‘ดีอี’ โชว์ผลงาน ‘ปราบโจรออนไลน์’ ใน 30 วัน ตามข้อสั่งการนายกฯ
‘กระทรวงดีอี’ เปิดผลงานชิ้นโบแดง ‘ปราบโจรออนไลน์’ ใน 30 วัน ตามข้อสั่งการนายกฯ ขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ‘ประเสริฐ’ รับปาก แม้ตัวเลขความเสียหายลดลง แต่ยังลุยแก้ไขปัญหานี้ถึงที่สุด
‘กระทรวงดีอี’ เปิดผลงานชิ้นโบแดง ‘ปราบโจรออนไลน์’ ใน 30 วัน ตามข้อสั่งการนายกฯ ขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ‘ประเสริฐ’ รับปาก แม้ตัวเลขความเสียหายลดลง แต่ยังลุยแก้ไขปัญหานี้ถึงที่สุด
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ทางเทคโนโลยี และผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) มาหารือร่วมกันเป็นครั้งที่ 2 ในเดือนเมษายนนี้
ตร.ไซเบอร์ – กสทช.ตรวจสอบเสาเถื่อนลอบปล่อยสัญญาณให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชายแดน พบลักลอบตั้ง 4 สถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 23 สถานีฯ ที่ได้รับอนุญาต แต่มีสายอากาศหันไปทางประเทศเพื่อนบ้าน สั่งถอนการติดตั้งบางจุด ไม่ให้แพร่สัญญาณออกนอกไทย วันที่ 16 ส.ค.2566 พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ร่วมกับ พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช. ด้านกฎหมายและประธานอนุกรรมการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายความผิดทางเทคโนโลยีฯ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. นำกำลังลงพื้นที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เพื่อตรวจสอบสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาต และสถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาตแต่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข เช่น หันตัวส่งสัญญาณไปยังประเทศเพื่อนบ้าน รวมจำนวน 27 สถานี พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ฯ กล่าวว่า การหลอกลวงและกระทำผิดทางเทคโนโลยีที่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน และมีมูลค่าความเสียหายที่สูงมาก ถือเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนที่ต้องปราบปรามอย่างจริงจัง จากแนวทางการสืบสวนพบว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่ อยู่บริเวณแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ได้อาศัยสัญญาณโทรศัพท์และสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากประเทศไทยในการกระทำผิด ทั้งนี้…
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่ 3 เรื่องต้องรู้ … เมื่อ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้ หากถูกหลอกหรือตกเป็นเหยื่อ ต้องทำตัวอย่างไร โทษของการเปิดบัญชีม้าและซิมม้า รวมถึงโฆษณา จะเป็นอย่างไรบ้าง —————————————————————————————————————————————— ที่มา : สยามรัฐออนไลน์ /…
ประกาศแล้ว พ.ร.ก.ป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์ เปิดทางหน่วยงานรัฐ-ธนาคารแลกเปลี่ยนข้อมูล สกัดยับยั้งมิจฉาชีพ “บัญชีม้า-ซิมม้า” มีโทษจำคุกปรับอ่วม วันที่ 16 มีนาคม 2566 พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ได้ลงประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป โดยเป็นมาตรการที่ออกมาปราบปรามและป้องกันภัยไซเบอร์ที่นับวันยิ่งรุนแรงมากขึ้น มิจฉาชีพเกิดการหลอกลวงจนสูญเสียทรัพย์สิน โดยมีใจความสำคัญ เช่น มาตรา 4 ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่เกี่ยวข้องระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจผ่านระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบร่วมกัน มาตรา 6 ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจพบเหตุอันควรสงสัยเองหรือได้รับข้อมูลจากระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 ว่าบัญชีเงินฝากหรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ใดถูกใช้หรืออาจถูกใช้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ระงับการทำธุรกรรมและแจ้งสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจที่รับโอนถัดไป พร้อมทั้งนำข้อมูลเข้าสู่ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจผู้รับโอนทุกทอดทราบและระงับการทำธุรกรรมดังกล่าวไว้ทันทีเป็นการชั่วคราว ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่พบเหตุอันควรสงสัยหรือได้รับแจ้ง แล้วแต่กรณี เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแท้จริง และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกำเนินคดีอาญา หรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการตรวจสอบ ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจได้รับแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่งจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจดำเนินคดีอาญา หรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ระงับการทำธุรกรรม…
ร่าง พรก.ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รับจ้างเปิดบัญชีม้า แบงก์ต้องระงับธุรกรรมทันทีรับจ้างเปิดบัญชีม้า ติดคุก 3 ปี โดยนางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาว่า ตามที่ ครม.มีมติเมื่อ 24 มกราคม 2566 อนุมัติหลักการร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. …. และให้ส่งร่างพระราชกำหนดดังกล่าวให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา เพื่อใช้มาตรการทางกฎหมายควบคุมเป็นการเฉพาะเพื่อคุ้มครองประชาชนจากมิจฉาชีพที่หลอกลวงประชาชนโอนเงินผ่านการติดต่อทางโทรศัพท์หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะการหลอกลวงประชาชนให้โอนเงินไปยังบัญชีผู้อื่นที่อยู่ในขบวนการหรือที่เรียกว่า บัญชีม้า ซึ่งปัจจุบันมีคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอยู่ในระบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติกว่า 2 แสนคดี คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจร่างพระราชกำหนดเรียบร้อยแล้ว และนำเสนอ ครม. พิจารณา ซึ่ง ครม. มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. …. ร่างพระราชกำหนดฉบับนี้ มีทั้งหมด 14 มาตรา ซึ่งสาระสำคัญยังคงเดิม โดยมีกลไกหลักสำคัญในการอายัดบัญชีและธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือบัญชีม้า คือ …
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว