วิเคราะห์ความปลอดภัยสำหรับฮิโรชิมาเมืองเจ้าภาพจัดประชุม G7

Loading

    เมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางมาของผู้นำและบุคคลสำคัญระดับโลกในการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 ชาติหรือ G7 ในเดือนพฤษภาคม ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้มาเยือนรวมถึงผู้คนในท้องถิ่น อาริมะ มาโมรุจาก NHK World พร้อมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความเสี่ยงได้ไปสำรวจดูว่า มีมาตรการด้านความปลอดภัยอะไรบ้าง   อิตาบาชิ อิซาโอะ หัวหน้านักวิเคราะห์จากสภานโยบายสาธารณะแห่งประเทศญี่ปุ่น ศึกษาการต่อต้านการก่อการร้ายและการจัดการวิกฤต เขาให้คำแนะนำแก่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและองค์กรเอกชน และเคยมีส่วนร่วมในงานขนาดใหญ่ รวมถึงการประชุมสุดยอดกลุ่ม G7 ที่อิเสะ-ชิมะเมื่อปี 2559 และโตเกียวโอลิมปิก   การประชุมสุดยอดกลุ่ม G7 ปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 19-21 พฤษภาคมที่โรงแรม Grand Prince ฮิโรชิมาซึ่งเป็นจุดเริ่มของการสำรวจ   สถานที่ประชุมตั้งอยู่บนเกาะ เช่นเดียวกับการประชุมสุดยอดที่อิเสะ-ชิมะ อิตาบาชิกล่าวว่า นั่นเป็นข้อได้เปรียบด้านความปลอดภัย เนื่องจากการเป็นเกาะทำให้มีทางเข้าจำกัด   ลาดตระเวนริมทะเล   อิตาบาชิกล่าวว่า การรักษาความปลอดภัยทางทะเลมีความสำคัญมากกว่าตอนที่จัดที่อิเสะ-ชิมะ เนื่องจากสถานที่ประชุมอยู่ใกล้ทะเลเปิดมากกว่า   อิตาบาชิอธิบายว่า “หน่วยตำรวจน้ำจะใช้เจ็ตสกีลาดตระเวนในพื้นที่ประชิดกับที่ประชุม และหน่วยยามฝั่งของญี่ปุ่นจะป้องกันพื้นที่รอบนอก”   พื้นที่ที่เป็นภูเขา   ภูมิประเทศของอูจินาจิมะซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งของสถานที่ประชุมยังได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ…

ญี่ปุ่นยกระดับความปลอดภัยประชุมผู้นำ G7 หลังเหตุโจมตีนายกฯ เดือนที่แล้ว

Loading

  ญี่ปุ่นยกระดับคุมเข้มมาตรการรักษาความปลอดภัย สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำ G7 ครั้งที่ 49 ที่เมืองฮิโรชิมา ระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคมนี้   โดยการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวดดังกล่าวถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลญี่ปุ่น หลังจากที่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาเกิดเหตุลอบทำร้ายนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ด้วยระเบิดควัน และก่อนหน้านั้นในปี 2022 เกิดกรณีคนร้ายลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ   เบื้องต้นมีรายงานว่าทางการญี่ปุ่นได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 24,000 นายจากทั่วประเทศ เพื่อดูแลความปลอดภัยรอบสถานที่จัดประชุม และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ภายในเมือง ขณะที่มีการลาดตระเวนตรวจสอบความเรียบร้อยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งติดป้ายแจ้งประชาชนและนักท่องเที่ยวถึงมาตรการต่าง ๆ เช่น การปิดถนน ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายและยากลำบากแก่ประชาชน   นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้ขยายมาตรการความปลอดภัยไปยังเมืองใหญ่อื่น ๆ รวมถึงกรุงโตเกียว ในช่วงการประชุม โดยมีการส่งข้อความบนระบบรถไฟ แจ้งเตือนประชาชนถึงการปรับเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดยิ่งขึ้น และยกเลิกให้บริการตู้ล็อกเกอร์หยอดเหรียญในสถานีรถไฟต่างๆ ตลอดจนระงับใช้งานเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติที่ตั้งอยู่บนชานชาลารถไฟใต้ดิน         ภาพ: Philip Fong / AFP   อ้างอิง: https://www.channelnewsasia.com/asia/japan-ramps-g7-security-fumio-kishida-attack-hiroshima-3494321…

ไม่เอาฐานทัพฯ​ หญิงโอกินาวา​ขว้างท่อเหล็กหน้ากงสุลอเมริกา

Loading

  เกียวโด​นิวส์​รายงาน​ ​(16​ พ.ค.)​ หญิงวัย 44 ปี คนหนึ่งถูกจับกุมเมื่อวันจันทร์ หลังจากเข้าไปที่สถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ​ ในโอกินาวา และพูดว่าท่อโลหะที่เธอถือมีดินปืน ทำให้ตำรวจต้องจำกัดการจราจรในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการชั่วคราว   ตำรวจกล่าวว่า พวกเขาได้จับกุมอาคิโนะ มิยางิ ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านฮิกาชิ ในจังหวัดโอกินาวา เนื่องจากขัดขวางการปฏิบัติงานโดยขู่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เฝ้าอยู่หน้าสถานกงสุลว่าเธอจะขว้างท่อโลหะนั้น แต่เธอปฏิเสธข้อกล่าวหา   ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวในเมืองอูระโซ​เอะ เมืองที่อยู่ติดกับเมืองหลวงนาฮา จังหวัดโอกินาวา   ในถ้อยแถลง สถานกงสุลขอบคุณตำรวจท้องที่สำหรับการตอบสนองสถานการณ์​อย่างรวดเร็ว​   ก่อนหน้านี้​ มิยางิเคยมีส่วนร่วมในการประท้วงเรียกร้องให้กำจัดสิ่งปฏิกูลที่กองทัพสหรัฐฯ ทิ้งไว้เมื่อส่งคืนพื้นที่ฝึกทางตอนเหนือบางส่วนให้ญี่ปุ่น   รายงานข่าวกล่าว​ว่า​ ปีนี้​ครบรอบ 51 ปีนับตั้งแต่โอกินาวา​ คืนจากการปกครองของสหรัฐฯ ขณะที่ความคับข้องใจของประชาชนยังคงดำเนินต่อไปเกี่ยวกับการตั้งฐานทัพสหรัฐฯ จำนวนมากในประเทศ             —————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

จับตา ‘ไบเดน’ เยือน 3 ประเทศในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกสัปดาห์นี้

Loading

  ประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีวาระสำคัญที่ต้องบรรลุในภารกิจ 8 วันในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ตั้งแต่การกระชับสัมพันธ์กับพันธมิตรอันยาวนานของสหรัฐฯ การสร้างประวัติศาสตร์ในฐานะประธานาธิบดีอเมริกันคนแรกที่เยือนปาปัวนิวกินีในช่วงที่ดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศ และการตอกย้ำความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ในแปซิฟิก   ไบเดนจะเยือนที่ไหนบ้าง?   จุดหมายปลายทางแรก ประธานาธิบดีไบเดน จะเยือนฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี 7 โดยนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น ในฐานะประเทศเจ้าภาพ เลือกฮิโรชิมาบ้านเกิดของเขาเป็นสถานที่จัดการประชุมครั้งนี้ ซึ่งเป็นพิกัดในประวัติศาสตร์ยุคสงคราม ที่สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ใส่เมืองดังกล่าว เมื่อปี 1945   แม้สงครามจะสิ้นสุดไปหลายทศวรรษแล้ว แต่ความสำคัญของฮิโรชิมายังหยั่งรากลึกมาจนถึงปัจจุบัน ภายใต้สถานการณ์ที่รัสเซียได้ข่มขู่มาตลอดว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธี (tactical nuclear weapons) ส่วนบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างเกาหลีเหนือก็เดินหน้าทดสอบนิวเคลียร์วิถีโค้ง และฝั่งอิหร่านเดินหน้าโครงการอาวุธนิวเคลียร์อย่างต่อเนื่อง   จากญี่ปุ่น ปธน.ไบเดน จะสร้างประวัติศาสตร์ในการเยือนปาปัวนิวกินี เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ เกี่ยวกับการขยายอิทธิพลด้านการทหารและด้านเศรษฐกิจของจีนในภูมิภาค   ก่อนจะจบทริปด้วยการเยือนออสเตรเลีย เพื่อเข้าร่วมประชุมสุดยอดจตุภาคี หรือ Quad ร่วมกับนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียแอนโธนี อัลบาเนซี (Anthony Albanese) นายกรัฐมนตรีอินเดียนเรนทรา…

ชาวเมืองฮิโรชิมาประท้วงต่อต้านการประชุมสุดยอด G7 เชื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

Loading

    ชาวญี่ปุ่นหลายร้อยคนเดินขบวนตามท้องถนนในเมืองฮิโรชิมาเมื่อวันเสาร์ (13 พ.ค.) เพื่อต่อต้านการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G7 ที่กำลังจะเกิดขึ้นปลายสัปดาห์นี้   ชาวเมืองฮิโรชิมาราว 200 คนได้เดินขบวนถือป้ายที่มีข้อความว่า “ไม่เอา G7” และ “ไม่เอาสงคราม” ในระหว่างที่นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบสถานที่จัดการประชุมครั้งสำคัญนี้   นายชิเงโอะ คิโมโตะ ผู้อำนวยการกลุ่มพีซ ดีโป (Peace Depot) กล่าวว่า การร่วมซ้อมรบของประเทศสมาชิก G7 ในภูมิภาคแปซิฟิก และการที่ญี่ปุ่นกล่าวว่า “สถานการณ์ฉุกเฉินของไต้หวันก็คือสถานการณ์ฉุกเฉินของญี่ปุ่น” นั้น “ไร้เหตุผลและอันตรายมาก”   นายโทชิยูกิ ทานากะ นักประวัติศาสตร์และศาสตราจารย์กิตติคุณจากมหาวิทยาลัยเมืองฮิโรชิมา กล่าวว่า “ญี่ปุ่นกำลังใช้เมืองฮิโรชิมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองด้วยการจัดการประชุมสุดยอด G7 ถึงเวลาที่ชาวเมืองฮิโรชิมาต้องตื่นรู้ได้แล้ว   สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การประท้วงจัดขึ้นโดยคณะกรรมการบริหารของกลุ่มพลเมืองผู้กังขาการประชุมสุดยอด G7 ที่ฮิโรชิมา (Citizen’s Group Questioning the G7 Summit in Hiroshima)…

ญี่ปุ่นคุมเข้มความปลอดภัยประชุมสุดยอดจี 7 ที่ฮิโรชิมะ

Loading

  โตเกียว 1 พ.ค.- ญี่ปุ่นเข้มงวดมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือจี 7 (G7) ที่เมืองฮิโรชิมะระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคมนี้ หลังจากเกิดเหตุปองร้ายอดีตนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีในเวลาห่างกันไม่ถึง 1 ปี   รัฐบาลญี่ปุ่นเผยว่า กำลังพิจารณาเรื่องนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น โดรนติดกล้องและปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) เพื่อให้สามารถตรวจจับพฤติกรรมต้องสงสัยได้อย่างรวดเร็ว การประชุมสุดยอดจี 7 จะจัดขึ้นที่โรงแรมบนเกาะอูจินะ ห่างจากใจกลางเมืองฮิโรชิมะประมาณ 6 กิโลเมตร และมีทางเข้าออกทางเดียวผ่านสะพานที่เชื่อมกับแผ่นดินใหญ่ ตำรวจจะขอตรวจตรายวดยานที่ผ่านเข้าออกเกาะ และประสานกับหน่วยยามฝั่งตรวจสอบเรือและโดรนที่เข้ามาใกล้สถานที่จัดการประชุม นอกจากนี้ยังจะเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในช่วงที่ผู้นำอาจจะเดินทางไปยังอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ แม้ว่าผู้นำแต่ละคนจะมีทีมรักษาความปลอดภัยประจำตัวอยู่แล้วก็ตาม     ขณะเดียวกันตำรวจในกรุงโตเกียวกำลังเพิ่มการตรวจตราเช่นกัน เนื่องจากเคยเกิดเหตุก่อการร้ายในกรุงลอนดอนของอังกฤษเมื่อปี 2548 ในขณะที่สกอตแลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสหราชอาณาจักรกำลังเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 8 (G8) ซึ่งเป็นจี 7 ที่รวมรัสเซีย   ผลสำรวจความเห็นชาวญี่ปุ่นเมื่อเดือนตุลาคม 2565 พบว่า ผู้ตอบเกือบร้อยละ 70 รู้สึกว่าญี่ปุ่นมีความปลอดภัยลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา…