หยามกันเห็น ๆ ! กองทัพเกาหลีใต้เผยดาวเทียมสอดแนมโสมแดง ‘ไม่มีประโยชน์’ ในด้านการทหาร

Loading

    กองทัพเกาหลีใต้แถลงวันนี้ (5 ก.ค.) ว่าสามารถเก็บกู้ซาก “ดาวเทียมสอดแนม” ที่เกาหลีเหนือยิงล้มเหลวและตกลงสู่ทะเลเมื่อเดือน พ.ค.ได้แล้ว โดยเบื้องต้นพบว่ามันไม่สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการทหารได้อย่างมีนัยสำคัญ   กองทัพเกาหลีใต้ได้ส่งทั้งเครื่องบิน เรือ และนักประดาน้ำออกไปเก็บกู้ชิ้นส่วนจรวดของเกาหลีเหนือ ภายหลังปฏิบัติการปล่อยดาวเทียมที่ล้มเหลวเมื่อวันที่ 31 พ.ค.   “จากการวิเคราะห์ชิ้นส่วนหลัก ๆ ของยานขนส่งอวกาศและดาวเทียมที่เราเก็บกู้ขึ้นมาได้ ผู้เชี่ยวชาญของเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ประเมินว่า มันไม่มีประโยชน์ในด้านการสอดแนมทางทหารเลยแม้แต่นิดเดียว” กองทัพโสมขาวระบุ พร้อมประกาศยุติการค้นหาซากจรวดและดาวเทียมโสมแดงลงในวันนี้ (5)   ผู้เชี่ยวชาญของกองทัพเกาหลีใต้ยอมรับว่า นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาสามารถเข้าถึงดาวเทียมที่เกาหลีเหนือพยายามปล่อยสู่วงโคจรในอวกาศ   ลี ชุนกึน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลีใต้ ระบุว่า จากการประเมินในเบื้องต้นพบว่าดาวเทียมโสมแดงมีศักยภาพในด้านของความแม่นยำและการติดตามเป้าหมายต่ำมาก   ยาง อุก นักวิจัยจากสถาบันนโยบายศึกษาอาซานในกรุงโซล ชี้ว่า “ความแม่นยำของอุปกรณ์ทัศนศาสตร์ที่ติดตั้งบนดาวเทียมดวงนี้ไม่เหมาะสำหรับใช้งานด้านการทหารเลย”   กองทัพเกาหลีใต้พยายามติดตามเส้นทางของจรวดเกาหลีเหนือ และไปพบซากชิ้นส่วนทรงกระบอกขนาดใหญ่ลอยอยู่ในทะเลเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่มันถูกปล่อยออกจากฐานยิง   ชิ้นส่วนดังกล่าวได้จมลงสู่ก้นทะเล และถูกเก็บกู้ขึ้นมาได้ในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา   รัฐบาลเกาหลีเหนือออกมาแถลงยอมรับตรง ๆ ว่าภารกิจส่งดาวเทียมไม่สำเร็จตามที่หวัง และถือเป็น…

สหรัฐ-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ตั้งเป้าแบ่งปันข้อมูลแจ้งเตือนขีปนาวุธเกาหลีเหนือ

Loading

(จากซ้ายไปขวา) ใบหน้าของประธานาธิบดีเกาหลีใต้, ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น บนป้ายประท้วงที่มีเนื้อหาต่อต้านการจับมือเป็นพันธมิตรไตรภาคี (Photo by ANTHONY WALLACE / AFP)   สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตั้งเป้าที่จะแบ่งปันข้อมูลการแจ้งเตือนขีปนาวุธเกาหลีเหนือก่อนสิ้นปี 2566 โดยทั้งสามประเทศระบุในถ้อยแถลงหลังการประชุมสุดยอดผู้นำกลาโหมในสิงคโปร์   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 กล่าวว่า กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แถลงร่วมกันเกี่ยวกับความร่วมมือในการตอบสนองต่อขีปนาวุธเกาหลีเหนือ   พันธมิตรทางทหารทั้งสามชาติประกาศจะแบ่งปันข้อมูลการแจ้งเตือนขีปนาวุธของเกาหลีเหนือระหว่างกัน ก่อนสิ้นสุดปี 2566   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังความพยายามของเกาหลีเหนือที่จะปล่อยดาวเทียมสอดแนมขึ้นสู่วงโคจรอวกาศเมื่อต้นสัปดาห์ แต่จบลงด้วยความล้มเหลวหลังจากจรวดขัดข้องและร่วงสู่ทะเล   แถลงการณ์ร่วมของสามชาติระบุว่า พันธมิตรไตรภาคีจะร่วมใช้กลไกการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลการเตือนขีปนาวุธแบบเรียลไทม์ก่อนสิ้นปี เพื่อปรับปรุงความสามารถของแต่ละประเทศในการตรวจจับและประเมินขีปนาวุธที่ยิงโดยเกาหลีเหนือ   ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ, ยาสุคาซู ฮามาดะ รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น และลี จงซ็อบ รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้ ได้หารือร่วมกันนอกรอบการประชุมสุดยอดความมั่นคงเอเชีย หรือแชงกรีล่า ไดอะล็อก (Shangri-La Dialogue:…

‘ญี่ปุ่น-โซล’ เตือนภัยวุ่น เกาหลีเหนือปล่อยดาวเทียมสอดแนม ก่อนพังร่วงตกทะเล

Loading

Kyodo News via AP   ‘ญี่ปุ่น-โซล’ เตือนภัยวุ่น เกาหลีเหนือปล่อยดาวเทียมสอดแนม ก่อนพังร่วงตกทะเล   เกาหลีเหนือได้ปล่อวจรวดส่งดาวเทียมสอดแนมขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อช่วงเช้าวันที่ 31 มิถุนายน หลังจากที่ได้มีการแจ้งเตือนก่อนหน้านี้ถึงปฏิบัติการดังกล่าว ก่อนที่จะจบลงด้วยความล้มเหลว ทำให้จรวดตกลงสู่ท้องทะเลในเวลาต่อมา พร้อมประกาศว่าจะทำการทดสอบครั้งที่ 2 โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้   สำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (เคซีเอ็นเอ) รายงานในเวลาต่อมาว่า จรวจส่งดาวเทียม “ชอลลีมา-1” ประสบความล้มเหลว เนื่องจากเครื่องยนต์และระบบเชื้อเพลิงไม่เสถียร ทำให้จรวดขั้นที่ 2 ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เครื่องส่งกำลังและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่บรรทุกขึ้นไปกับจรวดตกสู่ท้องทะเล   ทั้งนี้ ถือเป็นความพยายามครั้งที่ 6 ของเกาหลีเหนือที่จะส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้ความพยายามที่จะส่งดาวเทียมสอดแนมทางทหารดวงแรกของเกาเหลือเหนือขึ้นสู่ห้วงอวกาศ   การปล่อยจรวดดังกล่าวของเกาหลีเหนือยังสร้างความปั่นป่วนให้กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยในกรุงโซล เสียงไซเรนเตือนภัยทางอากาศดังขึ้นทั่วเมืองในเวลาประมาณ 06.32 น. วันนี้ พร้อมกับมีการเตือนให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับการอพยพที่อาจเกิดขึ้น ก่อนที่จะมีการแจ้งในอีก 20 นาทีต่อมาว่า การเตือนครั้งแรกนั้นเป็นความผิดพลาด   ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นออกคำเตือนฉุกเฉิน…

เพื่อนบ้านระทึก! เกาหลีเหนือเตรียมปล่อย ‘ดาวเทียมสอดแนม’ ญี่ปุ่นสั่งกองทัพ ‘ยิงทำลาย’ ได้ทันทีหากคุกคามดินแดน

Loading

  ขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีป Hwasong-18 ถูกยิงขึ้นจากสถานที่ซึ่งไม่ระบุ ตามภาพที่เผยแพร่โดยสำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (KCNA) เมื่อวันที่ 16 พ.ค.   กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นมีคำสั่งให้กองทัพเตรียมพร้อมยิงทำลายขีปนาวุธเกาหลีเหนือซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามต่อดินแดนของญี่ปุ่น หลังจากที่เปียงยางส่งหนังสือแจ้งเตือนว่า จะมีการปล่อยดาวเทียมสอดแนมทางทหารขึ้นสู่วงโคจรภายในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า   สื่อเอเอฟพีอ้างข้อมูลจากโฆษกยามฝั่งญี่ปุ่นซึ่งระบุว่า รัฐบาลเกาหลีเหนือได้แจ้งเตือนมายังญี่ปุ่นว่ามีแผนจะปล่อยดาวเทียมสู่วงโคจร ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-11 มิ.ย. พร้อมทั้งระบุพื้นที่เสี่ยงต่อการตกของเศษซากจรวดครอบคลุมทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และฝั่งตะวันออกของเกาะลูซอนในฟิลิปปินส์   ด้านสำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นแถลงผ่านทวิตเตอร์ว่า นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ “รวบรวมข่าวกรองเกี่ยวกับแผนการยิงขีปนาวุธทิ้งตัว (ballistic missile) ซึ่งเกาหลีเหนืออ้างว่าเป็นดาวเทียม”   คิชิดะ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า “ต่อให้เกาหลีเหนืออ้างว่าสิ่งที่จะยิงคือดาวเทียมก็ตาม แต่การใช้เทคโนโลยีขีปนาวุธทิ้งตัวก็ถือว่าเข้าข่ายละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ” และยังเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตประชาชนด้วย   ย้อนไปเมื่อปี 2012 และ 2016 เกาหลีเหนือได้ยิงทดสอบขีปนาวุธทิ้งตัวลอยข้ามผ่านจังหวัดโอกินาวาทางตอนใต้ของญี่ปุ่น โดยยกเรื่องการส่งดาวเทียมมาเป็นข้ออ้างเช่นกัน   คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือได้เดินทางไปเยี่ยมชมดาวเทียมสอดแนมทางทหารดวงแรกของประเทศในเดือนนี้ พร้อมกับให้ “ไฟเขียว” สำหรับแผนปฏิบัติการปล่อยดาวเทียมซึ่งจะมีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า…

ญี่ปุ่นกร้าว! สั่งยิงทิ้งทันที หากดาวเทียมสอดแนมโสมแดง รุกแดนปลาดิบ

Loading

    เมื่อวันที่ 22 เมษายน สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายยาสุคาซุ ฮามาดะ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่น มีคำสั่งให้กองกำลังป้องกันตนเอง(เอสดีเอฟ)ของญี่ปุ่น เตรียมความพร้อมที่จำเป็นที่จะยิงทำลายดาวเทียมสอดแนมของเกาหลีเหนือในทันที หากดาวเทียมสอดแนมที่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงดังกล่าวรุกล้ำเข้ามาในเขตแดนของญี่ปุ่น   “นายฮามาดะสั่งให้กองกำลังป้องกันตนเองเตรียมการที่จำเป็นเนื่องจากเขาอาจมีคำสั่งให้ทำลายขีปนาวุธทิ้งตัว” ถ้อยแถลงของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นระบุ   การเตรียมการดังกล่าวรวมถึงการเตรียมส่งกำลังทหารไปยังจังหวัดโอกิวานา ทางตอนใต้ของประเทศ เพื่อลดความเสียหายให้น้อยที่สุดหากขีปนาวุธทิ้งตัวขนส่งดาวเทียมสอดแนมร่วงตกลงในพื้นที่ดังกล่าว   ท่าทีข้างต้นของญี่ปุ่นมีขึ้นหลังจากสื่อทางการเกาหลีเหนือรายงานในวันพุธ(19 เม.ย.)ที่ผ่านมาว่า นายคิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ กล่าวถึงการเตรียมแผนการปล่อยดาวเทียมสอดแนมดวงแรกของเกาหลีเหนือว่าควรดำเนินการต่อไป เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามที่รับรู้ได้จากสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้             —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                                       …

นานาชาติหวั่นถูกสอดแนม หลังจีนตั้งศูนย์อวกาศภาคพื้นดินในแอนตาร์กติกา

Loading

  จีน นอกจากจะเป็นประเทศที่ 3 ที่ส่งมนุษย์เยือนอวกาศหลังสหภาพโซเวียตและสหรัฐฯ เคยทำมาแล้วก่อนหน้า ล่าสุดแผ่นดินใหญ่ยังเล็งสร้างศูนย์อวกาศภาคพื้นดินในทวีปแอนตาร์กติกา เพื่อสนับสนุนเครือข่ายดาวเทียมสำรวจมหาสมุทร   เครือข่ายศูนย์อวกาศภาคพื้นดินของจีน จะจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับและสนับสนุนการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ขณะที่หลายประเทศเกิดความกังวลว่าจีนอาจใช้ศูนย์นี้เพื่อจารกรรมทางข้อมูล แม้ทางแผ่นดินใหญ่จะให้การปฏิเสธก็ตาม   ในปี 2020 ศูนย์อวกาศภาคพื้นดินจากสวีเดนที่ให้ช่วยส่งยานอวกาศแก่จีนได้ยุติการต่อสัญญาและทำธุรกิจร่วมกับแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์   ขณะที่ China Aerospace Science and Technology Group Co. เล็งสร้างสถานีวิจัย Zhongshan ซึ่งเป็นหนึ่งในสองสถานีวิจัยถาวรของจีนบนทวีปแอนตาร์กติกา หลังจากชนะการเสนอราคาที่ 43.95 ล้านหยวน หรือราว 6.53 ล้านดอลลาร์   แม้จะมีภาพศูนย์อวกาศภาคพื้นดินแห่งใหม่ของจีนที่ตั้งในทวีปแอนตาร์กติกาเผยแพร่ออกมา แต่สำหรับรายละเอียดทางเทคนิคของโครงการกลับยังไม่ปรากฎ   โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของไอเดียที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทางทะเลของจีนและช่วยให้จีนกลายเป็นชาติมหาอำนาจเหนือน่านน้ำ   ขณะเดียวกัน ศูนย์อวกาศภาคพื้นดินของจีนที่ตั้งขึ้นใน Patagonia ประเทศอาร์เจนติน่า สร้างความกังวลให้กับนานาชาติถึงจุดประสงค์ของการตั้งศูนย์นี้ว่าจะมีการแอบสอดแนมหรือไม่   แม้ว่าทางการจีนจะยืนยันและรับรองว่าเป้าหมายของการสร้างสถานีคือการเฝ้าสังเกตการณ์ทางอวกาศเท่านั้น       ————————————————————————————————————————- ที่มา : …