ญี่ปุ่นหวังแบ่งปันข่าวกรองทางทหารกับเกาหลีใต้อีกครั้ง

Loading

  รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่นแสดงความหวังที่จะแบ่งปันข่าวกรองทางทหารอย่างราบรื่นกับเกาหลีใต้อีกครั้ง หลังจากที่รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ข้อตกลงที่เกือบถึงขั้นยุติภายใต้รัฐบาลชุดที่แล้วควรนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง นายโนบุโอะ คิชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่นกล่าวว่า “ผมหวังว่าจะมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างทั้งสองฝ่ายเพื่อปฏิบัติการทางทหารที่ราบรื่นยิ่งขึ้น” สำหรับข้อตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองด้านการทหาร หรือ GSOMIA สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากนายปาร์ค จิน รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ กล่าว ณ กรุงวอชิงตัน ว่า “เราต้องการให้ GSOMIA กลับมาใช้ใหม่โดยเร็วที่สุด พร้อมกับการพัฒนาความสัมพันธ์เกาหลี-ญี่ปุ่น” ภายใต้การนำของประธานาธิบดียุน ซอกยอล ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนที่แล้ว ทั้ง 2 ประเทศหวังฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการเมือง หลังได้รับความเสียหายอย่างหนักจากความขัดแย้งในประเด็นสงคราม นอกจากนี้ นายฮิโรคาสึ มัตสึโนะ โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของข้อตกลงนี้ โดยระบุว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะช่วย “เสริมสร้างความร่วมมือและการเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ และมีส่วนทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค” “เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ด้านเสถียรภาพที่รุนแรง รวมถึงการยิงขีปนาวุธหลายครั้งของเกาหลีเหนือแล้ว การดำเนินการที่มีเสถียรภาพตามข้อตกลง GSOMIA นั้นมีความสำคัญ” ทั้งนี้ เกาหลีเหนือได้ยิงขีปนาวุธหลายครั้งในปีนี้ และคาดว่าจะดำเนินการทดสอบนิวเคลียร์ครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2560 ในเร็ว ๆ นี้     ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ …

ศาลญี่ปุ่น “ห้ามเดินเครื่อง” โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 โรงบนเกาะฮอกไกโด ชี้มาตรการป้องกันสึนามิไม่ดีพอ

Loading

  เอพี – ศาลญี่ปุ่นวันนี้(31 พ.ค)ออกคำสั่งบริษัทไฟฟ้าฮอกไกโด อิเล็กทริก พาวเวอร์ โค.ห้ามเปิดเครื่องโรงงานพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 โรง หลังพบมาตรการป้องกันสึนามิยังไม่เพียงพอหากเดินหน้าเดินเครื่องจะเสี่ยงต่อชีวิตประชาชนบนเกาะท่ามกลางการผลักดันอย่างหนักจากรัฐบาลโตเกียวหลังประกาศคว่ำบาตรนำเข้าพลังงานจากรัสเซียตามสหรัฐฯ   เอพีรายงานวันนี้(31 พ.ค)ว่า ศาลแขวงซับโปโรออกคำพิพากษาในวันอังคาร(31)ว่า บริษัทไฟฟ้าฮอกไกโด อิเล็กทริก พาวเวอร์ โค.(Hokkaido Electric Power Co.)จะต้องไม่เดินหน้าเดินเครื่องโรงเตาปฎิกรณ์ใดๆทั้งหมด 3 โรงที่มีซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โทมาริ(Tomari) ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นเนื่องมาจากขาดมาตรการป้องกันความปลอดภัยสำคัญที่สามารถส่งผลต่อชีวิตของประชาชนในพื้นที่   อย่างไรก็ตามทางบริษัทไฟฟ้าฮอกไกโด อิเล็กทริก พาวเวอร์ โค.แถลงยืนยันว่า จะยื่นอุทธรณ์ต่อคำตัดสินพร้อมกับชี้ไปถึงคำพิพากษาว่า “น่าเสียใจและไม่สามารถรับได้โดยสิ้นเชิง”   ญี่ปุ่นเกิดวิกฤตคลื่นยักษ์สึนามิสูงกว่า 15 เมตรที่ร้ายแรงเมื่อปี 2011 ทำให้ระบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของบริษัทเทปโกที่ฟูกุชิมะเกิดล่มส่งผลทำให้แกนปฎิกรณ์เกิดหลอมเหลวและปล่อยกัมมันตภาพรังสีจำนวนมากออกมาสู่ด้านนอก   และเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วญี่ปุ่นจำนวนมากต้องปิดลงเพื่อตรวจสอบด้านความปลอดภัยและการปรับปรุง สำหรับที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โทมาริพบว่าไม่มีการเปิดทำการมาตั้งแต่ปี 2012   อย่างไรก็ตามพบว่ารัฐบาลญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะได้ออกมาเรียกร้องโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ให้กลับมาผลิตกระแสไฟฟ้าอีกครั้งเพื่อทดแทนพลังงานนำเข้าจากรัสเซียที่คิชิดะประกาศมาตรการคว่ำบาตรเพื่อลงโทษจากเหตุการณ์บุกยึดยูเครนเมื่อวันที่ 24 ก.พ ที่ผ่านมาและอีกทั้งยังเป็นการลดปรากฎการณ์ภาวะโลกร้อน โดยวิตกไปว่าภายในประเทศจะมีพลังงานใช้ไม่เพียงพอ   หัวหน้าผู้พิพากษา เท็ดซึยะ ทานิงูจิ( Tetsuya Taniguchi…

ญี่ปุ่นออกตัวแรง

Loading

  การเดินทางเยือนไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เป็นเรื่องที่น่าจับตาดูภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน เพราะนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนที่ผ่านมาว่างเว้นการเดินทางมาเยือนประเทศในภูมิภาคนี้มานานพอสมควร นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งสุดท้ายเมื่อ 9 ปีมาแล้ว แต่พอนายกรัฐมนตรี นายคิชิดะ ฟูมิโอะ ขึ้นดำรงตำแหน่ง เขาก็เริ่มเดินทางเยือนประเทศต่าง ๆ ทันที   การที่ผู้นำประเทศเมื่อขึ้นครองอำนาจและเดินทางเยือนมิตรประเทศ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนการเยือนครั้งนี้ จะมีใครฝากประเด็นยูเครนให้มาพูดด้วยหรือไม่ ไม่ทราบ หรือเป็นความริเริ่มของผู้นำญี่ปุ่นเอง   ที่ผ่านมา การเดินทางของผู้นำญี่ปุ่นที่เยือนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เน้นเรื่องเศรษฐกิจและการลงทุน เป็นสำคัญ มากกว่าด้านความมั่นคง   หากจะพูดถึงด้านความมั่นคง ญี่ปุ่นควรหงุดหงิดกับผู้นำเกาหลีเหนือมากกว่า ที่วันดีคืนดีก็ยิงจรวดมาตกในทะเลญี่ปุ่นบ่อย ๆ ส่วนการอ้างสิทธิเหนือทะเลจีนใต้ของจีนกระทบต่อการเดินเรือเสรีโดยเฉพาะเรือบรรทุกน้ำมันของญี่ปุ่นจากตะวันออกกลางไปญี่ปุ่นต้องผ่านเส้นทางนี้เป็นสำคัญ แต่คราวนี้ ผู้นำญี่ปุ่นคนนี้ไปไกลถึงยูเครน การเยือนห้าประเทศครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ต้องการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ “ ในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจและ ความมั่นคง “ ซึ่งประเด็นหลังดูแปลกใหม่สำหรับท่าทีของญี่ปุ่น   ที่น่าสังเกตคือ เขาประกาศว่า การเดินทางเยือนครั้งนี้เป็น “ ภารกิจเพื่อปกป้องสันติภาพ “ จนหลายคนสงสัยว่า ประเด็น “ ยูเครน” ซึ่งอยู่ในวาระการเยือนด้วยนั้น…

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับแก้ไขของญี่ปุ่น

Loading

  โลกในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันทางการค้าสูง การเข้าถึงและครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญเพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเชิงธุรกิจได้   แต่ในขณะเดียวกัน การดำเนินการดังกล่าวโดยปราศจากการควบคุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลได้ ดังนั้นแล้ว การตรากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญยิ่ง   ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ   เนื่องจากในปัจจุบันเราจะพบปัญหาการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาประโยชน์ หรือเปิดเผยโดยมิชอบ หรือโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอันส่งผลให้เกิดความเสียหายกับบุคคลจำนวนมาก   กฎหมายดังกล่าวจะมีกำหนดบังคับใช้ทั้งฉบับในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565 อันส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างๆ รวมถึงหน่วยงานของรัฐต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้   สำหรับผู้ประกอบการที่มีคู่ค้าเป็นชาวต่างชาติ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยแล้ว ก็จำต้องศึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศคู่ค้าด้วย เพื่อจะได้ไม่เกิดกรณีการทำผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศนั้นๆ   ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของผู้ประกอบการไทย และเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของเอเชียที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ญี่ปุ่นได้ตรากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (個人情報保護法 – Act on Protection of Personal Information – APPI) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 และมีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการทั้งหมด ที่เสนอขายสินค้าและบริการที่มีการดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น   ไม่ว่าจะมีที่ตั้งอยู่ในญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม และหลังจากที่ได้มีการบังคับใช้ ก็ได้มีการตรากฎระเบียบอื่น…

“เซเลนสกี” จะปราศรัยต่อรัฐสภาญี่ปุ่น ขอใช้ภาพถ่ายดาวเทียมรบรัสเซีย

Loading

  ยูเครนร้องขอใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย และประธานาธิบดีจะขอกล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมใหญ่รัฐสภาญี่ปุ่น เพื่อเรียกร้องการสนับสนุน   รัฐบาลยูเครนได้แจ้งต่อกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ขอให้นายโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ปราศรัยต่อรัฐสภาญี่ปุ่นผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ เพื่อขอการสนับสนุนยูเครนจากนานาชาติ หลังจากเขาได้ปราศรัยต่อรัฐสภาของสหรัฐฯ และหลายชาติยุโรปมาแล้วรัฐบาลญี่ปุ่นมีท่าทีตอบรับข้อเสนอของยูเครน คณะกรรมมาธิการกิจการรัฐสภาจากทั้งพรรครัฐบาล และฝ่ายค้านกำลังดำเนินการเพื่อจัดเตรียมระบบออนไลน์ โดยแทบจะไม่เคยมีผู้นำต่างชาติที่ได้ปราศรัยต่อที่ประชุมใหญ่รัฐสภาญี่ปุ่น   คาดว่าเรื่องสำคัญที่ผู้นำยูเครนจะร้องขอต่อญี่ปุ่น คือ ขอใช้ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากดาวเทียมญี่ปุ่น เพื่อจับตาความเคลื่อนไหวของกองทัพรัสเซีย     ญี่ปุ่นมีดาวเทียมหลายดวงที่ใช้เทคโนโลยี synthetic aperture radar (SAR) สามารถจับภาพได้ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน ในทุกสภาพอากาศ และยังจับภาพได้แม้มีสิ่งบดบังในชั้นบรรยากาศ ดาวเทียมเหล่านี้มีทั้งที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชนญี่ปุ่น หน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นที่มีภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง คือ สำนักงานสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่น หรือจั๊กซา   ส่วนการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของเอกชนมีกฎหมายที่กำหนดว่าการขายภาพให้ลูกค้าในต่างประเทศสามารถทำได้ แต่ต้องไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง และต้องเข้ารหัสข้อมูลเพื่อป้องกันการถูกใช้โดยกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ต่อญี่ปุ่น   สื่อต่างชาติรายงานว่า ยูเครนได้ขอใช้ภาพถ่ายดาวเทียมจากชาติตะวันตกและสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน   รัฐบาลญี่ปุ่นจะพิจารณาว่าจะให้ยูเครนใช้ภาพถ่ายดาวเทียมหรือไม่ เนื่องจากการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารอาจสุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น และอาจขยายความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นและรัสเซีย   ก่อนหน้านี้ กระทรวงการป้องกันประเทศของญี่ปุ่นได้มอบเสื้อเกราะกันกระสุน หมวกเหล็ก และอุปกรณ์สนามหลายอย่างให้ยูเครน และถูกมองว่าเป็นการมอบ…

ญี่ปุ่นเตือนประชาชน “อย่าไปรัสเซีย” รัฐบาลคิดหนักประกาศ “เขตห้ามบิน”

Loading

  กระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นยกระดับคำเตือนการเดินทางไปประเทศรัสเซีย เตือนชาวญี่ปุ่นให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังรัสเซีย หลังจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประกาศห้ามอากาศยานของรัสเซียบินเข้ามาในน่านฟ้า เพื่อคว่ำบาตรต่อการที่รัสเซียรุกรานยูเครน ความเสี่ยงการเดินทางไปยังรัสเซียถูกยกระดับเป็นระดับ 3 คือ “หลีกเลี่ยงการเดินทาง” ไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม ส่วนคำเตือนสำหรับพื้นที่ของรัสเซียที่ติดกับชายแดนยูเครน อยู่ในระดับสูงสุด หรือระดับ 4 คือ “ให้อพยพออกมา” กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นยังประกาศคำแนะนำล่าสุด ขอให้ชาวญี่ปุ่นพิจารณาเดินทางออกจากรัสเซียด้วยสายการบินพาณิชย์ในขณะที่ยังสามารถทำได้ ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นระบุว่า มีชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในรัสเซียราว 2,400 คน   การประท้วงในญี่ปุ่น เรียกร้องให้ประกาศ เขตห้ามบิน รัฐบาลพิจารณาประกาศ ห้ามเครื่องบินรัสเซียเข้า-ออก รัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียในระดับเดียวกับสหรัฐฯ และชาติสมาชิกประเทศอุตสาหกรรม G-7 ทั้งการอายัดทรัพย์สิน และห้ามการติดต่อกับรัฐบาลและบุคคลสำคัญของรัสเซีย แต่ล่าสุด ชาติตะวันตกได้ยกระดับมาตรการคว่ำบาตรด้วยการประกาศ “เขตห้ามบิน” ห้ามอากาศยานของรัสเซียบินเข้ามาในน่านฟ้า รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังหารือว่าจะใช้มาตรการเช่นเดียวกันหรือไม่   การชุมนุมในญี่ปุ่นต่อต้านการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ในที่ประชุมพรรคเสรีประชาธิปไตย หรือ LDP ที่เป็นแกนนำรัฐบาลญี่ปุ่น มีทั้งผู้ที่สนับสนุนให้ใช้มาตรการระดับเดียวกับสหรัฐและชาติยุโรป โดยประกาศเขตห้ามบิน ห้ามเครื่องบินรัสเซียเข้า-ออกประเทศญี่ปุ่น แต่ก็มี สมาชิกรัฐสภาที่เห็นว่า ญี่ปุ่นมีภูมิศาสตร์และสถานะที่แตกต่างกับชาติตะวันตก หากห้ามเครื่องบินรัสเซียเข้า-ออก จะส่งผลต่อการขนส่งสินค้าและห่วงโซ่อุปทาน และหากฝ่ายรัสเซียใช้มาตรการตอบโต้ ญี่ปุ่นก็อาจได้รับผลกระทบอย่างมาก  …