รู้จัก ‘ตำรวจลับ’ รัฐบาลทหารพม่า เครื่องมืออำมหิตที่ใช้ปราบฝ่ายประชาธิปไตย

Loading

  บทความในอิรวดีพูดถึงบทบาท ‘ตำรวจลับ’ ของเผด็จการพม่าที่ใช้สอดแนม-ปราบปรามฝ่ายตรงข้าม และล่าสุดยุครัฐบาลทหารมินอ่องหล่าย นอกจากเครือข่ายที่ใช้จับตาความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านเผด็จการพลัดถิ่นที่อยู่ในไทยแล้ว ยังพบว่าผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและปฏิรูปการเมืองช่วงรัฐบาลเต็งเส่ง ก็ยังกลายเป็นผู้ให้ข้อมูลกับตำรวจลับพม่าอีกด้วย   เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสที่เชี่ยวชาญประเด็นพม่าเขียนบทความเผยแพร่ในอิรวดี เมื่อ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา พูดถึงการที่เผด็จการพม่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการใช้ “ตำรวจลับ” เพื่อคอยสอดแนมและปราบปรามฝ่ายประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งในประนอกประเทศ รวมถึงมีตำรวจลับเหล่านี้ในประเทศไทยด้วย แต่เผด็จการในยุคต่างๆ ก็มีการกวาดล้างเหล่าตำรวจลับพวกนี้เองและตั้งหน่วยใหม่ในชื่อใหม่ขึ้นมาตั้งแต่ยุคของเนวิน มาจนถึงเผด็จการมินอ่องหล่ายในปัจจุบัน   โดยเผด็จการเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องมี “ตำรวจลับ” เอาไว้ใช้งานเพื่อที่จะคงอยู่ในอำนาจได้ และยิ่งตำรวจลับเหล่านี้ มีความโหดเหี้ยมอำมหิตมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลดีกับพวกเขามากขึ้นเท่านั้น พวกนาซีเคยมีตำรวจลับชื่อหน่วยเกสตาโป ชาห์แห่งอิหร่านเคยอาศัยหน่วยซาวัคเป็นตำรวจลับและหน่วยข่าวกรอง เผด็จการแห่งโรมาเนีย นิโคแล โจเชสกู มี “กรมความมั่นคงแห่งรัฐ” ส่วนนายพลพม่านั้นมีหน่วยข่าวกรองของตนเอง ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อหลายชื่อในช่วงเวลาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงเป็นเสาหลักทางอำนาจให้กับรัฐเผด็จการทหาร   แต่ด้วยความที่ว่า หน่วยตำรวจลับของพม่านั้นมีลักษณะปกปิดเป็นความลับ ทำให้มีอยู่อย่างน้อยสองครั้งที่หน่วยงานข่าวกรองกองทัพพม่าเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบรัฐซ้อนรัฐ ซึ่งกลายเป็นภัยต่อระเบียบรัฐแบบดั้งเดิม ทำให้มีการกวาดล้างผู้นำของตำรวจลับบางส่วนโดยมีการลงโทษคุมขังพวกเขาเป็นเวลายาวนาน   เรื่องนี้ทำให้ผู้นำเผด็จการพม่าเริ่มหันมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ตำรวจลับมีความจงรักภักดีต่อพวกเขาโดยไม่ตั้งคำถามใดๆ นั่นกลายเป็นสาเหตุที่มินอ่องหล่าย ผู้นำระดับสูงของกองทัพและผู้นำเผด็จการทหารยุคปัจจุบัน ได้ให้ผู้นำระดับสูงของหน่วยข่าวกรองอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเผด็จการคนก่อนๆ   พล.ท.เยวินอู ผู้ที่เป็นประธานของหน่วยงานที่ชื่อว่า สำนักงานแห่งกิจการความมั่นคงเสนาธิการทหาร…

ญี่ปุ่นปรับกระบวนยุทธ์อย่างสำคัญ

Loading

      ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ก่อนจะถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู 2 ลูก โดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้พ่ายแพ้สงครามในที่สุด ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ห้ามมิให้ญี่ปุ่นมีกองทัพทหารเยี่ยงประเทศอื่นใด แต่อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังสามารถมีกองกำลังป้องกันตนเองได้ (Self-defense force) โดยจะต้องปฏิบัติการแค่ภายในอาณาบริเวณ หรือน่านน้ำและน่านอากาศ และบนภาคพื้นดินภายในเขตดินแดนของตนเองเท่านั้น   ญี่ปุ่นจึงตกในสภาพที่อยู่ใต้อาณัติของสหรัฐอเมริกา ผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยปริยาย เพราะสหรัฐฯ ได้ตั้งฐานทัพ และกองกำลังอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีนัยของการควบคุมญี่ปุ่นให้อยู่ในร่องในรอยและในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ก็อ้างตนว่าเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองญี่ปุ่นจากภยันตรายจากภายนอกประเทศด้วย จึงจัดได้ว่าญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เป็นพันธมิตรทางด้านการทหารและความมั่นคงอย่างเหนียวแน่น   จริงอยู่ที่ญี่ปุ่นรู้สึกว่ามีความมั่นคงปลอดภัย ก็เพราะมีสหรัฐฯ คอยเป็นโล่ และผู้ปกป้องคุ้มครองภัยให้ แต่ในระยะหลังๆ สหรัฐฯ ที่ทำตนเป็นเสมือนตำรวจโลก ได้มีภารกิจที่หลากหลายไปทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันก็พยายามเรียกร้องให้ประเทศพันธมิตรต่างๆ มาร่วมแบกภาระ แทนการพึ่งพาจากสหรัฐฯ อย่างเดียวแบบแต่ก่อน และยังขอให้ร่วมมือช่วยเหลือสหรัฐฯ ในโอกาสสำคัญที่จำเป็น ด้วยการร้องให้ประเทศพันธมิตรจัดเพิ่มงบประมาณทางทหาร เสริมสร้างความทันสมัยของอาวุธยุทโธปกรณ์ และการขยายและพัฒนากำลังพล อีกทั้งภยันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของโลก ก็มีรูปแบบขึ้นมาใหม่ เช่น การก่อการร้ายสากล และการบ่อนทำลายซึ่งกันและกันทางด้านระบบการสื่อสารทางอวกาศ…

ญี่ปุ่นเล็งคุมบริษัทที่มีความสำคัญต่อความมั่นคง หวังสกัดการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  หน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะพิจารณาใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นในการควบคุมบริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อความมั่นคง   ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ริเริ่มขึ้น เพื่อปกป้องความมั่นคงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ให้ถูกรุกรานจากจีน เช่น การป้องกันการรั่วไหลของเทคโนโลยีที่อ่อนไหว และสร้างห่วงโซ่อุปทานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า หน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ยื่นรายงานเสนอต่อรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเรียกร้องให้มีการร่างกฎหมายซึ่งจะเปิดทางให้รัฐบาลสามารถสั่งการให้บริษัทต่าง ๆ ส่งมอบข้อมูลล่วงหน้าเมื่อมีการอัปเดตซอฟต์แวร์หรือจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ ๆ และออกคำสั่งห้ามซื้ออุปกรณ์ที่อาจทำให้ญี่ปุ่นมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์   รายงานดังกล่าวยังระบุด้วยว่า หน่วยงานกำกับดูแลทางไซเบอร์จะพุ่งเป้าควบคุมบริษัทในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น พลังงาน , น้ำประปา , เทคโนโลยีสารสนเทศ , การเงิน และการขนส่ง   “เนื่องจากโลกได้เข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็วในขณะนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบทุกภาคส่วนซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญนั้น อาจจะตกเป็นเป้าของการโจมตีทางไซเบอร์ อย่างไรก็ดี เราเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะสร้างความเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะไม่เข้มงวดมากจนเกินไป”   หน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์ของญี่ปุ่นระบุในรายงาน   หลายประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วซึ่งรวมถึงสหรัฐและญี่ปุ่น ต่างก็เผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งรวมถึงประเทศที่มีความสัมพันธ์กับรัสเซียและจีน     โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02 ก.พ. 65)    …

ก.ความมั่นคงภายในสหรัฐฯ ตั้งหน่วยงานใหม่รับมือ ‘ก่อการร้ายในประเทศ’

Loading

  นายอเลฮานโดร มายอร์คาส (Alejandro Mayorkas) รัฐมนตรีว่ากระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิสหรัฐฯ (Homeland Security) ประกาศเมื่อวันพุธว่า จะมีการจัดตั้งหน่วยงานข่าวกรองแห่งใหม่ภายใต้สังกัดกระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิ ซึ่งจะทำหน้าที่รับมือ ‘แนวคิดรุนแรงสุดโต่งในประเทศ’ โดยเฉพาะ รัฐมนตรีมายอร์คาส กล่าวต่อคณะกรรมาธิการจัดสรรงบประมาณของวุฒิสภาสหรัฐฯ ว่า หน่วยงานใหม่นี้จะใช้การรวบรวมข้อมูลข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพและทันเหตุการณ์เพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากแนวคิดสุดโต่งในอเมริกา รวมทั้งเพิ่มกำลังและทรัพยากรต่าง ๆ ในการดำเนินการด้านนี้ด้วย การเปิดเผยแผนจัดตั้งหน่วยงานใหม่นี้มีขึ้นท่ามกลางความกังวลเรื่องภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในประเทศ หลังจากบรรดาเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายเตือนว่า กลุ่มแนวคิดรุนแรงสุดโต่งในอเมริกาอาจเกิดความฮึกเหิมขึ้นจากเหตุการณ์บุกโจมตีอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 มกราคม โดยกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน จัดให้การต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายในประเทศเป็นภารกิจสำคัญอันดับต้น ๆ ของรัฐบาลชุดนี้ พร้อมทั้งสั่งการให้สำนักงานผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ (Office of the Director of National Intelligence – ODNI) จัดทำรายงานเกี่ยวกับภัยคุกคามจากแนวคิดรุนแรงสุดโต่งในประเทศ ซึ่ง ODNI เปิดเผยรายงานเมื่อเดือนมีนาคมว่า กลุ่มแนวคิดรุนแรงสุดโต่งได้ยกระดับการคุกคามในประเทศเพิ่มขึ้นในปีนี้ ด้าน จิล แซนบอร์น…

จีนเรียก 3 ยักษ์เทคโนโลยี คุมการใช้ deepfake บนแพลตฟอร์ม

Loading

    รอยเตอร์ส รายงาน (18 มี.ค.) – หน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้มีคำสั่งเรียกบริษัท เทคโนโลยีในประเทศ 11 ราย รวมถึง อาลีบาบากรุ๊ป, เทนเซนต์และไบต์แดนซ์ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ‘deepfake’ บนแพลตฟอร์มของตน ผู้ดูแลระบบไซเบอร์สเปซของจีนกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดี(18 มี.ค.) ว่ากระทรวงความมั่นคงสาธารณะได้พูดคุยกับบริษัทต่าง ๆ เกี่ยวกับ“ การประเมินความปลอดภัย” และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับแอปโซเชียลปลอมภาพและเสียง ซึ่ง Kuaishou (ไคว่โส่ว) ของบริษัท Beijing Kuaishou Technology และ เสี่ยวหมี่ คอร์ป เข้าร่วมการประชุมด้วยเช่นกัน รายงานข่าวกล่าวว่า บริษัททั้งหมด ยังไม่ตอบสนองต่อคำร้องขอความคิดเห็นใด ๆ Deepfakes คือการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สร้างวิดีโอหรือไฟล์เสียงที่สมจริงเกินจริง แต่เป็นของปลอม โดยทำเหมือนบุคคลเป็นผู้พูดหรือทำในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้ทำ จีนได้เพิ่มการตรวจสอบยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาโดยอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมผูกขาดและการละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้น หน่วยงานกำกับดูแลยังแจ้งให้ บริษัทต่างๆ“ ดำเนินการประเมินความปลอดภัยด้วยตนเอง” และส่งรายงานไปยังรัฐบาลเมื่อพวกเขาวางแผนที่จะเพิ่มฟังก์ชั่นใหม่หรือบริการข้อมูลใหม่ที่ “มีความสามารถในการขับเคลื่อนสังคม” ทั้งนี้ บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ของจีน ได้ลอกเลียนแบบแอปเสียง Clubhouse…

กองทัพเมียนมาแก้ประมวลกฎหมายอาญาความมั่นคง

Loading

การปลุกระดมให้เกิดการล้มล้างรัฐบาลและรัฐธรรมนูญ “ถือเป็นกบฏ” เนื่องจากเป็นลักษณะความผิดที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสังคม ขณะเดียวกัน รัฐบาลทหารเมียนมายังกำหนดลักษณะความผิดอาญาด้านความมั่นคงอีกหลายรูปแบบ     สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ว่าคณะมนตรีการปกครองแห่งรัฐเผยแพร่แถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ เกี่ยวกับการแก้ไขบางมาตราของประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วย “พฤติการณ์เข้าข่ายก่อสงครามต่อสหภาพเมียนมา” ซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงภายในประเทศ ให้ครอบคลุมถึงการปลุกระดม การสนับสนุนหรือสมคบคิดกับกลุ่มบุคคลใด โดยมีเป้าประสงค์เพื่อล้มล้างรัฐบาลและอำนาจตามรัฐธรรมนูญ “ถือเป็นความผิดร้ายแรง ฐานเป็นกบฏต่อแผ่นดิน” Anti-coup protesters rally outside National League for Democracy party (#NLD) offices in #Yangon#Myanmar pic.twitter.com/Eba1b11VJ4 — Ruptly (@Ruptly) February 15, 2021 Protesters in Myanmar continued to demand for the release of ousted civilian leader…