“ไมโครซอฟท์” ห้ามพนักงานใช้ “ChatGPT” ชั่วคราว อ้างวิตกด้านความปลอดภัย

Loading

มโครซอฟท์ คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์จากสหรัฐ ได้ทุ่มเม็ดเงินลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐในบริษัทโอเพนเอไอ (OpenAI) ซึ่งเป็นสตาร์ตอัปผู้พัฒนาแชตจีพีที (ChatGPT) แชตบอตเอไอยอดนิยม แต่ในช่วงเวลาสั้น ๆ ในวันพฤหัสบดี (9 พ.ย.) ไมโครซอฟท์ได้สั่งห้ามไม่ให้พนักงานใช้งาน ChatGPT

EU จ่อใช้กฎหมายตลาดดิจิทัล กระทบยักษ์ใหญ่เทคโนโลยี 6 แห่ง

Loading

คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ระบุเมื่อวันพุธ (6 ก.ย.) ว่า EC ได้กำหนดให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ 6 แห่งเป็น “ผู้เฝ้าประตู” (gatekeepers) ภายใต้กฎหมายตลาดดิจิทัล (Digital Markets Act – DMA) ซึ่งเป็นกฎหมายกำกับดูแลด้านการแข่งขันฉบับใหม่ที่อาจพลิกโฉมรูปแบบธุรกิจของแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่

ตำรวจยุคใหม่ ใช้โดรนส่องหลังคาบ้าน ท้าทายความเป็นส่วนตัว

Loading

  ในระหว่างที่ชาวนิวยอร์ก กำลังใช้วันหยุดไปกับการจัดปาร์ตี้บาร์บีคิวที่สวนหลังบ้าน ช่วงนั้นเองก็มีโดรนติดกล้องจากทางเจ้าหน้าที่ บินมาร่วมแจมด้วย…   กรมตำรวจนครนิวยอร์กประกาศใช้แผนส่งโดรนสำรวจบนท้องฟ้าในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ โดยเลือกติดตามบ้านที่มีการงานปาร์ตี้กลางแจ้ง เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย หากได้รับการโทรแจ้งเข้ามาเป็นจำนวนมาก   อย่างไรก็ตาม แผนการดังกล่าวก็ถูกตั้งคำถามถึงความเป็นส่วนตัว รวมถึงการละเมิดกฎหมายควบคุมการสอดแนมในพื้นที่ด้วยหรือไม่ และการบินสองปาร์ตี้หลังบ้านในเมือง ดูเป็นเรื่องเร่งด่วนจริง ๆ หรือ   ทางด้านกรรมการบริหารของ Surveillance Technology Oversight Project (STOP) ในสหรัฐฯ ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นคล้าย ๆ กัน โดยมองด้วยว่าตัวโดรนของเจ้าหน้าที่ อาจบินไปดูส่วนที่เป็นห้องนอนโดยมิชอบ   มีข้อมูลเผยว่า ที่ผ่านมาทางตำรวจนิวยอร์คได้ใช้โดรนบินเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้ แต่มีการใช้โดรนเพื่อความปลอดภัยในที่สาธารณะหรือเหตุฉุกเฉินเพียงสี่ครั้ง ในขณะที่ตัวเลขขึ้นบินมีมากถึง 124 ครั้ง และจะเพิ่มมากขึ้นในวันหยุดช่วงสุดสัปดาห์นี้   แนวคิดการเฝ้าระวังบนท้องฟ้าด้วยโดรน นับว่าเป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สองส่องดูแลได้ทั่วถึงขึ้น แต่การไปสอดส่องบริเวณที่อยู่อาศัย ที่ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของชาวเมือง จึงไม่แปลกที่จะเกิดเสียงต่อต้าน วันดีคืนดีอาจมีโดรนตำรวจถูกสอยเข้าสักวันเป็นแน่     ที่มา : Techspot       —————————————————————————————————————————————————…

สู่ยุคใหม่แห่งการรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิดอัจฉริยะจาก AI

Loading

  ปัญญาประดิษฐ์ถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเริ่มมีการพูดถึงระบบตรวจจับด้วยกล้องวงจรปิดอัจฉริยะจาก AI แม้นี่ไม่ใช่ของใหม่แกะกล่อง แต่หลายประเทศก็เริ่มตั้งคำถามในการนำมาใช้งานเช่นกัน   กล้องวงจรปิด หนึ่งในอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ถูกใช้งานในฐานะอุปกรณ์บันทึกภาพเพื่อยืนยันสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ สามารถพบเห็นได้ตามท้องถนน อาคารบ้านเรือน หรือแม้แต่รถยนต์ส่วนบุคคล เรียกว่าเป็นหนึ่งในระบบรักษาความปลอดภัยที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน   สำหรับภาครัฐนี่ก็ถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยระบุตัวตนในพื้นที่สาธารณะเป็นอย่างดี ช่วยให้สามารถตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ ใช้งานในการดูแลรักษาความสงบภายในประเทศ นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ล่าสุดจึงเริ่มมีการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาปรับใช้ นำไปสู่การพัฒนา กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ในที่สุด     ขั้นกว่าในการรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิดอัจฉริยะจาก AI   ความก้าวหน้าของ เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง การพัฒนาก้าวกระโดดสร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ทางสังคม หลายภาคส่วนจึงเริ่มมองเห็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ สู่การคิดค้นกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ที่เริ่มมีการใช้งานแพร่หลายทั่วทุกมุมโลก   ในสหราชอาณาจักรเริ่มมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ สามารถตรวจสอบการทิ้งขยะของคนขับและผู้โดยสารที่อยู่ภายในรถ จากนั้นจะทำการระบุป้ายทะเบียนและส่งข้อมูลนี้ไปถึงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยอัตโนมัติ นำไปสู่การออกใบสั่งเสียค่าปรับซึ่งมีมูลค่าสูงสุดถึง 100 ปอนด์(ราว 4,400 บาท) เลยทีเดียว   ทางด้านสหรัฐฯได้มีการนำระบบ AI มาใช้ร่วมกับ ระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ…

ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย สิ่งสำคัญของการใช้เทคโนโลยี

Loading

    ตอนนี้เทคโนโลยี อย่าง AI, Blockchain และ Cloud เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ดังนั้น ความเป็นส่วนตัวและการป้องกันความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งที่ตามมา ซึ่งเทคโนโลยีถ้าไม่มีการให้ความรู้กับผู้ใช้งาน ก็จะไร้ประโยชน์   ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวในงาน Digital Life Forum 2023 : นวัตกรรม เปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนโลก จัดขึ้นโดย สปริงนิวส์ ว่า บทบาทของเราทำหน้าที่ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ผมอยากให้สิ่งที่ Drive คือความต้องการของคน เพราะเทคโนโลยีดียังไงแต่ไม่มีคนใช้ มันก็ไปไม่รอด เราพยายามผลักดัน SME ให้เทคโนโลยี ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีใช้เวลาน้อยลงในการเปลี่ยนวัฎจักร ซึ่งโควิดมาความต้องการเปลี่ยนก็ทำให้เทคโนโลยีเปลี่ยน ยกตัวอย่าง เวลาเราขึ้นตึกแล้วต้องแลกบัตรประชาชน เราก็กลัวข้อมูลรั่วไหล ก็ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ     ปัจจุบันเรื่องของ Data มีความสำคัญและมี Value มาก ดังนั้นจึงมีเทคโนโลยีเกี่ยวกับ…

ดิจิทัลและความเป็นส่วนตัว

Loading

  วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันล้วนพึ่งพาอาศัยระบบดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือใช้ชีวิตส่วนตัวเราล้วนอาศัยบริการดิจิทัลช่วยให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่ข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงข้อมูลองค์กรอาจหลุดรั่วออกไปได้มากขึ้นเช่นกัน   ในยุคที่ข้อมูลเป็นสินทรัพย์สำคัญที่สุด รวมถึงการถือกำเนิดของเงินสกุลดิจิทัล เราจึงคุ้นเคยกับคำว่าสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สิ่งที่ยังพัฒนาตามมาไม่ทันคือแนวคิดแบบดิจิทัล ที่ต้องตระหนักในเรื่องความปลอดภัยและใส่ใจต่อข้อมูลส่วนบุคคลมากกว่านี้   เริ่มจากประการแรกคือต้องเข้าใจว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” แม้ว่าบริการดิจิทัลที่เปิดใช้อยู่ในปัจจุบันหลายแพลตฟอร์มจะไม่เสียค่าใช่จ่ายใด ๆ แต่เราต้องเข้าใจว่าบริการเหล่านี้ล้วนได้ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ของผู้ใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยน ไม่ได้ใจดีเปิดให้ใช้ฟรีอย่างที่หลาย ๆ คนคิด   ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้ รวมไปถึงข้อมูลจากการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานว่าเข้ามาดูข้อมูลหรือค้นหาสินค้าชนิดใดเป็นพิเศษ ซึ่งระบบเอไอก็จะช่วยวิเคราะห์ได้ว่าตัวตนของเรานั้นเป็นอย่างไร เหมาะกับสินค้าและบริการแบบไหน เราจึงได้เห็นโฆษณาสินค้าที่เรากำลังมีความสนใจอยู่บ่อย ๆ   ซึ่งนี่เป็นเรื่องพื้นฐานเท่านั้น เพราะในปัจจุบันแพลตฟอร์มต่าง ๆ เริ่มพยากรณ์ความต้องการของผู้ใช้ได้แม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ได้ละเอียดมากขึ้นเช่นกัน   ประเด็นที่สองที่ต้องขบคิดให้ดีก่อนจะสมัครใจใช้แพลตฟอร์มใด ๆ ก็คือความน่าเชื่อถือของแต่ละแพลตฟอร์ม เพราะทุกวันนี้มีบริการดิจิทัลใหม่ ๆ เปิดตัวมากมายแทบจะทุกนาทีซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ทุกแฟลตฟอร์มจะถูกตรอจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น   ในโลกแห่งความเป็นจริงเราจึงเห็นแอปพลิเคชันบางตัว ขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้มากเกินไป รวมไปถึงบางแอปพลิเคชันที่ตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อเอาข้อมูลจากผู้ใช้ และที่หนักที่สุดคือแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ผู้ใช้โหลดโดยตรงเพื่อนำเงินออกจากธนาคารตามที่เป็นข่าวครึกโครมในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา   ก่อนจะใช้บริการจากแพลตฟอร์มใด ๆ เราจึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าแอปพลิเคชันเหล่านั้นมีความจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลของเรามากเพียงใด…