ใช้อย่างระวัง ค้นหาข้อมูลผ่าน ChatGPT เสี่ยงเจอ ลิงก์ปลอม ซ่อนมัลแวร์

Loading

  เมื่ออาทิตย์ก่อน OpenAI เพิ่งเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อว่า “ChatGPT Search” ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้โดยตรงในอินเทอร์เฟซได้ง่าย ๆ แต่แคสเปอร์สกี้ได้ออกมาเตือนว่า ควรระมัดระวังการคลิกลิงก์ที่ ChatGPT แนะนำ เพราะอาจเป็นลิงก์ฟิชชิงหรือเว็บไซต์ปลอม   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้พบว่า ChatGPT Search อาจแสดงลิงก์ฟิชชิง หรือ ลิงก์ปลอม โดยเฉพาะเมื่อค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเงินดิจิทัล เช่น เกมคริปโต หรือเว็บไซต์แลกเปลี่ยนเงินคริปโต ลิงก์เหล่านี้อาจปรากฏในชื่อเว็บไซต์ เนื้อหา หรือผลลัพธ์การค้นหา โดยมักจะหลอกล่อให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกระเป๋าเงินดิจิทัล   อย่างไรก็ตาม เมื่อค้นหาแบรนด์ดัง 5 อันดับแรกที่ตกเป็นเป้าหมายของการฟิชชิงมากที่สุด ChatGPT Search กลับแสดงลิงก์ที่ถูกต้อง แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงนี้คล้ายกับที่พบในเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ อย่าง Google โดยลิงก์ฟิชชิงอาจปรากฏขึ้นในผลการค้นหาชั่วคราว   ChatGPT Search มักจะแสดงลิงก์ที่ถูกต้อง แต่บางครั้งก็อาจเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าสงสัย ซึ่งยังไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าจะไม่มีลิงก์ฟิชชิงหลุดรอดออกมา ดังนั้น ผู้ใช้ควรระมัดระวัง ตรวจสอบลิงก์ก่อนคลิกทุกครั้ง และอัปเดตซอฟต์แวร์ความปลอดภัยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์   แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ผู้ใช้พิจารณาคำตอบและผลการค้นหาของบอตด้วยความระมัดระวัง เพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตและเข้าเว็บอย่างปลอดภัยคือ…

รัฐบาลดิจิทัล (10): ‘คน’ …เรียนไม่รู้จบ

Loading

  “คน” เป็นหัวใจสำคัญที่สุดจาก 3 ปัจจัยหลักในการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัล ซึ่งได้แก่ คน กระบวนการและเทคโนโลยี   สำหรับเป้าหมายของปัจจัยเรื่อง “คน” คือ การสร้างทัศนคติของคนในองค์กรให้พร้อมปรับเปลี่ยน (Growth Mindset) การสร้างความเป็นผู้นำในการปรับเปลี่ยน และการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ทั้งหมดนี้ก็เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์คือ บุคลากรภาครัฐที่มีประสิทธิผลในการทำงานสูงนั่นเอง   เราอาจแบ่งบุคลากรในองค์กรภาครัฐเป็นกลุ่มกว้างๆ ได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง ซึ่งรวมผู้นำสูงสุดขององค์กรและผู้บริหารระดับรองถัดมา กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งคุมระดับกองหรือฝ่ายต่างๆ เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานโดยตรง กลุ่มเจ้าหน้าที่สายเทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เหลือทั้งหมด   เนื่องจากแต่ละกลุ่มมี “บทบาทหน้าที่” ในการปรับเปลี่ยนองค์กรแตกต่างกัน จึงมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นแตกต่างกัน   บทบาทสำคัญของผู้นำองค์กร คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ในการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลขององค์กร ผู้นำสูงสุดไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล เพียงแต่ต้องรู้ว่า เป้าหมายของหน่วยงานต้องการอะไร แล้วตอบคำถามให้ได้ว่า “ภาพสุดท้าย” ของการดำเนินภารกิจขององค์กรจะเปลี่ยนไปอย่างไรถ้านำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้   การพัฒนาของผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นเรื่องการสร้างความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง สามารถกำหนดเป้าหมาย แต่งตั้งผู้บริหารระดับรองที่มาจากสายงานหลักให้มาขับเคลื่อนต่อจากเบอร์หนึ่ง แล้วทำหน้าที่คอยให้การสนับสนุนผ่านการกำหนดนโยบาย จัดสรรงบประมาณและทีมงาน และที่สำคัญ ผู้นำต้องเป็น…

ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิคิวริตี้ เผย SMEs ถูกโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุด พร้อมแนะเคล็ดลับแก้จบใน 1 ชม.

Loading

ในโลกธุรกิจปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล การทำธุรกรรมต่างๆ อยู่บนออนไลน์มากยิ่งขึ้น รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ธุรกิจ SMEs ต้องปรับตัว มีการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน ทั้งเป็นช่องทางในการขายและให้บริการลูกค้า หลายองค์กรนำระบบงานภายในมาใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งถ้าการรักษาความปลอดภัยไม่ดีพอจะกลายเป็นช่องโหว่ให้ถูกโจมตีเข้ามาในระบบงานได้ง่าย

‘ดีป้า’ ชี้ ‘ดิจิทัล’ กุญแจสำคัญขับเคลื่อน ‘ความยั่งยืน’

Loading

    ‘ดีป้า’ ชี้ ‘ดิจิทัล’ กุญแจสำคัญขับเคลื่อนความยั่งยืน องค์กรต้องปรับตัว แนะไทยเปิดกว้างต่างชาติลงทุนเทคโนโลยีในไทย ขณะที่ ‘ซุปเปอร์แนป’ หนุนธุรกิจใช้พลังงานสะอาดเพิ่ม ยกเคสดาต้าเซ็นเตอร์หลังใช้พลังงานหมุนเวียน ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนมากกว่า 1.8 หมื่นตันต่อปี   นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวภายในงาน “Innovation Summit Bangkok 2023 : Innovations for a Sustainable Thailand” จัดโดย “ชไนเดอร์ อิเล็คทริค” ในหัวข้อ Thailand transformation towards sustainability ว่า “ความยั่งยืน” เป็นความท้าทายของธุรกิจในปัจจุบัน ถือเป็นเป้าหมายใหม่ที่มีความท้าทายจากเดิม “ดิจิทัล” คือ ตัวที่เข้ามาดิสรัปธุรกิจ แต่ปัจจุบันธุรกิจมีแรงผลักดันจากปัจจัยภายนอกเพิ่มคือ เรื่องความยั่งยืน เป็นสองเรื่องที่องค์กรธุรกิจกำลังเผชิญ   เขากล่าวว่า ความยั่งยืนเกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เรื่องของกรีนเทคโนโลยี…

ดิจิทัลและความเป็นส่วนตัว

Loading

  วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันล้วนพึ่งพาอาศัยระบบดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือใช้ชีวิตส่วนตัวเราล้วนอาศัยบริการดิจิทัลช่วยให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่ข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงข้อมูลองค์กรอาจหลุดรั่วออกไปได้มากขึ้นเช่นกัน   ในยุคที่ข้อมูลเป็นสินทรัพย์สำคัญที่สุด รวมถึงการถือกำเนิดของเงินสกุลดิจิทัล เราจึงคุ้นเคยกับคำว่าสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สิ่งที่ยังพัฒนาตามมาไม่ทันคือแนวคิดแบบดิจิทัล ที่ต้องตระหนักในเรื่องความปลอดภัยและใส่ใจต่อข้อมูลส่วนบุคคลมากกว่านี้   เริ่มจากประการแรกคือต้องเข้าใจว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” แม้ว่าบริการดิจิทัลที่เปิดใช้อยู่ในปัจจุบันหลายแพลตฟอร์มจะไม่เสียค่าใช่จ่ายใด ๆ แต่เราต้องเข้าใจว่าบริการเหล่านี้ล้วนได้ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ของผู้ใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยน ไม่ได้ใจดีเปิดให้ใช้ฟรีอย่างที่หลาย ๆ คนคิด   ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้ รวมไปถึงข้อมูลจากการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานว่าเข้ามาดูข้อมูลหรือค้นหาสินค้าชนิดใดเป็นพิเศษ ซึ่งระบบเอไอก็จะช่วยวิเคราะห์ได้ว่าตัวตนของเรานั้นเป็นอย่างไร เหมาะกับสินค้าและบริการแบบไหน เราจึงได้เห็นโฆษณาสินค้าที่เรากำลังมีความสนใจอยู่บ่อย ๆ   ซึ่งนี่เป็นเรื่องพื้นฐานเท่านั้น เพราะในปัจจุบันแพลตฟอร์มต่าง ๆ เริ่มพยากรณ์ความต้องการของผู้ใช้ได้แม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ได้ละเอียดมากขึ้นเช่นกัน   ประเด็นที่สองที่ต้องขบคิดให้ดีก่อนจะสมัครใจใช้แพลตฟอร์มใด ๆ ก็คือความน่าเชื่อถือของแต่ละแพลตฟอร์ม เพราะทุกวันนี้มีบริการดิจิทัลใหม่ ๆ เปิดตัวมากมายแทบจะทุกนาทีซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ทุกแฟลตฟอร์มจะถูกตรอจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น   ในโลกแห่งความเป็นจริงเราจึงเห็นแอปพลิเคชันบางตัว ขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้มากเกินไป รวมไปถึงบางแอปพลิเคชันที่ตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อเอาข้อมูลจากผู้ใช้ และที่หนักที่สุดคือแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ผู้ใช้โหลดโดยตรงเพื่อนำเงินออกจากธนาคารตามที่เป็นข่าวครึกโครมในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา   ก่อนจะใช้บริการจากแพลตฟอร์มใด ๆ เราจึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าแอปพลิเคชันเหล่านั้นมีความจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลของเรามากเพียงใด…

สร้างสมดุลให้โลกดิจิทัล

Loading

    ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันเคยชินกับการใช้ชีวิตคู่ขนานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และชีวิตในโลกดิจิทัลสลับกันไปมาอย่างคุ้นเคย ไม่ว่าจะใช้ชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงานในโลกจริงมาทั้งวันแต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนไปใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลก็ทำได้อย่างไร้รอยต่อ   เพราะเราคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดดเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว จากจุดเริ่มต้นในการใช้งานในด้านธุรกิจและสถาบันการศึกษา เมื่อมาถึงยุคโซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว   แต่ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกยังมีให้เราเห็นและก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยงในการใช้งานโดยเฉพาะด้านการดูแลสินทรัพย์ส่วนบุคคลที่ในโลกแห่งความเป็นจริงเรามักจะเข้มงวดมาก   ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากที่ต้องคิดให้ดีว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งใด เพราะปัจจุบันมีการคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น การคำนึงถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เราจะเอาเงินไปฝากไว้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก   นอกเหนือจากนั้นก็ยังต้องรู้จักกระจายความเสี่ยงด้วยการถือครองสินทรัพย์ประเภทอื่นเพิ่มเติม รวมไปถึงของมีค่าอื่นๆ ที่ต้องคิดถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก การเก็บรักษาจึงมักกระจายทั้งเก็บไว้ที่บ้าน ที่ทำงาน รวมไปถึงบ้านพ่อแม่ ฯลฯ   หรือไม่ก็เก็บไว้ในตู้เซฟที่สถาบันการเงินต่างๆ มีไว้ให้บริการซึ่งก็จำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเช่นกันว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือบริษัทอื่นใด จะเลือกใช้บริการที่สาขาไหนระหว่างสำนักงานใหญ่หรือสาขาย่อยที่ใกล้บ้าน   เราจะเห็นความเข้มงวดในการใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงที่สวนทางกับโลกดิจิทัลโดยสิ้นเชิง เพราะสำหรับคนทั่วไปแล้วมักจะมีความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัลที่ต่ำกว่าโลกแห่งความเป็นจริงมาก   อาจเป็นเพราะเราเห็นแก่ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานจนมองข้ามความปลอดภัยจนทำให้เราขาดสมดุลในการใช้งานระหว่างโลกทั้งสองโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วระบบการจัดการสินทรัพย์ในโลกดิจิทัลนั้นมีความซับซ้อนสูงมาก แต่เรากลับมองข้ามไปและสนใจแต่ความสะดวกที่ตัวเองจะได้รับเท่านั้น   ที่สุดแล้วเราจึงมักจะให้ข้อมูลและสิทธิในการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของเรากับระบบดิจิทัลมากเกินความจำเป็น จนหลายแพลตฟอร์มที่ให้บริการออนไลน์แก่เราอยู่ในทุกวันนี้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จำนวนมหาศาล และเมื่อบริหารจัดการไม่เหมาะสมก็อาจมีข้อมูลหลุดรั่วออกมาตามที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ   ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเหล่านี้มีทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ไปจนถึงข้อมูลเชิงพฤติกรรมซึ่งก็คือรอยเท้าดิจิทัลที่เก็บบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าเราเข้าไปที่เว็บใด สนใจเนื้อหาแบบไหน…