จีนจับชาวญี่ปุ่นฐานต้องสงสัยจารกรรม

Loading

  ปักกิ่ง 27 มี.ค.- จีนเผยวันนี้ว่า ควบคุมตัวพลเมืองชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งฐานต้องสงสัยว่าจารกรรม หลังจากญี่ปุ่นขอให้จีนปล่อยตัวพลเมือง   โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน เผยระหว่างการแถลงข่าวตามปกติว่า เจ้าหน้าที่จีนที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินมาตรการบังคับคดีอาญาในเดือนนี้กับพลเมืองญี่ปุ่นคนหนึ่งตามกรอบของกฎหมาย บุคคลดังกล่าวต้องสงสัยว่าพัวพันกับการจารกรรม อันเป็นการละเมิดกฎหมายอาญาและกฎหมายต่อต้านการจารกรรมของสาธารณรัฐประชาชนจีน โฆษกกล่าวด้วยว่า จีนเป็นประเทศที่อยู่ภายใต้หลักนิติธรรม ชาวต่างชาติทุกคนที่อยู่ในจีนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายจีน ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย พลเมืองญี่ปุ่นในจีนมีคดีลักษณะนี้หลายครั้งในช่วงหลายปีมานี้ ญี่ปุ่นควรให้ความรู้และเตือนพลเมืองของตนเองให้ดีกว่านี้   ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นแถลงว่า สถานทูตญี่ปุ่นในกรุงปักกิ่งของจีนได้รับแจ้งในเดือนนี้ว่า มีชายชาวญี่ปุ่นวัย 50 ปีเศษ ถูกควบคุมตัวในกรุงปักกิ่ง รัฐบาลญี่ปุ่นขอให้จีนเร่งปล่อยตัวโดยทันที และกำลังหาทางติดต่อทางกงสุลกับชายผู้นี้ ขณะที่แอสเตลลาสฟาร์มา บริษัทยาของญี่ปุ่นยืนยันว่า ชายผู้นี้เป็นพนักงานของบริษัท สื่อญี่ปุ่นระบุว่า เขาทำงานอยู่ในจีนมานาน 2 ทศวรรษแล้ว สำนักข่าวเกียวโดนิวส์รายงานว่า เขาถูกควบคุมตัวขณะเตรียมตัวเดินทางกลับญี่ปุ่นในเดือนนี้ และเคยเป็นผู้บริหารอาวุโสของหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในจีน             —————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

ธ.เครดิตสวิสฟ้องคนปล่อยข้อมูลบัญชีฐาน ‘จารกรรม’ พร้อมเอาผิดสื่อ 39 ประเทศที่ร่วม ‘SuisseSecret’

Loading

ภาพปกโดย alex.ch   ธนาคารเครดิตสวิสเตรียมดำเนินคดีข้อหาจารกรรมข้อมูลทางเศรษฐกิจกับผู้ปล่อยข้อมูลบัญชีลูกค้าธนาคารกว่า 30,000 ชื่อ หลังจากรัฐสภาสวิสมีมติไม่ปฏิรูปกฎหมายการธนาคารที่ละเมิดเสรีภาพสื่อ และสื่อมวลชนจาก 39 ประเทศอาจโดนหางเลขจากการเปิดโปงข้อมูลธุรกรรมน่าสงสัยของบุคคลผู้ทรงอิทธิพลทั่วโลกในโครงการ SuisseSecrets   สำนักข่าวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์รายงานเมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาว่าธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse Bank) ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เตรียมฟ้องดำเนินคดีกับบุคคลผู้ให้ข้อมูลบัญชีลูกค้าของธนาคารกว่า 30,000 บัญชีที่นำไปสู่การเผยแพร่รายงานข่าว ‘สวิสซีเคร็ตส์’ (SuisseSecrets) หรือโครงการข่าวสืบสวนสอบสวนข้ามชาติเพื่อเปิดโปงข้อมูลการทำธุรกรรมที่น่าสงสัยในธนาคารเครดิตสวิส ซึ่งธุรกรรมเหล่านั้นอาจเชื่อมโยงกับการทำธุรกิจผิดกฎหมาย การทุจริต หรือการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีข้อมูลของนักธุรกิจและอดีตข้าราชการชาวไทยบางคนที่เคยมีประวัติทางการเงินหรืออาชญากรรมปรากฏร่วมอยู่ในรายงานดังกล่าว   โครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริต (Organized Crime and Corruption Reporting Project: OCCRP) ผู้เปิดเผยรายงานข่าวสืบสวนสอบสวนดังกล่าวร่วมกับสื่อจาก 39 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประชาไท เปิดเผยว่าอัยการสวิสเริ่มต้นการสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำความผิดฐานเผยแพร่ข้อมูลทางบัญชีของธนาคารเครดิตสวิส รวมถึงเตรียมฟ้องดำเนินคดีกับผู้สื่อข่าวและสำนักข่าวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล แม้ว่าข้อมูลบางส่วนจะสามารถบ่งชี้ได้ว่าบุคคลนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมหรือการกระทำความผิดด้านอื่นๆ เช่น การฟอกเงิน การหลบเลี่ยงภาษี หรือการนำเงินที่อาจเกี่ยวกับการกระทำความผิดไปฝากในดินแดนภาษีต่ำ (Tax Haven) ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและธุรกิจ เป็นต้น  …

อดีตรปภ.สถานทูตอังกฤษในเยอรมนีรับโทษคุก 13 ปี ฐานเป็นจารชนให้รัสเซีย

Loading

  ศาลของสหราชอาณาจักรตัดสิน ให้อดีตเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำสถานเอกอัครราชทูตในกรุงเบอร์ลิน รับโทษจำคุกนานประมาณ 13 ปี จากความผิดฐานจารกรรมข้อมูลลับให้รัสเซีย   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 17 ก.พ. ว่า ศาลกรุงลอนดอนมีคำพิพากษา เมื่อวันศุกร์ ให้นายเดวิด บัลแลนทีน สมิธ อดีตเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำกรุงเบอร์ลิน รับโทษจำคุกเป็นเวลา 13 ปี กับอีก 2 เดือน ฐานจารกรรมข้อมูลให้กับรัสเซีย   British embassy spy David Smith jailed for 13 years and two months for passing secret information to Russia https://t.co/eIRAEhunbC — BBC Breaking News (@BBCBreaking) February 17, 2023…

นานาชาติหวั่นถูกสอดแนม หลังจีนตั้งศูนย์อวกาศภาคพื้นดินในแอนตาร์กติกา

Loading

  จีน นอกจากจะเป็นประเทศที่ 3 ที่ส่งมนุษย์เยือนอวกาศหลังสหภาพโซเวียตและสหรัฐฯ เคยทำมาแล้วก่อนหน้า ล่าสุดแผ่นดินใหญ่ยังเล็งสร้างศูนย์อวกาศภาคพื้นดินในทวีปแอนตาร์กติกา เพื่อสนับสนุนเครือข่ายดาวเทียมสำรวจมหาสมุทร   เครือข่ายศูนย์อวกาศภาคพื้นดินของจีน จะจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับและสนับสนุนการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ขณะที่หลายประเทศเกิดความกังวลว่าจีนอาจใช้ศูนย์นี้เพื่อจารกรรมทางข้อมูล แม้ทางแผ่นดินใหญ่จะให้การปฏิเสธก็ตาม   ในปี 2020 ศูนย์อวกาศภาคพื้นดินจากสวีเดนที่ให้ช่วยส่งยานอวกาศแก่จีนได้ยุติการต่อสัญญาและทำธุรกิจร่วมกับแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์   ขณะที่ China Aerospace Science and Technology Group Co. เล็งสร้างสถานีวิจัย Zhongshan ซึ่งเป็นหนึ่งในสองสถานีวิจัยถาวรของจีนบนทวีปแอนตาร์กติกา หลังจากชนะการเสนอราคาที่ 43.95 ล้านหยวน หรือราว 6.53 ล้านดอลลาร์   แม้จะมีภาพศูนย์อวกาศภาคพื้นดินแห่งใหม่ของจีนที่ตั้งในทวีปแอนตาร์กติกาเผยแพร่ออกมา แต่สำหรับรายละเอียดทางเทคนิคของโครงการกลับยังไม่ปรากฎ   โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของไอเดียที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทางทะเลของจีนและช่วยให้จีนกลายเป็นชาติมหาอำนาจเหนือน่านน้ำ   ขณะเดียวกัน ศูนย์อวกาศภาคพื้นดินของจีนที่ตั้งขึ้นใน Patagonia ประเทศอาร์เจนติน่า สร้างความกังวลให้กับนานาชาติถึงจุดประสงค์ของการตั้งศูนย์นี้ว่าจะมีการแอบสอดแนมหรือไม่   แม้ว่าทางการจีนจะยืนยันและรับรองว่าเป้าหมายของการสร้างสถานีคือการเฝ้าสังเกตการณ์ทางอวกาศเท่านั้น       ————————————————————————————————————————- ที่มา : …

เอฟบีไอชี้เกาหลีเหนือ แฮ็กบล็อกเชน “ฮาร์โมนี” สูญ 3,000 ล้านบาท

Loading

    หน่วยงานสอบสวนของรัฐบาลวอชิงตัน กล่าวว่า กลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากเกาหลีเหนือ โจมตีบล็อกเชนของผู้พัฒนาในสหรัฐ เมื่อปีที่แล้ว สร้างความเสียหายมากกว่า 3,000 ล้านบาท   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 24 ม.ค. ว่า สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) ออกแถลงการณ์ว่า “ลาซารัส กรุ๊ป” และ “เอพีที38” ซึ่งเป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่มีความเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือ อยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อระบบ “ฮาร์โมนี ฮอไรซอนส์ บริดจ์” ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมบล็อกเชนของบริษัทฮาร์โมนี หนึ่งในผู้พัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนสกุลเงินดิจิทัลของสหรัฐ เมื่อเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว และสร้างความเสียหายมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,276.80 ล้านบาท)   Two hacker groups associated with North Korea, the Lazarus Group and APT38, were…

ผู้นำ‘รัสเซีย’จ่อถอนข้อตกลงกับ‘สภายุโรป’ หน่วยข่าวกรองเผยจับพลเมือง‘สหรัฐฯ’ข้อหา‘สายลับ’

Loading

  19 ม.ค. 2566 สำนักข่าว Anadolu Agency ของตุรกี เสนอข่าว Russia moves to terminate agreements with Council of Europe ระบุว่า วลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin) ประธานาธิบดีรัสเซีย เสนอให้ยุติข้อตกลงที่รัสเซียเคยทำกับสภาแห่งชาติยุโรป (CoE) สืบเนื่องจากเมื่อเดือน มี.ค. 2565 CoE ได้ขับไล่รัสเซียและระงับความสัมพันธ์กับเบลารุส จากเหตุการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน   ข้อเสนอของ ปูติน ถูกส่งต่อให้กับ วยาเชสลาฟ โวโลดิน (Vyacheslav Volodin) หัวหน้าสภาดูมา ซึ่งเป็นสภาล่าง (สภาผู้แทนราษฎร) ในระบบรัฐสภาของรัสเซีย เป็นร่างกฎหมายที่ระบุให้ยกเลิกข้อตกลง 21 ฉบับกับ CoE ซึ่งรวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน อนุสัญญายุโรปว่าด้วยการปราบปรามการก่อการร้าย กฎบัตรยุโรปว่าด้วยการปกครองตนเองในท้องถิ่น และกฎบัตรสังคมยุโรป นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 17…