ศาลอิหร่าน ตัดสินประหารชีวิตเป็นรายแรก ผู้เข้าร่วมประท้วงต้านรัฐ

Loading

  ศาลอิหร่าน ตัดสินประหารชีวิตเป็นรายแรก ผู้เข้าร่วมประท้วงต้านรัฐ   วันที่ 14 พ.ย. บีบีซี รายงานว่า สื่อทางการอิหร่านแจ้งข่าวว่า ศาลอิหร่าน พิพากษาประหารชีวิตผู้ถูกจับกุมฐานเข้าร่วมในการประท้วงที่ลุกลามไปทั่วประเทศ โดยศาลปฏิวัติในกรุงเตะหรานพบว่า จำเลยที่ไม่ได้รับการเปิดเผยชื่อ จุดไฟเผาที่ทำการรัฐบาล และมีความผิดเป็นปฏิบัติต่อพระเจ้า   The human rights activists news agency Hrana says more than 14,000 people have also been arrested in protests in 136 cities and towns, and 134 universities (AFP)   นอกจากนี้ ศาลอีกแห่งหนึ่งในอิหร่านพิพากษาจำคุก 5 คน ระหว่าง 5-10 ปี ในข้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติและความสงบเรียบร้อยต่อประชาชน  …

เฮติ ยังชุมนุมหลายเมืองทั่วประเทศ ม็อบปะทะตำรวจและปล้นสะดม

Loading

  เฮติ ยังชุมนุมหลายเมืองทั่วประเทศ ม็อบปะทะตำรวจและปล้นสะดม   วันที่ 11 ต.ค. บีบีซี รายงานว่า กลุ่มผู้ประท้วงปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในหลายเมืองของเฮติ ประเทศในแคริบเบียน เมื่อวันจันทร์ที่ 10 ต.ค. ตามเวลาท้องถิ่น มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย ขณะที่การประท้วงต่อต้านรัฐบาลบานปลายเป็นการปล้นสะดม เนื่องจากความรุนแรงของกลุ่มปล้นสะดมลุกลามเกินการควบคุม กระทบต่อการขนส่งเชื้อเพลิงและอาหาร   ผู้ประท้วงคนหนึ่งบอกเอเอฟพีว่า ผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นผู้หญิงที่ถูกกองกำลังความมั่นคงยิง “นี่เป็นอาชญากรรมที่ตำรวจก่อ เด็กสาวคนนี้ไม่ได้คุกคามแต่ถูกฆ่าตายเพราะแสดงความปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี” ขณะที่ตำรวจยังไม่ชี้แจงใด ๆ   ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของเฮติ กลุ่มผู้ประท้วงยกสิ่งกีดขวางที่ไฟลุกไหม้จากยางรถยนต์และขว้างก้อนหินใส่ตำรวจ ซึ่งตอบโต้ด้วยการยิงแก๊สน้ำตา และผู้ประท้วงบางคนไปปล้นสะดมโรงแรม นอกจากนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมบุกอาคารศาลในเมืองกอนาอีฟว์ ทางตะวันตกของเฮติ และมีการประท้วงในเมืองกาไปติซีย็อง ชายฝั่งทางเหนือของเฮติ   กลุ่มปล้นสะดมเข้าควบคุมทางหลวงสายสำคัญและคลังน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของเฮติ และเนื่องจากการขนส่งอาหารและเชื้อเพลิงชะงัก ทำให้ชาวเฮติเริ่มหิวโหยมากขึ้นเรื่อย ๆ โกดังหลายแห่งขององค์กรการกุศลและองค์กรช่วยเหลือถูกปล้น ส่งผลให้กลุ่มผู้เปราะบางส่วนใหญ่ไม่มีอาหารและน้ำดื่ม   สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ผู้ชุมนุมตามท้องถนนจำนวนมากในวันจันทร์ที่ 10 ต.ค.…

เปิดไทม์ไลน์ “ม็อบอิหร่าน” กับกระแสต่อต้านตำรวจทำร้ายผู้หญิงจนเสียชีวิต

Loading

  การประท้วงของ “ม็อบอิหร่าน” เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยชนวนเหตุเกิดจาก ตำรวจศีลธรรมจับกุมหญิงวัย 22 ปี และทำร้ายจนเสียชีวิต ทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากประชาชนอย่างหนัก   ย้อนไปเมื่อวันที่ 16 ก.ย. ท่ามกลางการชุมนุมประท้วงของ “ม็อบอิหร่าน” ที่รวมตัวกันเพื่อขับไล่ผู้นำสูงสุด ตำรวจศีลธรรมของอิหร่านได้จับกุมและทำร้ายหญิงสาวอายุ 22 ปี ชาวอิหร่านชื่อว่า “มาห์ซา อามินี” ในข้อหาแต่งกายไม่สุภาพ เนื่องจากเธอคลุมฮิญาบไม่เรียบร้อย โดยปล่อยให้มีปอยผมด้านหน้าตกลงมาบริเวณหน้าผาก ซึ่งถือว่าผิดระเบียบข้อบังคับในการสวมฮิญาบ หรือผ้าคลุมศีรษะในที่สาธารณะ ทำให้ชาวอิหร่านส่วนใหญ่มองว่าการกระทำของตำรวจในครั้งนี้เกิดกว่าเหตุ   หลังจากนั้นในวันที่ 16 ก.ย. อามินี ซึ่งอยู่ในอาการโคม่าที่โรงพยาบาลก็ได้เสียชีวิตลงจากอาการสมองตาย โดยตามร่างกายของเธอมีบาดแผลฟกช้ำที่เกิดจากการถูกทำร้าย แต่ตำรวจอ้างว่าเธอเสียชีวิตเพราะมีอาการป่วยระหว่างการจับกุมตัวร่วมกับผู้หญิงคนอื่น และไม่ได้ทุบตีเธอตามที่หลายฝ่ายอ้าง แม้ครอบครัวของเธอจะยืนยันว่าเธอไม่เคยมีปัญหาสุขภาพก็ตาม   เมื่อข่าวแพร่ออกไปทำให้ผู้ชุมนุมเกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก แม้แต่ชาวอิหร่านที่เป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมและสนับสนุนการสวมฮิญาบยังมองว่าตำรวจทำเกินกว่าเหตุ การเสียชีวิตของอามินีจึงกลายเป็นชนวนที่เพิ่มความรุนแรงให้กับการชุมนุมประท้วงของ “ม็อบอิหร่าน” เป็นเท่าทวีคูณ   เกิดอะไรขึ้นที่อิหร่าน   การประท้วงของชาวอิหร่านหรือ “ม็อบอิหร่าน” เริ่มต้นเมื่อประมาณวันที่ 10 ก.ย. ที่ผ่านมาโดยม็อบต้องการขับไล่ผู้นำสูงสุด “อายะตุลลอฮ์…

บานปลายหนัก! ประท้วงอิหร่านลุกลาม หลังหญิงสาวไม่สวม ‘ฮิญาบ’ ตายหลังถูกจับ

Loading

  กรุงเตหะราน และอีกหลายเมืองของอิหร่านเผชิญกับการประท้วงซึ่งทวีความรุนแรงตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว หลังหญิงสาวคนหนึ่งเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วัน หลังถูก “ตำรวจศีลธรรม” จับกุมฐานไม่สวมฮิญาบ   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ว่า กระทรวงการคลังของสหรัฐออกแถลงการณ์ ขึ้นบัญชีดำสำนักงานตำรวจศีลธรรมอิหร่าน เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ “ต้องรับผิดชอบโดยตรง” ต่อการเสียชีวิตของ น.ส.มาห์ซา อมินี หญิงสาวชาวอิหร่าน วัย 22 ปี ซึ่งถูกตำรวจศีลธรรมจับกุม ในกรุงเตหะราน เมื่อวันที่ 13 ก.ย. ที่ผ่านมา ฐานไม่สวมฮิญาบคุลมศีรษะ และแต่งกาย “ไม่สุภาพ”   ?? Protesters in #Tehran and other Iranian cities torched police stations and vehicles on Thursday as unrest intensified for the…

ผู้นำคาซัคสถานสั่งเจ้าหน้าที่ ยิงผู้ชุมนุมได้ทันทีไม่ต้องเตือน อ้างเพื่อต่อต้านก่อการร้าย

Loading

  ประธานาธิบดีคาซัคสถานสั่งเจ้าหน้าที่ยิงผู้ชุมนุมได้ทันที ไม่ต้องแจ้งเตือนล่วงหน้า อ้างผู้ประท้วงเป็นพวกก่อการร้ายที่วางแผนมาอย่างดี หวังทำลายเอกภาพคาซัคสถาน   วันที่ 7 ม.ค. 2565 เว็บไซต์ CNN รายงานว่า นายคาสซิม โจมาร์ท โตกาเยฟ ประธานาธิบดีคาซัคสถาน ออกคำสั่งให้กองกำลังความมั่นคงสามารถยิงผู้ชุมนุมที่ออกมาประท้วงบนท้องถนนได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องประกาศเตือนล่วงหน้า โดยอ้างว่าเพื่อหยุดยั้งความรุนแรงโดยกลุ่มก่อการร้ายที่ผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ที่หวังทำลายความเป็นเอกภาพของคาซัคสถาน   การชุมนุมประท้วงรัฐบาลคาซัคสถานเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยในตอนแรกผู้ชุมนุมออกมาแสดงพลังไม่พอใจการขึ้นราคาพลังงาน ก่อนที่เป้าหมายการชุมนุมจะขยายวงกว้างขึ้นเป็นการต่อต้านรัฐบาลที่มีปัญหาทุจริต รวมถึงปัญหาสังคมอื่นๆ เช่นความยากจนและการว่างงาน ทั้งๆ ที่คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมหาศาล   รายงานระบุว่า การประท้วงเริ่มลุกลามเป็นการจลาจลในหลายพื้นที่ ผู้ชุมนุมบางส่วนบุกเข้าไปยังสนามบิน ที่ทำการรัฐบาล ทำให้ทางการสลายการชุมนุมอย่างรุนแรง   ก่อนหน้านี้กระทรวงมหาดไทยคาซัคสถานระบุว่า ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทำให้มีผู้ก่อเหตุติดอาวุธ 26 คนเสียชีวิต ขณะที่จำนวนผู้ถูกจับกุมตั้งแต่เริ่มมีการประท้วงทะลุ 3,000 คน โดยฝั่งตำรวจและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงเสียชีวิต 18 คนจากความไม่สงบดังกล่าว   ขณะเดียวกันทางการคาซัคสถานได้ร้องขอไปยังองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (CSTO) ซึ่งเป็นกองกำลังพันธมิตรของอดีตโซเวียตที่นำโดยรัสเซีย ให้เข้ามาช่วยแก้สถานการณ์ โดยกระทรวงกลาโหมรัสเซียเพิ่งเผยแพร่ภาพการลำเลียงกำลังพลเข้าไปยังคาซัคสถานแล้ว   เมื่อวันที่ 5…

ตำรวจตรึงกำลังรอบรัฐสภาสหรัฐ หลังม็อบหนุน “ทรัมป์” ชุมนุมประท้วงเหตุจลาจล 6 ม.ค.

Loading

  สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กลุ่มผู้ประท้วงราว 100-200 คนรวมตัวกันบริเวณอาคารรัฐสภาของสหรัฐเมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตรึงกำลังอย่างแน่นหนา โดยมีสื่อมวลชนเฝ้าสังเกตการณ์อยู่โดยรอบ รายงานข่าวระบุว่า กลุ่มผู้ที่ออกมาชุมนุมในครั้งนี้เป็นกลุ่มขวาจัดที่ต้องการสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงซึ่งบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขัดขวางกระบวนการประกาศชัยชนะของนายโจ ไบเดนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2563 ทั้งนี้ ผู้ที่มาร่วมชุมนุมนั้นมีจำนวนน้อยกว่าที่ผู้จัดงานคาดการณ์ไว้ว่าน่าจะมีราว 700 คน การออกมาชุมนุมในครั้งนี้ซึ่งใช้ชื่อว่า “Justice for J6” เป็นความพยายามของฝ่ายขวาจัดที่สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยผู้ปราศรัยได้ยืนยันว่า ผู้ที่ถูกควบคุมตัวเนื่องจากเหตุจลาจลเมื่อวันที่ 6 ม.ค.นั้นเป็น “นักโทษทางการเมือง” ซึ่งไม่ได้ก่อความรุนแรง “ประเด็นนี้เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมและการเลือกปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมาย” นายแมตต์ เบรย์นาร์ด แกนนำการชุมนุมและผู้สนับสนุนคำกล่าวอ้างซึ่งระบุว่า การที่อดีตปธน.ทรัมป์พ่ายแพ้เลือกตั้งนั้นเพราะมีการโกงเกิดขึ้น ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายร้อยนายได้ตรึงกำลังรอบอาคารรัฐสภา และนำรั้วสูง 2.44 เมตรมาติดตั้งรอบอาคารอีกครั้ง เนื่องจากไม่น่าไว้วางใจในสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่การเกิดเหตุซ้ำรอยเมื่อวันที่ 6 ม.ค. ขณะที่ตำรวจประจำอาคารรัฐสภาระบุว่า ได้จับกุมบุคคล 4 ราย โดยหนึ่งในนั้นมีชายคนหนึ่งที่พกปืนปะปนเข้ามาในฝูงชน อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดชายคนดังกล่าวจึงเข้ามายังที่ชุมนุม นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังได้แยกชายคนหนึ่งซึ่งพกมีดขนาดใหญ่เหน็บไว้ที่เอวออกมาจากกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย   —————————————————————————————————————————————– ที่มา :…