ไทยเข้าวิน! เจ้าภาพประชุม AI โลก วางกรอบถกจริยธรรม-ความยั่งยืน

Loading

    ยูเนสโกเลือกไทย! จัดประชุมถกจริยธรรม AI ระดับโลกครั้งแรกในเอเชีย-แปซิฟิก รวมพลผู้นำ-ผู้เชี่ยวชาญ 194 ประเทศ แห่ร่วมงาน มิ.ย.68 ตั้งเป้าผู้เข้าร่วม 800 คน   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ประเทศไทยเดินหน้าสร้างความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างมีจริยธรรม สอดคล้องกับเป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2567   รายงานจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระบุว่า องค์กรในประเทศไทยมีการนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้นถึง 73.3% สูงกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 20% สะท้อนถึงความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม   ทั้งนี้ รัฐบาลยังผลักดันแนวทางสำคัญในการกำกับดูแล AI ด้วย “คู่มือแนวทางการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล” และ…

AI Governance ก้าวแรกที่อย่ามองข้ามสำหรับทุกองค์กร

Loading

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความก้าวหน้าของ AI ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการปรับกลยุทธ์หรือแผนงาน แต่อาจส่งผลถึงการปรับโครงสร้างทั้งระดับองค์กรและระดับประเทศเพื่อให้สามารถรับมือได้ทัน การทดสอบและออกแบบกรอบการ Governance ที่ดี ต้องสามารถ “จำกัดความเสียหาย แต่ไม่จำกัดโอกาส” ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

โกหกยุค AI สร้างความจริงที่เป็นทางเลือก Alternative Fact

Loading

AI ช่วยการโกหกได้อย่างแนบเนียน เราอยากให้รูปเราดูสวยดูหล่อ ก็ใช้ AI ปรับแต่งรูปภาพ แต่ส่วนใหญ่เป็นการโกหกที่ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนเสียหายอะไรกับคนอื่น

เมื่อ AI กลายเป็นภัยคุกคาม

Loading

ปัจจุบันมีการใช้งาน AI อย่างแพร่หลายทั้งในองค์กรขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เพื่อความสะดวกในการดำเนินงานทำให้องค์กรตกเป็นเป้าหมายในการถูกโจมตีมากขึ้น

3 มุมมองความท้าทาย ’เอไอ‘ บนจุดตัดด้านจริยธรรม และธรรมาภิบาล

Loading

  การบังคับใช้กฎหมายด้านเอไอเพื่อให้มีจริยธรรม และธรรมาภิบาลเป็นความท้าทายใหม่ที่เข้ามาในทุกอุตสาหกรรม และการกำกับดูแลของภาครัฐว่าจะมีทิศทางอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบด้านทุกมิติ   ภายในงานเสวนา: AI Ethic: Trust & Transparency จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ”   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช.กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากของการใช้เอไอคือ สังคมมีความเป็นห่วงมากเกินไป ว่าเป็นดาบสองคม แต่ไม่รู้จักว่าจะใช้งานทางบวกอย่างไร และระวังเรื่องทางลบอย่างไร ด้านบวกหากไม่ใช่ ก็เปรียบเสมือนดาบทื่อ กลายเป็นไม่นำมาใช้ประโยชน์ใดๆ เลย   ส่วนเรื่องการออกกฎหมายนั้น เชื่อว่า เป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และ เป็นเรื่องของการบังคับใช้มาสเตอร์แพลน ที่ย่อมต้องตามมากับพัฒนาการ การใช้เอไอนั่นคือ การใช้งานอย่างมีจริยธรรม และมีกฎหมาย ต้องให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ควบคู่กับการพัฒนาคนให้ใช้งานอย่างมีจริยธรรม ต่อไปเมื่อมีการนำเอไอมาใช้ จะเชื่อได้อย่างไร ถ้าเอไอตอบคำถามผิด จะรู้หรือมีกลไกในการตรวจสอบอย่างไร เพราะการตรวจเอไอไม่ได้ง่ายเหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถทดสอบออกมาได้ว่าโปรแกรมนี้ถูกหรือไม่   “เอไอขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ข้อมูลที่หลากหลายคำตอบที่ได้ จะดีที่สุดกับองค์กรของท่านหรือไม่ หรือดีในแง่ของจริยธรรมหรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างที่กฎหมายกำลังขับเคลื่อน เราต้องตอบตัวเองให้ได้ ว่าจะมีการจำกัดดูแลกลไกของมันได้อย่างไร”…

ภาพวันแม่กับการใช้เทคโนโลยี

Loading

  การเผยแพร่ภาพแม่กับลูกเนื่องในโอกาสวันแม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ แทนที่จะสื่อถึงชาวโลกว่าพระองค์ทรงมีสุขภาพดีเป็นปกติแล้วและกำลังมีความสุขอยู่กับพระโอรสและพระธิดา กลับสร้างปัญหาสาหัสแบบคาดไม่ถึง   กล่าวคือ ไม่นานหลังจากภาพนั้นกระจายออกไป สำนักข่าวใหญ่หลายแห่งแถลงว่า ตนได้บอกให้ผู้รับภาพงดเผยแพร่ต่อเพราะสงสัยว่าภาพนั้นได้รับการตกแต่งด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยส่งผลให้ไม่สะท้อนความเป็นจริงเต็มร้อย   ต่อมา เจ้าหญิงทรงรับว่าพระองค์ทรงตกแต่งภาพนั้นจริงและทรงขออภัยในความไม่เดียงสาของความเป็นช่างภาพมือใหม่ซึ่งทดลองใช้เทคโนโลยีที่ไม่ค่อยคุ้นเคย   เหตุการณ์นั้นบานปลายเป็นประเด็นใหญ่ภายในเวลาอันสั้น เนื่องจากมีผู้ชี้ว่าทางในวังของอังกฤษได้ใช้วิธีสร้างภาพให้ดูดีเกินความเป็นจริงมานาน และฝ่ายต่อต้านการมีกษัตริย์ได้พยายามขุดคุ้ยเรื่องในแนวนี้มาเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง   ในบางกรณีถึงกับใช้เทคโนโลยีใหม่แอบถ่ายภาพ หรือดักฟังการสนทนาของราชวงศ์ส่งผลให้เรื่องไปถึงโรงศาล การเผยแพร่ภาพดังกล่าวจึงอาจเป็นน้ำผึ้งอีกหนึ่งหยดที่ส่งผลให้เกิดจุดพลิกผันอันสำคัญยิ่งในราชวงศ์อังกฤษได้   ผู้ดูโดยทั่วไปคงไม่รู้ว่าภาพดังกล่าวนั้นได้รับการตกแต่ง แต่สำนักข่าวใหญ่ ๆ มีทั้งเทคโนโลยีร่วมสมัยและความเชี่ยวชาญในการดูภาพจึงรู้ เมื่อรู้แล้วก็มิได้อำไว้เพราะเกรงใจราชวงศ์ หากแถลงออกมาเนื่องจากยึดจรรยาบรรณในด้านวิชาชีพของตนสูงกว่าความเกรงใจในตัวบุคคล หรือสถานะทางสังคมของเขารวมทั้งราชวงศ์   เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นประเด็นใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกครั้ง กล่าวคือ เทคโนโลยีมีประโยชน์มหาศาล แต่มีโทษ หรือคำสาปแฝงมาด้วยเสมอ   โทษอาจเกิดจากความไม่เข้าใจ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความมักง่าย และความตั้งใจใช้เทคโนโลยีโดยขาดจรรยาบรรณ หรือเจตนาร้าย   ภาพ : เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงขอโทษที่ตกแต่งภาพทางการจากสำนักพระราชวังเคนซิงตัน จนสำนักข่าวดังหลายแห่งลบออกจากระบบ   ด้านประโยชน์นั้นเราคุ้นเคยกับมันในชีวิตประจำวันจนแทบไม่นึกถึง ผู้กำลังอ่านบทความนี้คงมีเครื่องมือทำด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยและอาจใช้มันอ่านอยู่ด้วยรวมทั้งโทรศัพท์อัจฉริยะ คอมพิวเตอร์จำพวกพกพาและคอมพิวเตอร์จำพวกตั้งโต๊ะ   ส่วนผู้อ่านการพิมพ์บนหน้ากระดาษก็อาจมิได้นึกถึงว่ากระดาษและตัวหนังสือที่ปรากฏต่อหน้าจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างด้วยกัน   ส่วนด้านโทษก็มีมาก…