“การลักพาตัวไซเบอร์” สแกมรูปแบบใหม่ ที่นักศึกษาจีนในหลายประเทศกำลังตกเป็นเหยื่อ

Loading

GETTY IMAGES   สถานทูตจีนในกรุงวอชิงตัน ออกประกาศเตือนพลเมืองชาวจีนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะนักศึกษา ว่าให้ระมัดระวัง “การลักพาตัวเสมือนจริง”   สถานทูตออกแถลงการณ์ดังกล่าวหลังจาก ไค จวง นักศึกษาชาวจีนวัย 17 ปี ที่ถูกรายงานว่าหายตัวไป ถูกพบอย่างปลอดภัยภายในแคมป์ชั่วคราวในเขตรกร้างห่างไกลผู้คนของรัฐยูทาห์ เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. ที่ผ่านมา   พ่อแม่ของไคบอกกับเจ้าหน้าที่โรงเรียนว่า พวกเขาได้รับข้อความพร้อมภาพถ่ายที่ระบุว่า ลูกชายถูกลักพาตัวพร้อมกับคำเรียกร้องเงินค่าไถ่   จากข้อมูลของตำรวจ ระบุว่า ผู้ตกเป็นเหยื่อของการลักพาตัวทางไซเบอร์ มักถูกโน้มน้าวให้แยกตัวออกมาอยู่ลำพัง พร้อมกับถ่ายภาพให้ดูเหมือนว่ากำลังถูกจับ ถึงแม้ว่าผู้ก่อการลักพาตัวจะไม่ได้อยู่ตรงนั้นด้วยก็ตาม โดยเหยื่อจะถูกติดตามผ่านเฟซไทม์หรือสไกป์แทน   ทั้งเหยื่อและครอบครัวต่างถูกทำให้เชื่อว่าอีกฝ่ายจะได้รับอันตราย หากพวกเขาไม่ยอมทำตาม   ครอบครัวของไคถูกหลอกให้จ่ายเงินค่าไถ่ประมาณ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.8 ล้านบาท เข้าบัญชีธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศจีน จากข้อมูลของตำรวจท้องถิ่น   การลักพาตัวเสมือน (virtual kidnapping) คืออะไร   RIVERDALE POLICE DEPARTMENT ไค…

บริษัทการเงินออสเตรเลียไม่จ่ายค่าไถ่ตามที่แฮ็กเกอร์ขู่

Loading

  ซิดนีย์ 11 เม.ย.- บริษัทการเงินในออสเตรเลียตัดสินใจไม่จ่ายค่าไถ่ให้แก่ผู้เจาะระบบคอมพิวเตอร์ หรือแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย   ละติจูด ไฟแนนเชียล (Latitude Financial) ซึ่งเป็นบริษัทปล่อยสินเชื่อและบัตรเครดิต เผยเมื่อเดือนมีนาคมว่า แฮ็กเกอร์ได้ขโมยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ประมาณ 14 ล้านราย และเมื่อไม่นานมานี้บริษัทได้รับคำขู่เรียกค่าไถ่จากกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีไซเบอร์ดังกล่าว แต่ไม่ให้ความสนใจตามที่รัฐบาลแนะนำ   บริษัทชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียในวันนี้ว่า จะไม่ให้รางวัลแก่พฤติกรรมของอาชญากร และไม่เชื่อว่าแฮ็กเกอร์จะคืนหรือทำลายข้อมูลที่ขโมยไปหากได้เงินค่าไถ่ การจ่ายค่าไถ่มีแต่จะส่งเสริมให้มีความพยายามขู่กรรโชกมากยิ่งขึ้น   ละติจูด ไฟแนนเชียลไม่ได้เปิดเผยข้อเรียกร้องของแฮ็กเกอร์ โดยเผยเพียงว่าข้อมูลที่ถูกขโมยประกอบด้วยใบขับขี่ของชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จำนวน 7 ล้าน 9 แสนราย หมายเลขหนังสือเดินทางจำนวน 53,000 เลขหมาย ข้อมูลย้อนไปถึงปี 2548 จำนวน 6 ล้าน 1 แสนรายซึ่งประกอบด้วยชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และวันเดือนปีเกิด   ด้านรัฐมนตรีมหาดไทยออสเตรเลียที่เคยประณามแฮ็กเกอร์ว่าเป็นอาชญากรชั้นต่ำกล่าวว่า การจ่ายค่าไถ่มีแต่จะส่งเสริมรูปแบบการทำธุรกิจด้วยการเรียกค่าไถ่ เพราะอาชญากรเหล่านี้มักกลับมาเรียกค่าไถ่เหยื่อซ้ำอีก ทั้งที่รับปากว่าจะยุติหลังจากได้เงินค่าไถ่แล้ว.       ————————————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา : …

ผลการศึกษาเผย ผู้บริหารด้านไซเบอร์ส่วนใหญ่ยอมจ่ายเงินค่าไถ่ให้แฮ็กเกอร์

Loading

  รายงานของ Rubrik Zero Labs ที่สอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ในระดับบริหารจำนวนทั้งสิ้น 1,600 คน พบว่าร้อยละ 76 ของกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่จะจ่ายเงินค่าไถ่หากถูกโจมตีด้วย   ในจำนวนนี้ ร้อยละ 92 ชี้ว่าที่ต้องจำใจจ่ายเงินก็เพราะไม่มั่นใจว่าหากไม่จ่ายแล้วจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ขณะที่ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าบอร์ดบริหารของบริษัทมีความมั่นใจน้อยมากหรือไม่มีความมั่นใจเลยว่าจะสามารถกู้คืนข้อมูลสำคัญของบริษัทหลังจากถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้   นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทุกคนเผยว่าบริษัทของตัวเองถูกโจมตีทางไซเบอร์ในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยแล้วถูกโจมตีมากถึง 47 ครั้งใน 12 เดือน ในจำนวนนี้มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่สามารถกลับไปดำเนินการธุรกิจตามปกติได้ภายใน 1 ชั่วโมงหลังตรวจพบการโจมตี ที่สำคัญคือมีเพียงร้อยละ 11 เท่านั้นที่ได้แก้ไขช่องโหว่ที่พบในระบบของบริษัทไปแล้ว   การโจมตีทางไซเบอร์ยังส่งผลสำคัญต่อสุขภาพจิตของบุคลากร ร้อยละ 96 ของผู้ตอบแบบสำรวจเผยว่าได้รับผลกระทบทางอารมณ์และจิตวิทยาจากการโจมตีทางไซเบอร์   เหตุผลส่วนใหญ่เกิดจากความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในหน้าที่การงาน ขณะที่อีกส่วนหนึ่งก็กลัวว่าจะสูญเสียความเชื่อมั่นจากเพื่อนร่วมงาน ซึ่งราวร้อยละ 30 เผยว่าการโจมตีทางไซเบอร์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับบริหารทันที     ที่มา TechRadar      …