‘ชัยวุฒิ’ ยอมรับหน่วยงานรัฐทำข้อมูลรั่ว อ้างแฮ็กเกอร์ ‘9near’ ซื้อข้อมูลจาก Dark Web ไร้ใบสั่งการเมือง

Loading

    ชัยวุฒิ ธนาขมานุสรณ์ ยอมรับมีหน่วยงานรัฐบกพร่อง ทำข้อมูลรั่วไหล อ้างแฮ็กเกอร์ ‘9near’ ซื้อข้อมูลจาก Dark Web ยันไร้ใบสั่งการเมือง ด้านผู้ต้องหานำตัวฝากขังศาลทหาร   12 เม.ย. ชัยวุฒิ ธนาขมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒนครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจไซเบอร์ แถลงต่อสื่อมวลชนภายหลังสอบปากคำ จ.ส.ท.เขมรัตน์ บุญช่วย สังกัดกรมการขนส่งทหารบก ผู้ต้องหาคดีแฮ็กข้อมูลคนไทย 55 ล้านรายชื่อ   โดย ชัยวุฒิ กล่าวว่า ผู้ต้องหาให้การว่า ซื้อข้อมูลมาจากดาร์กเว็บ (Dark Web) ซึ่งเป็นเว็บไซต์แหล่งรวบรวมของบรรดาแฮ็กเกอร์สายดำ จำนวน 8 ล้านเรคคอร์ด ในราคา 8,000 บาท ไม่ใช่การแฮ็กข้อมูล และไม่ได้มีข้อมูลหลุดถึง 55 ล้านรายชื่ออย่างที่เป็นข่าวปรากฏก่อนหน้านี้ ซึ่งข้อมูลที่ได้มามีการลบทิ้งไปหมดแล้ว และยังไม่ได้นำไปเผยแพร่หรือหาประโยชน์แต่อย่างใด พร้อมยอมรับว่าทำเพียงคนเดียว ภรรยาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเนื่องจากภรรยาที่มีอาชีพเป็นพยาบาล ไม่ได้มีหน้าที่ดูแลระบบฐานข้อมูลแอปฯ หมอพร้อม…

Kaspersky พบอาชญากรไซเบอร์ประกาศรับสมัครงานใต้ดินจำนวนมาก

Loading

    Kaspersky Lab เผยผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากกระดานสนทนาบนดาร์กเว็บ 155 แห่ง พบว่าประชาคมอาชญากรไซเบอร์มีความต้องการจ้างบุคลากรด้านไอทีจำนวนมาก   จากการศึกษาโฆษณารับสมัครงานกว่า 200,000 ชิ้น ตั้งแต่ปี 2020 จนถึงเดือนมิถุนายน 2022 พบว่าตำแหน่งงานที่โลกไซเบอร์ด้านมืดต้องการมากที่สุด คือ นักพัฒนาเว็บ ถึงร้อยละ 61 ตามมาด้วยวิศวกรย้อนรอย (Reverse Engineer) นักวิเคราะห์ และนักทดสอบแฮก   งานที่ผู้ว่าจ้างเหล่านี้ระบุในรายละเอียดของการจ้างมีทั้งการสร้างมัลแวร์ การสร้างหน้าฟิชชิง โจมตีโครงสร้างพื้นฐานองค์กร และแฮกเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน โดยมีค่าจ้างตั้งแต่ 1,300 – 4,000 เหรียญต่อเดือน (ราว 43,400 – 133,500 บาท) ค่าจ้างสูงสุดเป็นของตำแหน่งวิศวกรย้อนรอย   โปลินา บอชคาเรวา (Polina Bochkareva) เชื่อว่าการเฟ้นหาบุคลากรเพิ่มเติมมักจะนำมาซึ่งการสร้างกลุ่มใหม่หรือขยายกลุ่มที่มีอยู่แล้ว   กลุ่มเหล่านี้มักมีแนวทางการรับสมัครบุคลากรโดยใช้เกณฑ์เดียวกับผู้ว่าจ้างบนดินที่ถูกกฎหมาย อย่างการหยิบยื่นสิทธิประโยชน์ที่พนักงานทั่วไปพึงได้รับ อาทิ สิทธิการลา การเลื่อนตำแหน่ง และแผนจูงใจพนักงานอื่น…

แฮ็กเกอร์ปล่อยข้อมูลของ Medibank ลงดาร์กเว็บ หลังไม่ได้รับค่าไถ่

Loading

  REvil กลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่นำข้อมูลละเอียดอ่อนของลูกค้าที่ขโมยมาได้จาก Medibank ผู้ให้บริการประกันสุขภาพรายใหญ่ของออสเตรเลียไปปล่อยลงดาร์กเว็บ หลังจากที่ Medibank ไม่ยอมจ่ายค่าไถ่   ข้อมูลที่ถูกนำมาปล่อยมีทั้ง ชื่อ ที่อยู่ วันเกิด เบอร์โทรศัพท์ อีเมล เลขหนังสือเดินทาง และข้อมูล Medicare หรือข้อมูลประกันสุขภาพของลูกค้า   ในจำนวนนี้ยังมีข้อมูลประวัติการรักษาของเหยื่อด้วย ซึ่งในบางกรณีเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต และการติดยาเสพติด รวมถึงข้อมูลการทำแท้งด้วย   Medibank เผยว่าได้รับทราบกรณีดังกล่าวแล้ว และเชื่อว่าข้อมูลที่ REvil เอามาปล่อยนั้นเป็นข้อมูลลูกค้าของทางบริษัทจริง และย้ำว่าจะแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยละเอียด พร้อมให้คำแนะนำว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป   ก่อนหน้านี้ทาง REvil เรียกค่าไถ่สูงถึง 10 ล้านเหรียญ (ราว 368.9 ล้านบาท) ก่อนจะลดลงมาเหลือ 9.7 ล้านเหรียญ (ราว 357 ล้านบาท) ตามจำนวนของลูกค้าที่ถูกแฮ็กข้อมูล   ทรอย ฮันต์ (Troy Hunt) ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ให้ความเห็นว่าการปล่อยข้อมูลของ REvil…

Uber โดนแฮ็กผ่านพนักงานสัญญาจ้าง เข้าไม่ถึงข้อมูลลูกค้า แฮ็กเกอร์อาจเกี่ยว Lapsus$

Loading

  Uber ออกรายงานชี้แจงการถูกแฮ็กครั้งใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จุดเริ่มต้นเกิดจากบัญชีพนักงานสัญญาจ้าง (Uber EXT) ถูกแฮ็กก่อน โดยคาดว่าแฮ็กเกอร์ใช้วิธีซื้อรหัสผ่านรั่วมาจากแหล่งใต้ดิน dark web อีกที   ระบบของ Uber มีการยืนยันตัวตน 2FA ช่วยป้องกันอยู่ แฮ็กเกอร์จึงพยายามล็อกอินอยู่หลายครั้ง และมีครั้งที่พนักงานรายนี้เผลอกดยืนยันการล็อกอิน (ของแฮ็กเกอร์) เลยเข้าระบบได้   จากนั้น แฮ็กเกอร์เข้าถึงบัญชีของพนักงานคนอื่น ๆ ได้ และสุดท้ายได้สิทธิเข้า G-Suite กับ Slack และโพสต์ข้อความประกาศการแฮ็กใน Slack ของบริษัท   ตอนนี้ Uber กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าแฮ็กเกอร์เข้าถึงระบบภายในใดบ้าง ผลการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าไม่ได้เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้, ระบบ production ที่ให้บริการแอป, ซอร์สโค้ดไม่ถูกแก้ไข   สิ่งที่แฮ็กเกอร์เข้าถึงได้คือ ข้อความใน Slack, เอกสารที่ทีมบัญชีใช้ออกใบแจ้งหนี้, ฐานข้อมูลช่องโหว่ที่ใช้บริการของบริษัท HackerOne แต่ช่องโหว่ทั้งหมดถูกแก้ไขไปเรียบร้อยก่อนหน้าแล้ว   หลังตรวจพบการแฮ็ก ทีมความปลอดภัยของ Uber ปิดการทำงานของระบบภายในบางอย่าง,…

แฮ็กเกอร์นำข้อมูลลับทางทหารของโปรตุเกสไปขายบนดาร์กเว็บ

Loading

  ข้อมูลลับที่อ้างว่าถูกแฮ็กไปจากกองบัญชาการทหารโปรตุเกส (Armed Forces General Staff – EMGFA) ถูกนำไปขายในดาร์กเว็บ   EMGFA เพิ่งจะรู้ตัวว่าโดนแฮ็กไปก็เมื่อแฮ็กเกอร์ได้เผยตัวอย่างของเอกสารที่ขโมยไปได้บนดาร์กเว็บ โดยมีการเสนอขายข้อมูลดังกล่าวต่อผู้ที่สนใจ   เจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ตรวจพบการขายเอกสารดังกล่าวและได้แจ้งเตือนต่อสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส ซึ่งก็ได้เตือนต่อไปยังรัฐบาลโปรตุเกส   เมื่อได้รับการแจ้งเตือนแล้ว สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Office – GNS) และศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของโปรตุเกสได้เข้าตรวจสอบระบบเครือข่ายของ EMGFA ทันที   ทั้งนี้ สำนักข่าวท้องถิ่น Diario de Noticias อ้างว่าได้ตรวจสอบกับแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อซึ่งมีความใกล้ชิดกับกระบวนการสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วพบว่าข้อมูลที่มีการเสนอขายบนดาร์กเว็บนั้นเป็นของจริง   แหล่งข่าวดังกล่าวระบุว่าเอกสารที่หลุดออกมานั้นมีความร้ายแรงสูงมาก การเผยแพร่ออกไปอาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศอย่างร้ายแรง โดยอ้างต่อไปว่าแฮกเกอร์ได้ใช้บอตที่มีความสามารถในการตรวจพบเอกสารชนิดนี้ในการแทรกซึมเข้ามาในระบบ อีกทั้งยังเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ที่ใช้เวลานานและไม่สามารถตรวจพบได้   ณ ขณะนี้ ทางรัฐบาลโปรตุเกสยังไม่มีการออกมาแถลงใด ๆ แต่สมาชิกรัฐสภาหลายรายออกมาแสดงความประหลาดใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องที่หน่วยงานด้านข่าวกรองไม่สามารถตรวจพบการแฮ็กได้เลย และขอให้ประธานคณะกรรมาธิการทหารของรัฐสภาออกมาดำเนินการตรวจสอบในเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด     ที่มา Bleeping Computer  …