ควอนตัมคอมพิวเตอร์: พัฒนาการและผลกระทบ

Loading

  ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ควอนตัมคอมพิวเตอร์ (Quantum Computer) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเป็นเทคโนโลยีนำการขับเคลื่อนโลกเศรษฐกิจและธุรกิจเข้าสู่ยุคใหม่อีกครั้ง   ควอนตัมคอมพิวเตอร์ มีความสามารถที่ไม่เคยมีมาก่อนในการประมวลผลการคำนวณที่ซับซ้อนด้วยความเร็วที่สูงมาก ในขณะที่ปัญญาประดิษฐ์ได้พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองจนกำลังปฏิวัติอุตสาหกรรมและโลกของการทำงาน   โดยพื้นฐานแล้ว เอไอเป็นพัฒนาการของโปรแกรม “ซอฟต์แวร์” ในขณะที่ควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นพัฒนาการ “ฮาร์ดแวร์” เมื่อมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของทั้งเอไอและควอนตัมคอมพิวเตอร์ จึงจะเกิดการปฏิวัติทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ จึงจะส่งผลกระทบต่อยุคอนาคตเป็นอย่างมาก   ควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงมาก เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเฉพาะของฟิสิกส์ควอนตัมเพื่อประมวลผลข้อมูลในรูปแบบที่เหนือกว่าความสามารถของคอมพิวเตอร์คลาสสิกที่ก้าวหน้าที่สุด ในการคำนวณแบบดั้งเดิม ข้อมูลจะถูกประมวลผลในรูปแบบไบนารี คือ บิตของ 0 หรือ 1   อย่างไรก็ตาม การคำนวณแบบควอนตัม ควอนตัมบิต (qubits) สามารถมีอยู่ในสถานะ 0, 1 หรือทั้งสองอย่างพร้อมกันได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เรียกว่า “superposition”   โดยควอนตัมคอมพิวเตอร์ขนาด 2 คิวบิตสามารถประมวลผลได้ 4 สถานะพร้อมกัน ควอนตัมคอมพิวเตอร์ขนาด 3 คิวบิตสามารถประมวลผลได้ 8 สถานะพร้อมกัน    …

เบื้องหลัง Super Computer รุ่นแรก ไทยใช้แก้ปัญหาน้ำท่วม – ภัยแล้ง

Loading

  26 ปีก่อน ประเทศไทยได้ใช้งานคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือ Super Computer รุ่นแรก ๆ ภายใต้หน่วยงานวิจัยระดับประเทศอย่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โดยการนำของ ดร.รอยล จิตรดอน นักซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นแรกของประเทศไทย ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดหน่วยปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงขึ้น เพื่อรวมกลุ่มและสนับสนุนคนใช้งานด้าน “วิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์” ในขณะที่หลายหน่วยงานมุ่งเน้นไปที่การสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งาน   โจทย์แรกที่ศูนย์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงรับมาทำ คือการใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ จัดการกับข้อมูลน้ำขนาดใหญ่ของประเทศ โดยร่วมกับศิษย์เก่าของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเมสซาชูเสต (MIT) ที่มีส่วนสร้างอินเทอร์เน็ตขึ้นมาในยุคเริ่มต้น หลังจากที่ได้พูดคุยกับกลุ่มผู้ใช้ ทำให้รู้ว่าประเทศไทยจะต้องมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบไหน จึงจะเหมาะกับการใช้งาน         Super Computer รุ่นแรก   : จุดเริ่มต้นของทฤษฏีใหม่   ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในปี 2538 และปัญหาน้ำแล้งปี 2539 ทำให้ประเทศไทย โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงริเริ่มมองหาคำตอบใหม่ ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่การแก้ไขในเชิงโครงสร้าง แต่เป็นการบริหารจัดการที่มากกว่า จนได้ข้อสรุปว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมี tools ทางด้านไอทีที่รองรับการทำงานร่วมกับแบบกระจายศูนย์ (Distributed…

ฟูจิตสึ ใช้ เอไอ/ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ พยากรณ์สึนามิ แบบเรียลไทม์

Loading

โตเกียว เซนได และคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านภัยพิบัติระหว่างประเทศ (IRIDeS) ที่มหาวิทยาลัยโทโฮคุ สถาบันวิจัยแผ่นดินไหวที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ฟูจิตสึ และเมืองคาวาซากิ ร่วมมือจัดทำการทดลองภาคสนามของการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ทำงานบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ฟูกากุ (Fugaku) ของฟูจิตสึ เพื่อการพยากรณ์สึนามิแบบเรียลไทม์ที่มีความละเอียดสูง สนับสนุนการอพยพสึนามิอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพระหว่างการฝึกซ้อมป้องกันภัยพิบัติในเมืองคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างการทดลองภาคสนาม ผู้เข้าร่วมจากชุมชนโดยรอบจะได้รับแจ้งเกี่ยวกับเวลาที่มาถึง รวมถึงความสูงของคลื่นสึนามิที่คาดการณ์ไว้ผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนที่พัฒนาโดยฟูจิตสึ การฝึกนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้อยู่อาศัย และหลีกเลี่ยงกรณีที่ผู้คนถูกทิ้งไว้เบื้องหลังระหว่างการอพยพ โครงการนี้แสดงถึงก้าวล่าสุดในการริเริ่มอย่างต่อเนื่อง ตามกรอบข้อตกลงที่ลงนามระหว่างเมืองคาวาซากิ และฟูจิตสึในปี 2557 ส่งเสริมการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน เพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมวิจัย และพัฒนา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการร่วมมุ่งหวังลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสึนามิโดยใช้ไอซีทีในพื้นที่ชายฝั่งคาวาซากิ” ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้เข้าร่วมการทดลองภาคสนามผ่านแอพพ์ ทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการใช้วิธีการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในทางปฏิบัติที่ใช้ประโยชน์จากความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ (AI) การประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) และเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับการพยากรณ์อุทกภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วมีส่วนสนับสนุนให้เกิดสังคมที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น     การทดลองภาคสนามเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการอพยพโดยใช้ข้อมูลพยากรณ์อุทกภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิด้วย AI โดยข้อมูลนี้จะถูกส่งไปยังแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาโดยฟูจิตสึ ซึ่งผู้อยู่อาศัย และผู้จัดงานจะอ้างอิงตามเวลาจริงในระหว่างการจำลองการอพยพ การทดลองภาคสนามจะดำเนินการภายใต้การดูแล และคำแนะนำของ…