เลขา สกมช. ตั้งข้อสังเกตุ หลอกลวงผ่านโซเชียล ทำไมแพลตฟอร์มไม่ช่วยป้องกัน ?

Loading

  SHORT CUT •  เลขา สกมช. ตั้งข้อสงสัย ทำไมแพลตฟอร์มโซเชียล ยอมให้โฆษณาหลอกลวงผ่านการตรวจสอบทั้งที่ในต่างประเทศแพลตฟอร์มเดียวกันกลับมีกฎเกณฑ์ที่ดีกว่า •  ออสเตรเลียเคยฟ้องร้องเป็นตัวอย่างแล้ว ทั้งจากภาครัฐและคนดังที่ถูกแอบอ้าง •  ต่างประเทศมองว่าการที่แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อนุญาตให้โฆษณาหลอกลวงผ่านการตรวจสอบ เท่ากับว่า แพลตฟอร์มมีส่วนรู้เห็นมาหลอกประชาชน   เลขา สกมช. ตั้งข้อสังเกตุ การหลอกลวงผ่านโซเชียล ทั้งเพจปลอมและการหลอกลงทุน ทำไมแพลตฟอร์มไม่ช่วยป้องกันก่อนเกิดเหตุ ?   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ตั้งข้อสังเกตุกับผู้สื่อข่าวหลังการแถลงข่าวการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ และให้ความรู้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ระหว่าง สกมช. และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ถึงกรณีการป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์จากการหลอกลวงกันทางโซเชียลมีเดีย   พลอากาศตรี อมร ตั้งข้อสังเกตุว่า การป้องกันและปรายปรามการหลอกลวงปัจจุบันทำได้ช้า ใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์ในการดำเนินการจากฝั่งแพลตฟอร์ม ซึ่งการหลอกลวงเหล่านี้ ทั้งการโฆษณาหลอกลงทุนผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยการใช้รูปคนดัง , การตั้งเพจปลอมที่มีชื่อเหมือนหน่วยงานราชการ เช่น…

รัฐบาลอินเดียเปิดประมูลจัดซื้อกล้องจับใบหน้าบนตู้รถไฟกว่า 40,000 ตู้

Loading

การรถไฟอินเดียที่ดูแลระบบรางทั่วประเทศเปิดประมูลจัดซื้อจัดจ้างการติดตั้งกล้องจดจำใบหน้าบริเวณทางเข้าและทางออกในตู้รถไฟทั้งหมด 44,000 ตู้

สิงคโปร์ ใช้ AI วิเคราะห์เสียงจากกล้องวงจรปิด ตรวจจับเหตุไม่คาดฝัน

Loading

สิงค์โปร์ลงทุนระบบ AI วิเคราะห์เสียงจากกล้องวงจรปิด ตรวจจับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อย่างเสียงปืน และแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ให้ทันเวลาก่อนเหตุการณ์ลุกลาม ย้อนกลับไปเมื่อปี 2018 สิงคโปร์ได้ริเริ่มใช้ AI ในการวิเคราะห์เสียงเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างเสียงปืน จากกล้องวงจรปิดกว่าพันตัว ในสนามบินชางงี เฮง สวีคีต รัฐมนตรีสิงคโปร์ เล่าว่า แม้ว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่ปลอดภัยที่สุดในโลก

‘กล้องวงจรปิด’ ยิ่งเยอะ ยิ่งดีต่อประชาชน ยิ่งเพิ่มความปลอดภัยให้ประเทศ

Loading

  ชวนดูการติดตั้ง ‘กล้องวงจรปิด’ (Surveillance) ในจีน ประเทศที่มีกล้องมากที่สุดในโลก และการใช้ประโยชน์ระบบกล้องวงจรปิดในด้านต่าง ๆ   ไม่นานมานี้ สวี่กานลู่ รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีน ให้ข้อมูลผ่านการแถลงข่าวว่า จีนได้รับการยอมรับในวงกว้าง ว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความปลอดภัยมากที่สุดในโลก เนื่องจากมีอัตราการฆาตกรรมและจำนวนคดีความเกี่ยวกับปืนและวัตถุระเบิดต่ำที่สุด ทั้งยังมีจำนวนคดีอาญาและอุบัติเหตุด้านความปลอดภัยลดลงอย่างมีนัยสำคัญตลอด 10 ปีที่ผ่านมา     เพราะสังคมไม่ปลอดภัย กล้องวงจรปิด จึงเป็นของที่ต้องมี? ศูนย์สื่อมวลชนสำหรับการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 จัดการแถลงข่าวในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน วันที่ 19 ต.ค. 2022 | ที่มา : Xinhua   หากดูเฉพาะประเทศจีน หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้จีนได้ชื่อว่า ปลอดภัยที่สุดในโลก เป็นผลมาจากรัฐบาลสั่งติดตั้ง กล้องวงจรปิด ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้มาตรการปราบปรามอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่   หลังผ่านการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 สวี่เผยตัวเลขแก่สื่อมวลชนว่า จำนวนการกระทำผิดทางอาญาขั้นร้ายแรง อาทิ คดีฆาตกรรมและการข่มขืน ในปี…

เมียนมา ติดกล้องวงจรปิดตรวจจับใบหน้า สอดส่อง ปชช.ทั่วประเทศ

Loading

  สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิด 3 ราย ระบุว่า รัฐบาลเมียนมา กำลังเดินหน้าโครงการติดตั้งกล้องวงจรปิดที่สามารถตรวจจับใบหน้าคนได้ในหลายเมืองทั่วประเทศ   แหล่งข่าวใกล้ชิดการยื่นประมูลเพื่อจัดซื้อและติดตั้งกล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัยที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าของรัฐบาลเมียนมาระบุว่า โครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการเมืองปลอดภัยที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาความปลอดภัย และในบางกรณีก็ใช้ในการคงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง   รายงานระบุว่า โครงการดังกล่าวเป็นการติดตั้งกล้องเพิ่มเติมจากโครงการของรัฐบาลชุดเดิมที่มีการติดตั้งและวางแผนติดตั้งใน 5 เมืองไปแล้วก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังเปิดเผยด้วยว่ารัฐบาลทหารเมียนมาวางแผนที่จะติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดดังกล่าวใน 7 รัฐ และ 7 เขตปกครองทั่วประเทศ   รายงานระบุว่า บริษัทผู้ชนะการประมูลมีอยู่หลายบริษัทที่เป็นบริษัทท้องถิ่น ในจำนวนนั้นเป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีจาก “เจ้อเจียง ต้าหัว เทคโนโลยี” และ “หัวเว่ย เทคโนโลยี่” บริษัทด้านรักษาความปลอดภัยยักษ์ใหญ่ของจีน   ทั้งนี้ เทคโนโลยีกล้องวงจรปิดที่มีระบบตรวจจับใบหน้านั้น แม้จะเริ่มมีใช้ในหลายประเทศ แต่โครงการในเมียนมานั้นก็ส่งผลให้เกิดความกังวลเช่นกันว่าเทคโนโลยีจะถูกนำไปใช้ในการกวาดล้างนักเคลื่อนไหวและกลุ่มต่อต้านที่ฝั่งรัฐบาลทหารกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย หลังเกิดการประท้วงต่อต้านรัฐประหารเป็นต้นมา       ————————————————————————————————————————- ที่มา :     มติชนออนไลน์           …