อดีตหัวหน้าทีมคลาวด์ Ubiquiti รับโทษจำคุก 6 ปีฐานเอาข้อมูลไปเรียกค่าไถ่บริษัท

Loading

  ศาลสหรัฐฯ พิพากษาลงโทษ Nickolas Sharp หัวหน้าทีมคลาวด์ของบริษัท Ubiquiti ในช่วงปี 2020 โทษฐานที่ดึงข้อมูลออกจากคลาวด์ด้วยตัวเองและนำข้อมูลไปเรียกค่าไถ่กับ Ubiquiti เป็นเงิน 50BTC   Sharp ถูกจับกุมตั้งแต่ปลายปี 2021 โดยตัวเขาเองถูกค้นคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นปี 2021 เมื่อถูกค้นก็พยายามปล่อยข่าวปลอมเกี่ยวกับ Ubiquiti ว่าบริษัทมีช่องโหว่และถูกแฮ็กอย่างรุนแรง จนทำให้หุ้นของ Ubiquiti ตกลงอย่างหนัก มูลค่าบริษัทหายไป 4 พันล้านดอลลาร์หรือกว่าแสนสามหมื่นล้านบาท   คดีนี้จบลงหลัง Sharp รับสารภาพ 3 ข้อหา ได้แก่ การแฮ็กระบบ, ฉ้อโกง, และให้การเท็จต่อ FBI ผู้พิพากษา Katherine Polk Failla ลงโทษจำคุก 6 ปี คุมความประพฤติหลังออกจากคุกอีก 3 ปี, ยึดทรัพย์สินทั้งหมดที่เกี่ยวกับการกระทำผิด, และจ่ายค่าเสียหายอีก 1.59 ล้านดอลลาร์    …

Royal Mail ปฏิเสธจ่ายค่าไถ่ให้แฮ็กเกอร์จากรัสเซีย

Loading

    คณะผู้บริหารของ Royal Mail บริษัทไปรษณีย์ของรัฐบาลสหราชอาณาจักรปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าไถ่ราว 66 ล้านปอนด์ (ราว 2,730 ล้านบาท) จาก LockBit กลุ่มแฮ็กเกอร์จากรัสเซีย   ข้อมูลนี้ได้รับการเปิดเผยในลักษณะการสนทนาระหว่าง LockBit และผู้เจรจาค่าไถ่ของ Royal Mail ซึ่งทางฝ่าย Royal Mail ปฏิเสธไป   ในบทสนทนานั้น LockBit ชี้ว่าจำนวนเงินที่เรียกค่าไถ่จาก Royal Mail นั้น ถือว่าน้อยกว่าค่าปรับที่ Royal Mail อาจต้องจ่ายให้กับหน่วยกำกับดูแลของยุโรปหาก LockBit ปล่อยข้อมูลสู่สาธารณะเสียอีก   แต่ทางผู้เจรจาของ Royal Mail ชี้ว่ารัฐบาลรู้เกี่ยวกับการแฮ็กแล้ว ถึงจะจ่ายเงินแล้วไฟล์ไม่ถูกเผยแพร่ ก็อาจต้องจ่ายค่าปรับอยู่ดี   ก่อนหน้านี้ LockBit ออกมาเผยบนดาร์กเว็บว่าได้ปิดกั้นบริการส่งจดหมายข้ามประเทศของ Royal Mail ด้วยการโจมตีซอฟต์แวร์ของบริษัทด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผลก็คือทำให้การส่งพัสดุระหว่างประเทศต้องหยุดชะงัก   โฆษก Royal…

สหรัฐฯ เผยสถิติจ่ายค่าไถ่บนโลกไซเบอร์ในปี 2564 อาจสูงกว่า 10 ปีที่ผ่านมารวมกัน

Loading

  กระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา เผยว่าในครึ่งปีแรกของปี 2564 มีตัวเลขการรายงานต่อรัฐบาลเกี่ยวกับยอดการชำระเงินค่าไถ่ที่เกี่ยวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่มีมูลค่าสูงถึง 590 ล้านเหรียญ (ประมาณ 19,700 ล้านบาท) ซึ่งถ้าแนวโน้มยังเป็นเช่นนี้ต่อไปก็จะมากกว่ายอดรวมความเสียหายของทั้ง 10 ปีก่อนหน้ารวมกัน เครือข่ายการบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมทางการเงินของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ (Treasury’s Financial Crimes Enforcement Network) เผยว่าสถิติข้างต้นสูงกว่ายอดรวมที่สถาบันทางการเงินเปิดเผยตลอดทั้งปีแล้วถึงร้อยละ 42 เจ้าหน้าที่สืบสวนของกระทรวงการคลังพบวอลเล็ตคริปโทเคอเรนซีมากกว่า 150 แหล่ง ที่มีมูลค่าการทำธุรกรรมสูงถึง 5,200 ล้านเหรียญ (ประมาณ 173,000 ล้านบาท) ซึ่งเกี่ยวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ อย่างไรก็ดี รายงานฯ ระบุว่าตัวเลขการรายงานจากสถาบันทางการเงินที่พุ่งสูงขึ้น อาจสะท้อนระดับของความตื่นตัวในเรื่องอาชญากรรมทางไซเบอร์ก็เป็นได้ ก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลกลางพยายามที่จะหยุดยั้งแนวโน้มการโจมตีที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการออกมาตรการคว่ำบาตรผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนค่าเงินออนไลน์ที่่แอบหาเงินด้วยการสับเปลี่ยนที่มาของคริปโทเคอเรนซี เช่นเดียวกับ 30 ประเทศที่ร่วมกันประกาศในการประชุมผู้นำที่จัดขึ้นที่สหรัฐฯ ว่าจะร่วมกันต่อสู้กับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่มา Yahoo/AFP   —————————————————————————————————————————————– ที่มา : Beartai               /…