ผ่าแนวคิด สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ‘บิ๊กดาต้า’ ประเทศไทย!!!

Loading

  “ณัฐพล” ผอ.ดีป้า แจงพร้อม ถ่ายโอน ทรัพย์สิน บุคลากร และ งบประมาณปี 2565 ให้ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นองค์กรบิ๊กดาต้าของประเทศไทย หลังราชกิจจานุเบกษา ประกาศ จัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ครั้งแรก รวมข้อมูลให้ทั้งภาครัฐ เอกชน ร่วมมือใช้ประโยชน์   นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ สขญ.ที่จะเป็น บิ๊กดาต้า ประเทศไทย เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของรัฐบาล หรือบิ๊กดาต้า ภาครัฐ แต่ด้วยข้อจำกัดของงบประมาณทำให้ยังไม่สามารถตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาได้   ดีป้าจึงรับเข้ามาเป็นแผนกหนึ่งของดีป้าตั้งแต่ปี 2562 จากงบประมาณกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) มาโดยตลอด ปัจจุบันมีบุคลากรประมาณ 70 อัตรา จากนักเรียนทุนที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล มีทรัพย์สินประมาณ 200 ล้านบาท   ดังนั้น เมื่อมีการยกระดับสขญ.เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ ดีป้ามีความพร้อมในการถ่ายโอนทรัพย์สิน บุคลากร…

ติดฉลาก ‘National Cybersecurity’ บนอุปกรณ์ ‘ไอโอที’

Loading

    ณ ขณะนี้ เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยว่า กระแสการป้องกันและรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้รับการหยิบยกขึ้นมาหารือกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ   อย่างในสหรัฐหน่วยงานกำกับดูแลการรักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์เริ่มมีความพยายามในการกำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น   องค์การอาหารและยา (FDA) ได้บังคับใช้ข้อกำหนดทางไซเบอร์สำหรับผู้ผลิต และเมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มผู้นำในอุตสาหกรรมทางไซเบอร์ได้กล่าวเป็นนัยในการประชุม RSA เมื่อช่วงปลาย เม.ย. ที่ผ่านมาว่า จะมีประกาศจากทำเนียบขาวเกี่ยวกับแผนการพัฒนาโครงการติดฉลากความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ค.   แต่ที่น่าสนใจคือ จะมีการรวมกันของ OT และ IoT พร้อมกับการรักษาความปลอดภัยทั้งทางกายภาพและทางไซเบอร์ซึ่งเป็นการรวมตัวกัน ไม่ใช่แค่เฉพาะเรื่องของมาตรฐานแต่เป็นข้อบังคับอีกด้วย   นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่เร่งด่วนในการสร้างและยกระดับวัฒนธรรมพื้นฐานในการออกแบบความปลอดภัยและความโปร่งใสของกระบวนการทำงาน เช่น กระบวนการสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่มีคุณภาพ   ฝ่ายบริหารของไบเดน ประธานาธิบดีของสหรัฐได้ประกาศเป็นครั้งแรกถึงแผนการทำงานร่วมกับภาคเอกชน หน่วยงาน รัฐบาลกลางและสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการติดฉลากความปลอดภัยทางไซเบอร์บนอุปกรณ์ IoT   โดยระบุว่าแผนนี้มีความสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันมีการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้อย่างแพร่หลายและการเติบโตของตลาดเพิ่มสูงขึ้น   โปรแกรมการติดฉลากนี้จึงช่วยทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีความปลอดภัยและเป็นการจูงใจให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์   โดยล่าสุดสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ได้นำร่องการติดฉลากผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ บนอุปกรณ์ IoT โดยทีมงาน NIST ได้เริ่มจากการปรับแต่งเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับความเสี่ยงเฉพาะและทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรม  …

การ์ทเนอร์เปิดผลสำรวจ ‘เทคคอมพานี’ บนภาวะวิกฤติ ขาดแคลน ‘คนไอที’

Loading

  หลังจากการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมากของบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ทำให้ผู้นำธุรกิจและเทคโนโลยีต่างสรุปว่า “ภาวะขาดแคลนบุคลากรไอทีที่มีทักษะสูง หรือ Tech Talent Crunch” นั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่สิ่งที่ปรากฏอาจเป็นเพียงภาพลวงตา   ผลวิจัยล่าสุดของ การ์ทเนอร์ พบว่า 86% ของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIOs) บอกว่า พวกเขากำลังเผชิญกับการชิงตัวบุคลากรที่มีคุณสมบัติอย่างที่ต้องการ และอีก 73% มีความกังวลกับประสิทธิภาพของบุคลากรไอทีที่ลดลง   เอ็มบูล่า เชิร์น ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์ วิเคราะห์ว่า ปัญหาขาดแคลน Tech Talent ยังมีอยู่ต่อไป วิกฤติการขาดแคลนบุคลากรไอทีจะยังไม่จบสิ้นในวันนี้   เนื่องจากปัจจุบันยังมีอุปสงค์แรงงานด้านนี้มากกว่าอุปทานที่มีอยู่ในตลาดเป็นอย่างมาก การ์ทเนอร์คาดว่าปัญหานี้จะส่งผลกระทบลากยาวไปถึงปี 2569 เป็นอย่างน้อย สอดคล้องกับปริมาณการใช้จ่ายด้านไอทีตามที่คาดการณ์   ‘งานสายไอที’ โอกาสยังคงเปิดกว้าง   การ์ทเนอร์ระบุว่า พนักงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเลิกจ้างจำนวนมากนั้นอยู่ในสายงานธุรกิจไม่ใช่สายเทคโนโลยีและงานด้านไอทียังมีโอกาสอยู่อีกมากไม่ได้จำกัดเพียงแค่บริษัทในสายเทคโนโลยี   จากการสำรวจพบว่า การปรับลดแรงงานจำนวนมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ พยายามปรับให้ราคาหุ้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพื่อลดค่าใช้จ่ายตามโจทย์ของผู้ถือหุ้น   ผลวิจัยการ์ทเนอร์พบด้วยว่า บริษัทที่อยู่เบื้องหลังการเลิกจ้างพนักงานที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ที่สุด…

ส่องนโยบายใช้ ‘ChatGPT’ ช่วยทำงานในองค์กร

Loading

    ผมมีโอกาสได้เห็นเอกสารนโยบายการใช้ Generative AI อย่าง ChatGPT ของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในต่างประเทศรายหนึ่งระบุว่า ห้ามพนักงานใช้โดยเด็ดขาด   โดยเฉพาะในการทำเอกสารหรือจดหมายเพื่อติดต่อกับลูกค้า หรือแม้แต่จะช่วยเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม ทั้งนี้บริษัทอนุญาตให้ใช้เฉพาะเพื่อการทดลองหรือการศึกษา และการใช้งานส่วนตัวเท่านั้น   จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะในปัจจุบันหลายๆ บริษัทในต่างประเทศเริ่มที่จะออกนโยบายการใช้ Generative AI ในการช่วยทำงานของพนักงานหรือที่เรียกว่านโยบาย Generative AI Assistance (GAIA) และก็มีหลายบริษัทที่ประกาศห้ามการใช้งาน   ดังเช่น สถาบันการเงินต่างๆ อย่าง JPMorgan Chase,Bank of America, Goldman Sachs, Citigroup, Deutsche Bank และ Wells Fargo โดยเหตุผลหลักเป็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอ่อนไหวของลูกค้า   ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายบริษัทในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น Amazon, Verizon, และ Accenture ที่ออกนโยบายจำกัดการใช้งาน Generative AI ของพนักงานและให้ระมัดระวังการนำข้อมูลอ่อนไหวของบริษัทเข้าไปสู่ระบบ…

รัฐบาลสิงคโปร์เดินหน้าลดความเสี่ยงด้าน IT หลัง Digital Transformation อย่างรวดเร็วในช่วงโควิด 19

Loading

  คณะกรรมการ Public Accounts Committee ของสิงคโปร์รายงานถึงสถานการณ์ของระบบดิจิทัลและ IT ภายในภาครัฐ โดยพบความเสี่ยงในหลายด้านเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างกว้างและรวดเร็วในช่วงวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ก็เป็นโจทย์ด้าน IT ที่รัฐบาลวางแผนจะแก้ไขต่อไป รายงานของ Public Accounts Committee เผยถึงจุดอ่อนและความเสี่ยงในระบบ IT ของหน่วยงานราชการสิงคโปร์ในปี 2020 ที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก Digital Transformation ที่ถูกเร่งให้เกิดในช่วงโรคระบาด ความเสี่ยงเหล่านี้ก็มีเช่น ความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความปลอดภัยระบบ การจัดการกับบัญชีผู้ใช้สำหรับพนักงานของรัฐที่โยกย้ายตำแหน่งหรือไม่ใช้งานแล้ว ระบบ Log ที่สามารถตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบ IT ได้ และกลกไกการจัดการอื่นๆ เช่น กระบวนการรายงานเหตุเกี่ยวกับความปลอดภัยข้อมูล โดยความเสี่ยงเหล่านี้มีทั้งปัญหาเชิงเทคโนโลยี กระบวนการทำงาน และเชิงนโยบาย แผนการต่อไปของรัฐบาลสิงคโปร์จึงเป็นการอุดรูรั่วเหล่านี้ และเสริมสร้างระบบไอทีที่แข็งแรง ตรวจสอบได้ขึ้น เพื่อให้เป็นที่น่าเชื่อถือในอนาคตที่จะมีการพึ่งพาระบบดิจิทัลมากขึ้น สิงคโปร์มีหน่วยงานอย่าง Smart Nation and Digital Government Group (SNDGG) มาช่วยประเมินความเสี่ยง และจัดการปัญหาด้วยโครงการต่างๆ…