ศาลสหรัฐฯ สั่งจำคุก 19 ปี ‘อดีตซีไอเอ’ ทำงานเป็นสายลับให้จีน

Loading

รอยเตอร์ – อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) ถูกศาลแขวงรัฐเวอร์จิเนียตัดสินจำคุกเป็นเวลา 19 ปีวานนี้ (22 พ.ย.) หลังศาลพิพากษาเมื่อเดือน พ.ค. ว่ามีความผิดฐานเป็นสายลับให้รัฐบาลจีน เจอร์รี ชุน ชิง ลี (Jerry Chun Shing Lee) วัย 55 ปี ลาออกจากซีไอเอในปี 2007 และย้ายไปอยู่ที่ฮ่องกง ต่อมาในปี 2010 เขาได้รับการติดต่อทาบทามจากเจ้าหน้าที่ข่าวกรองจีน ซึ่งเสนอจะให้ค่าตอบแทน 100,000 ดอลลาร์ และให้ความคุ้มครอง “ตลอดชีวิต” หากยอมเผยข้อมูลลับของสหรัฐฯ ที่เขาได้ล่วงรู้มาขณะเป็นซีไอเอ เงินสดหลายแสนดอลลาร์ถูกโอนเข้าบัญชีของ ลี ในช่วงระหว่างปี 2010-2013 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานของเขา “แทนที่จะแสดงความรับผิดชอบและเคารพต่อคำมั่นสัญญาว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลด้านกลาโหมของชาติ ลี กลับเลือกที่จะทรยศต่อประเทศของเขา ยอมเป็นสายลับให้รัฐบาลต่างชาติ และยังให้การเท็จต่อพนักงานสอบสวนหลายครั้ง” แซคคารี เทอร์วิลลิเกอร์ อัยการประจำแขวงตะวันออกเวอร์จิเนีย ระบุในถ้อยแถลง จากข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เอฟบีไอได้เข้าตรวจค้นห้องพักของ ลี ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในฮาวายเมื่อเดือน ส.ค. ปี…

ฝึกต่อต้านก่อการร้ายไทย-จีน ครั้งประวัติศาสตร์

Loading

กองทัพไทย-จีน ปิดการฝึกภาคสนามของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้ายฯ ที่สาธารณประชาชนจีน หลังผ่านการฝึกที่เข้มข้นเพื่อรับมือสถานการณ์ก่อการร้าย วันนี้ (22 พ.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (21พ.ย.62) พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ พล.อ.Li Zuocheng เสนาธิการกรมกิจการเสนาธิการร่วม คณะกรรมาธิการกลางการทหาร กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (PLA) เป็นประธานร่วมในพิธีปิดการฝึกภาคสนามของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน การฝึกครั้งนี้ สามารถพัฒนาระบบเตรียมกำลังรบและการพัฒนากลไกการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายตามระเบียบปฏิบัติประจำของกองกำลังร่วมผสมการต่อต้านการก่อการร้ายในเมืองให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศสมาชิกได้เข้าใจถึงกระบวนการปฏิบัติของกำลังร่วมผสม ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติการ นำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้จะส่งผลให้ประเทศสมาชิกมีความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามจากภัยการก่อการร้าย และภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายให้แก่ประชาคมโลก เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงในภูมิภาค เสริมสร้างความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจาอย่างยั่งยืน การฝึกภาคสนามของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้ายครั้งนี้ กองทัพไทยและกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (PLA) ร่วมจัดการฝึกขึ้น ณ เฟ็งหลิน เทรนนิ่ง ฟิลด์ เขตหยางฉาน เมืองกุ้ยหลิน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีกำลังพลเข้าร่วมการฝึกจาก 18 ประเทศ รวม 855 นาย โดยกองทัพไทยส่งกำลังพลเข้าร่วมการฝึก 101 นาย…

แบงค์ใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลียถูกกล่าวหาฟอกเงิน-สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย

Loading

A pedestrian looks at his phone as he walks past a logo for Australia’s Westpac Banking Corp located outside a branch in central Sydney, Australia, November 5, 2018. REUTERS/David Gray ธนาคารใหญ่อันดับสองของออสเตรเลีย Westpac ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายต่อต้านการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินให้แก่กลุ่มก่อการร้าย รวม 23 ล้านกรณี ผู้ตรวจสอบของรัฐบาลออสเตรเลียกล่าวหาว่า ธนาคาร Westpac ยินยอมให้องค์กรจากหลายประเทศ รวมทั้ง อิรัก เลบานอน ซิมบับเว และสาธารณรัฐคองโก เข้าถึงภาคการเงินของออสเตรเลียโดยไม่มีการตรวจสอบที่เหมาะสม ซึ่งเปิดโอกาสให้กลุ่มอาชญากรหรือผู้ก่อการร้ายสามารถโอนถ่ายเงินเข้าและออกจากออสเตรเลียได้ ศูนย์วิเคราะห์และรายงานธุรกรรมการเงินของออสเตรเลีย หรือ AUSTRAC ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบอาชญากรรมด้านการเงิน กล่าวหาด้วยว่า Westpac ล้มเหลวในการตรวจสอบธุรกรรมการเงินที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์จากเด็กในฟิลิปปินส์และประเทศในอาเซียน และยังอนุญาตให้มีการสั่งจ่ายเงินอย่างน่าสงสัยจากผู้ที่ถูกตัดสินว่าละเมิดทางเพศต่อเด็กจำนวนมากด้วย…

ชายอินเดียปลอมเป็นนักบินเพื่อขึ้นบินไว-อ้างซื้อบัตรเก๊ในไทย

Loading

อีกกรณีปลอมตัวอย่างน่าตื่นตะลึงที่อินเดีย เดินทางบ่อย ไม่อยากรอนาน ซื้อชุดนักบินมาใส่เลยง่ายๆ นายราจัน มาห์บูบานี เจ้าของบริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ถูกจับกุมที่สนามบินนานาชาติอินทรา คานธี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (19 พ.ย.) หลังพบว่าเขาปลอมตัวแต่งเป็นนักบินสายการบิน ลุฟต์ฮันซา ของเยอรมนี นักธุรกิจวัย 49 ปีรายนี้ กำลังจะขึ้นเครื่อง แอร์เอเชีย ไปยังนครโกลกาตา ในคราบนักบินและมีบัตรประจำตัวด้วย แต่เจ้าหน้าที่สายการบินเอร์เอเชีย โทรศัพท์ไปยังสำนักงานลุฟต์ฮันซา เพื่อขอคำยืนยันการเดินทางของนักบินต้องสงสัย และเมื่อเจอกับเจ้าหน้าที่ลุฟต์ฮันซาที่รุดไปตรวจสอบที่บอร์ดดิง เกต นายราจันก็ยอมรับว่าปลอมตัว ผลสอบสวนพบว่า นายราจัน เดินทางโดยเครื่องบินบ่อยครั้ง และใช้การปลอมตัวเป็นนักบิน เป็นทางลัด เลี่ยงการผ่านด่านรักษาความปลอดภัยตามขั้นตอนปกติ อินเดีย ทูเดย์ รายงานเพิ่มเติม นายราจันแต่งชุดนักบินขึ้นเครื่องอย่างน้อย 15 เที่ยว ใช้ผ่านทางที่สนามบินโกลกาตา และนิวเดลี ในช่วง 6 เดือน ก่อนถูกจับได้ และด้วยเครื่องแบบกัปตัน ยังทำให้เขาได้อภิสิทธิ์อื่นอีกหลายอย่าง เช่น ขึ้นเครื่องได้เลยไม่ต้องต่อแถวรอคิว การดูแลบนเครื่องบิน โอกาสได้รับการอัพเกรดที่นั่งโดยไม่ต้องจ่ายเพิ่ม หรือแม้แต่เข้าไปถ่ายรูปในห้องนักบินได้ นักบินกำมะลอ…

นิวยอร์กไทม์เปิดเอกสารลับซินเจียง รัฐบาลจีนคุมขังชาวอุยกูร์ในค่ายกักกัน

Loading

ตลาดการค้าที่เมืองคาชการ์ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เมื่อ ค.ศ. 1986 (ที่มา: แฟ้มภาพ/Flickr/Urban J. Kinet/UC Berkeley, Department of Geography) นิวยอร์กไทม์เปิดโปงเอกสารลับ ‘ซินเจียงเปเปอร์ส’ ซึ่งระบุถึงคำสั่งของผู้นำจีนให้ใช้ “กลไกเผด็จการ” กวาดต้อนจับกุมชาวมุสลิมในซินเจียงจำนวนมากเข้าค่ายกักกันปรับทัศนคติ ซึ่งจีนอ้างว่าเป็นเพียง “ศูนย์ฝึกวิชาชีพ” นอกจากนี้เอกสารลับยังระบุถึงแนวทางในการกดดันนักศึกษาที่กลับบ้านเกิดในซินเจียงแล้วสงสัยเรื่องที่ครอบครัว-เพื่อนบ้านหายไปให้เงียบ รวมถึงการปราบปรามเจ้าหน้าที่ผู้ขัดขืนนโยบาย เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่บ่งชี้ว่าค่ายกักกันในซินเจียงมีอยู่จริง นักศึกษาในประเทศจีนตีตั๋วกลับบ้านในช่วงปิดเทอมเพื่อพักผ่อนหลังการสอบ และหวังจะได้ใช้วันหยุดฤดูร้อนไปกับครอบครัวที่อาศัยอยู่ในทางตะวันตกของจีน แต่ทว่าเมื่อเขากลับไปถึงบ้านก็พบพ่อแม่กับญาติพี่น้องหายไปกันหมด เพื่อนบ้านของเขาทุกคนก็หายไปด้วย เพราะทั้งหมดถูกคุมขังอยู่ในสถานกักกันที่ใช้ควบคุมตัวชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เมื่อไม่นานนี้ สื่อนิวยอร์กไทม์นำเสนอเอกสารลับที่รั่วไหลของทางการจีนเกี่ยวกับค่ายกักกันชนกลุ่มน้อยในซินเจียงซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอุยกูร์ โดยเอกสารความยาว 403 หน้า ที่ถูกนำมาเปิดโปงนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำสั่งชี้แนะของทางการต่อเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นว่าพวกเขาควรจะปฏิบัติอย่างไรกับนักเรียนนักศึกษาที่กลับจากการไปเรียนในเมืองอื่นๆ และบีบให้นักเรียนนักศึกษาเหล่านี้เงียบลงได้อย่างไร โดยเริ่มต้นจากข้อสงสัยที่ผู้เดินทางกลับมาน่าจะสงสัยมากที่สุดคือ ครอบครัวของพวกเขาหายไปไหน เอกสารดังกล่าวนี้มีความสำคัญในแง่ที่ว่ารัฐบาลจีนพยายามปฏิเสธข้อวิพากษ์วิจารณ์จากประชาคมโลกเสมอมาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในซินเจียงเป็นค่ายกักกัน แต่ทางการจีนอ้างว่าค่ายเหล่านี้เป็น “ศูนย์ฝึกพัฒนาวิชาชีพ” เพื่อต่อต้านแนวคิดหัวรุนแรง อย่างไรก็ตามเอกสารที่รั่วไหลนี้แสดงให้เห็นว่าทางการจีนใช้วีธีในเชิงข่มขู่คุกคามผ่านคำสั่งสู่เจ้าหน้าที่ทางการ ถึงแม้ว่านักเรียนนักศึกษาที่กลับบ้านเกิดจะรู้สึกกังวลว่าเมื่อพ่อแม่เขาถูกพาตัวไปแล้วใครจะเป็นคนส่งเสียค่าเล่าเรียนของพวกเขา และไร่นาที่บ้านใครจะเป็นคนดูแล แต่เจ้าหน้าที่ทางการกลับถูกสั่งจากรัฐบาลกลางให้บอกผู้คนที่ร้องทุกข์เหล่านี้ว่าขอให้พวกเขาซาบซึ้งในบุญคุณของความช่วยเหลือจากพรรคคอมมิวนิสต์และขอให้พวกเขาเงียบในเรื่องนี้ นิวยอร์กไทม์ระบุว่า เอกสารที่รั่วไหลนี้ชี้ให้เห็นว่าจีนมีกลไกลับๆ ในการดำเนินค่ายกักกันที่กินจำนวนประชากรเป็นวงกว้างที่สุดนับตั้งแต่ยุคสมัยของเหมาเจ๋อตุง เนื้อหาหลักๆ ในเอกสารเหล่านี้เปิดเผยว่า ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เป็นคนที่วางรากฐานในการปราบปรามชาวอุยกูร์ โดยมีคำพูดของเขาที่แนะนำต่อเจ้าหน้าที่หลังจากที่เคยมีเหตุการณ์กลุ่มติดอาวุธอุยกูร์สังหารคนไป 31 คน…

เวียดนามจำคุกครูดนตรีนักเคลื่อนไหวในข้อหา ‘บ่อนทำลายประเทศ’

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ทางการเวียดนามได้มีคำตัดสินจำคุกครูสอนดนตรีผู้หนึ่งเป็นเวลา 11 ปี ในวันศุกร์ หลังจากที่เขาโพสต์ข้อความในเฟสบุ๊กที่รัฐบาลมองว่าเป็นการบ่อนทำลายประเทศ ถือเป็นกรณีล่าสุดที่รัฐบาลเวียดนามจับกุมคุมขังประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งมีการแสดงความเห็นที่แหลมคมและสุ่มเสี่ยงมากกว่าสื่อกระแสหลักที่ถูกควบคุมอย่างเข้มวงดโดยรัฐบาล ครูสอนดนตรีระดับมหาวิทยาลัยวัย 42 ปีผู้นี้มีชื่อว่า เหงียน นาง ตินห์ ซึ่งเขาโพสต์ข้อความและรูปภาพเกี่ยวกับการกระทำที่รุนแรงของตำรวจเวียดนาม สิทธิในที่ดิน และปัญหาสารเคมีปนเปื้อนในทะเลซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างชาติ เขาถูกทางการกล่าวหาว่าเผยแพร่เนื้อหาต่อต้านรัฐ และมีแนวคิดที่เป็นศัตรูต่อรัฐ โดยเขาถูกตัดสินจำคุก 11 ปี และภาคทัณฑ์อีก 5 ปี และในวันเดียวกันนี้ มีรายงานว่าสตรีนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลชาวเวียดนามผู้หนึ่งได้หายตัวไปจากสนามบินฮานอย ขณะเดินทางกลับมาจากประเทศไทย ดินห์ เทา อาศัยอยู่กับสามีในต่างประเทศ และทำงานให้กับองค์กรทางสัมคมแห่งหนึ่งของเวียดนาม สามีของเธอบอกกับ AFP ว่าเธอเดินทางกลับไปเวียดนามเพื่อช่วยเหลือนักรณรงค์อีกผู้หนึ่ง แต่เธอหายตัวไปจากสนามบินหลังจากเดินทางมาถึง โดยข้อความสุดท้ายที่เธอส่งไปให้เขาจากสนามบินฮานอย ระบุว่ามีตำรวจอยู่ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินแห่งนั้นหลายคน รัฐบาลเวียดนามถูกกล่าวหาว่าพยายามปราบปรามคนที่เห็นต่างกับรัฐบาล ตั้งแต่ผู้นำชุดใหม่ที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมขึ้นปกครองประเทศเมื่อ 3 ปีก่อน และเมื่อปีที่แล้ว รัฐสภาเวียดนามได้ผ่านกฎหมายความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตฉบับใหม่ ซึ่งกำหนดให้สื่ออนไลน์ เช่น Facebook และ YouTube ต้องลบเนื้อหาบางอย่างหากรัฐบาลเห็นว่าไม่เหมาะสม และต้องจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้ไว้ในเซิร์ฟเวอร์ที่เวียดนามด้วย องค์กรนิรโทษกรรมสากลระบุว่า เวลานี้มีนักโทษการเมืองอย่างน้อย…