำการบินมายังประเทศไทย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการอย่างต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังและควบคุมโรคนั้น ปัจจุบันปรากฏว่าองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศยกระดับสถานการณ์แพร่ระบาดดังกล่าวเป็นโรคระบาดทั่วโลก (Pandemic) ดังนั้นเพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนภายในประเทศในวงกว้าง และเพื่อการกำกับดูแลการบินพลเรือนในภาวะจำเป็นให้ได้อย่างทันท่วงที สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ดำเนินการเดินอากาศที่ทำการบินมายังประเทศไทย ดังนี้ ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง แนวปฏิบัติสำหรับผู้ดำเนินการเดินอากาศเกี่ยวกับการให้บริการจากท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตโรคติดต่ออันตรายกรณีเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และพื้นที่มีการระบาดต่อเนื่อง ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม 2563…

ทรัมป์งัด ‘กฎหมายยามศึกสงคราม’ สู้ภัยโควิด-19

Loading

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ กล่าวที่งานแถลงข่าว วันพุธว่าจะนำกฎหมายที่เรียกว่า Defense Production Act ที่ไม่ค่อยถูกนำมาใช้บ่อยนัก มาช่วยในการบริหารประเทศ ช่วงการระบาดของโคโรนาไวรัส กฎหมายฉบับดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 70 ปีก่อน ให้อำนาจอย่างกว้างขวางต่อประธานาธิบดี ช่วงเกิดสงครามในอดีต ซึ่งผู้นำสหรัฐฯ อาจใช้อำนาจภายใต้กฎหมาย Defense Production Act ในการสั่งผลิตสินค้า หรือบริหารลำดับความสำคัญของสินค้าที่ต้องผลิตเมื่อเกิดภาวะขาดแคลน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนักการเมืองอเมริกันเร่งเร้าให้ประธานาธิบดีทรัมป์ ใช้กฎหมายฉบับนี้ ท่ามกลางความต้องการหน้ากากที่มีเครื่องป้องกันพิเศษและหน้ากากอนามัย กฎหมาย Defense Production Act มีขึ้นในช่วงสงครามเกาหลี และให้ความหมายของการใช้อำนาจกว้างกว่าเรื่องการทหาร ไปถึงการผลิตสินค้าของภาคอุตสาหกรรมด้วย และการการันตีเงินกู้เพื่อเพิ่มการผลิตสิ่งของจำเป็นด้วย และ Defense Production Act ยังให้อำนาจทำสัญญาโดยสมัครใจกับบริษัทเอกชน ยับยั้งการควบรวมกิจการ และสร้างเครือข่ายอาสาสมัครที่เป็นนักบริหารจากภาคเอกชน ——————————————— ที่มา : VOA Thai / 20 มีนาคม 2563 Link : https://www.voathai.com/a/business-news-ro/5337113.html