สุดช้ำ! อ้างจนท.ประกัน หลอกกดลิงก์ ดูดเกลี้ยง 3 ล้าน อายัดบัญชีไม่ได้ แบงก์โยนกันไปมา

Loading

    ลุงวัย 60 ร้องตร.ไซเบอร์ ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นจนท.ประกันชีวิต หลอกกดลิงก์รับเงินปันผล ดูดเงิน     นายพูนศักดิ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 เม.ย. มีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ บริษัทประกันชีวิต ให้กดลิงก์เพื่อรับเงินปันผล 2,000 บาท เมื่อกดลิงก์ ที่ถูกส่งในแอพพลิเคชัน ไลน์แล้วมือถือก็หน้าจอค้างและไม่สามารถใช้งานได้เลยประมาณ 1.30 ชั่วโมง ก่อนจะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ     เมื่อโทรศัพท์กลับมาใช้งานได้ ตนจึงเข้าไปเช็กใน แอพพลิเคชั่น ธนาคารกรุงไทย และไทยพาณิชย์ ที่มีอยู่ในโทรศัพท์ของตน พบว่ายอดเงินในแอพพลิเคชั่นของแอพธนาคารทั้ง 2 แอพถูกโอนออกไปยังบัญชีอื่นทั้งหมด   จนยอดเงินในบัญชีติดลบ โดยที่ตนไม่ได้ทํานิติกรรมเองใน แอพพลิเคชั่นของธนาคารนั้นเลยและยังพบอีกว่า ใน Inbox SMS ของโทรศัพท์มือถือของตนมีข้อความ OTP หลายข้อความ จึงรีบไปที่ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อรีบดําเนินการแจ้งอายัดบัญชี และในเวลากลางคืนมีข้อความผิดปกติของ OTP ที่มา จาก SMS…

Europol ตำรวจยุโรป เตือน! มิจฉาชีพ อาจใช้ ChatGPT หลอกแฮ็ก-ดูดเงิน ประชาชน

Loading

    Europol เตือนภัย ChatGPT อาจตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพ เพื่อหลอกรัก แฮ็กข้อมูล ดูดเงินประชาชน หลังฉลาดเป็นกรด จนนึกว่าคนจริง   กองกำลังตำรวจของสหภาพยุโรป หรือ Europol ออกมาเตือนเกี่ยวกับการใช้ แชตบอทที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ อย่าง ChatGPT ในทางที่ผิด เช่น หลอกคุยเพื่อแฮ็กบัญชีด้วยหน้าเว็บปลอม (ฟิชชิ่ง) การบิดเบือนข้อมูล และ ใช้ก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์   นับตั้งแต่ ChatGPT เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว เจ้าของอย่าง OpenAI ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft สร้างกระแสให้โลกด้วยความสามารถของมัน จนทำให้บริษัทด้านเทคโนโลยีใหญ่ ๆ ต่างพยายามเปิดตัวแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ไปตาม ๆ กัน   “ความสามารถของ LLM (โมเดลภาษาขนาดใหญ่) อย่าง ChatGPT กำลังได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การใช้ประโยชน์จากระบบ AI ประเภทนี้ โดยอาชญากร จึงเป็นที่น่ากังวล” ตามรายงานของ Europol  …

รู้ทันมิจฉาชีพ เผยเคล็ดลับ 8 ข้อ วิธีป้องกันโดนแฮ็กข้อมูล-ดูดเงินในบัญชี

Loading

    การรู้ทันมิจฉาชีพ เป็นอีกหนึ่งความรู้ที่ทุกคนควรมี เนื่องจากในปัจจุบันมีกลโกงหลอกลวงออนไลน์จากมิจฉาชีพจำนวนมาก เราจึงได้รวบรวมเทคนิคการป้องกันมิจฉาชีพไม่ให้ล้วงข้อมูล-ดูดเงินในบัญชีได้ยากขึ้น   มิจฉาชีพออนไลน์ ปัจจุบันได้มีกลโกงหลากหลายรูปแบบ สมาคมธนาคารไทยจึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐอย่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส), สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และภาคเอกชนอย่าง ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ True, AIS, DTAC และ NT รวมถึงผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียต่าง ๆ อย่าง LINE โดยได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการดังต่อไปนี้   -ตรวจสอบปิดไลน์ปลอมของธนาคาร   -ควบคุมและจัดการ ชื่อผู้ส่ง SMS (SMS Sender) ปลอม   -ปิดกั้น URL ที่เป็นอันตราย   หารือธนาคารสมาชิกเพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัย แชร์เทคนิค และแนวทางป้องกันภัยร่วมกัน เช่น พัฒนาการป้องกันและควบคุม Mobile Banking Application กรณีมือถือมีการเปิดใช้งาน Accessibility Service และการเพิ่มระบบการพิสูจน์ตัวตนด้วย Biometrics Comparison เช่น…

เตือนภัย ‘ออนไลน์’ ทริกโจรไซเบอร์ดูดเงิน

Loading

    ปัจจุบัน ‘ภัยออนไลน์’ ยังเป็นเรื่องอันตรายที่อยู่ใกล้ประชาชนมากที่สุด เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิต กลับกันเทคโนโลยีก็นำมาสู่ภัยร้าย หากมีคนกลุ่มที่ไม่ประสงค์ดี หรือเรียกว่า ‘มิจฉาชีพ’ นำมาใช้เป็นเครื่องมือแสวงหากำไรในทางมิชอบ   ซึ่งความเสียหายขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว สะท้อนจากประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านออนไลน์ www.ThaiPoliceOnline.com ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม-31 ธันวาคม 2565 มีคดีความออนไลน์กว่า 181,466 เรื่อง เฉลี่ย 800 คดีต่อวัน รวมมูลค่าความเสียหาย 27,305 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเปอร์เซ็นต์สำเร็จยังสูง   เรื่องนี้ ‘กิตติ โฆษะวิสุทธิ์’ ผู้จัดการบริหารความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและความปลอดภัยไซเบอร์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร หรือทีบี-เซิร์ต เปิดเผยว่า จากแนวโน้มภัยไซเบอร์ที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีรูปแบบหลากหลายเพื่อล่อลวงเอาข้อมูลสำคัญจากผู้ใช้บริการโมบายแบงกิ้งและอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง หวังโจรกรรมเงินจนนำมาสู่ความเสียหายทางทรัพย์สิน   สำหรับรูปแบบการล่อลวงเอาข้อมูลที่พบมากขึ้นในระยะหลัง คือ การหลอกให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ (Malware) ลงในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเข้าไปแฝงตัวอยู่ในแอปพลิเคชัน มีบริการที่เรียกว่า Accessibility…

ทรูมันนี่ แนะ 9 ข้อ “หยุดกลโกง” ลดความเสี่ยงถูกแฮกข้อมูลดูดเงินในบัญชี

Loading

    ทรูมันนี่ ในฐานะผู้นำด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์และผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แนะนำวิธีปฎิบัติ 9 ข้อ “หยุดกลโกง” เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ลดความเสี่ยงถูกแฮกข้อมูลดูดเงินในบัญชี   ทรูมันนี่ ได้สังเกตจากหลายกรณีของการโจรกรรมออนไลน์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ผู้ทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์จำนวนมากเกิดความกังวล   อีกทั้งยังมีผู้เสียหายอีกจำนวนมากที่ร้องเรียนผ่านเพจชื่อดังเกี่ยวกับการถูกแฮกเกอร์ล้วงข้อมูล แฮกบัญชี และล่าสุดมีการดึงเงินออกจากบัญชีโดยที่เจ้าของบัญชีไม่รู้ตัว   ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบกรณีดังกล่าวพร้อมออกมาชี้แจงแล้วว่า เหตุเกิดจากผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แฝงมัลแวร์   ทำให้มิจฉาชีพล่วงรู้ข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้า จากนั้นจึงควบคุมโทรศัพท์เพื่อสวมรอยทำธุรกรรมจากระยะไกล โดยโอนเงินออกจากบัญชีในช่วงเวลาที่ผู้เสียหายไม่ได้ใช้งานโทรศัพท์     9 ข้อ “หยุดกลโกง” เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ลดความเสี่ยงถูกแฮกข้อมูลดูดเงินในบัญชี ดังนี้   1.อย่าเผลอโหลดแอปเถื่อน หรือคลิกลิงก์ประหลาด   หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดแอปเถื่อน โดยเลือกดาวน์โหลดแอปจากผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการที่เป็น Official Store ได้แก่ Google Play Store ในระบบปฎิบัติการ Android และ App Store ในระบบปฎิบัติการ iOS เท่านั้น รวมถึงไม่ควรคลิกลิงก์ที่มีลักษณะแปลกปลอมที่มาจากการแชร์ข้อความ…

วิธีเช็กไอโฟน ว่าโดนติดตั้งแอปรีโมต เพื่อดูดเงินหรือแอบดูข้อมูลบนมือถือหรือไม่

Loading

  วิธีเช็กไอโฟน ว่าโดนติดตั้งแอปรีโมต เพื่อดูดเงินหรือแอบดูและล้วงข้อมูลบนมือถือหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้นำเสนอในฝั่ง Android ไปแล้ว แต่ใช่ว่าไอโฟนจะไม่ถูกแฮก คุณสามารถตรวจสอบมือถือไอโฟนว่าเข้าข่ายติดตั้งแอปรีโมตหรือไม่ โดยมีขั้นตอนดังนี้   วิธีเช็กไอโฟน ว่าโดนติดตั้งแอปรีโมต     เข้าไปที่แอป การตั้งค่า >> เลือก แบตเตอรี แล้วดูว่าแอปไหนใช้งานหนักเกินจริงบ้าง   แล้วดูในส่วนแอปทั้งหมดว่ามีแอปแปลกปลอมที่ไม่ใช่จาก Apple และเราไม่ได้ติดตั้งแอปหรือไม่     นอกจากนี้เพื่อป้องกันการโจมตีจากการท่องเว็บผ่าน Safari บนมือถือไอโฟน โดยเข้าไปที่ ตั้งค่า >> เลือก SAFARI แล้วเลือกที่ คำเตือนเว็บไซต์หลอกลวง เป็นอันเสร็จเรียบร้อย       บทความโดย ไอที 24 ชั่วโมง       ———————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :         …