วิเคราะห์: อาวุธใหม่ ‘จรวดติดจีพีเอส’ จะเปลี่ยนทิศทางสงครามยูเครนอย่างไร?

Loading

    สหรัฐฯ เตรียมจัดส่งความช่วยเหลือทางทหารรอบใหม่ให้แก่ยูเครน ด้วยจรวดที่สามารถโจมตีในระยะไกลลึกเข้าไปในเขตแนวหน้าของรัสเซีย ซึ่งทำให้รัสเซียอาจต้องเร่งปรับยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อรับมืออาวุธชนิดใหม่นี้   อาวุธดังกล่าวเรียกว่าระเบิดนำวิถีขนาดเล็กที่ยิงจากภาคพื้นดิน (Ground Launched Small Diameter Bomb) หรือ GLSDB ซึ่งมีระยะยิงได้ไกล 150 กิโลเมตร ไกลกว่าระบบยิงจรวด High Mobility Artillery Rocket System (HIMARS) ของสหรัฐฯ ที่ยูเครนใช้อยู่ในขณะนี้ราวสองเท่า ซึ่งหมายความว่าจะสามารถโจมตีได้ถึงเส้นทางขนส่งเสบียงของกองทัพรัสเซียในภาคตะวันออกของยูเครน รวมทั้งบางส่วนของแคว้นไครเมีย     ยูเครนเชื่อว่า อาวุธใหม่นี้จะกดดันให้รัสเซียต้องถอยเส้นทางขนส่งเสบียงไปไกลจากแนวหน้ามากกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้กองทัพรัสเซียอ่อนแอลงและยังเพิ่มความยากลำบากให้แก่รัสเซียในการโจมตีรอบใหม่ด้วย   แอนเดรีย ซาโกรอดเนียค อดีตรัฐมนตรีกลาโหมยูเครน เชื่อว่า “ระบบยิงจรวดแบบใหม่อาจทำให้การรุกคืบของรัสเซียช้าลงมาก และจะส่งผลกระทบต่อทิศทางของสงครามครั้งนี้ยิ่งกว่าที่ระบบ HIMARS เคยส่งผลมาแล้ว”   GLSDB คือระเบิดนำวิถีแบบร่อนที่ใช้จีพีเอสนำทาง สามารถสั่งการโจมตีเป้าหมายที่ยากต่อการเข้าถึง เช่น ศูนย์บัญชาการรบ ผลิตโดยบริษัทซาบ เอบี (SAAB AB) และ โบอิ้ง…