สหรัฐฯถอนตัวยุโรปปั่นป่วน

Loading

  ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ทหารประชาธิปไตย แม้ว่าจุดร้อนแรงของสงครามจะอยู่ที่ตะวันออกกลาง เมื่ออิสราเอลเปิดฉากโจมตีกาซาครั้งใหญ่ แม้ในช่วงที่กำลังมีการเจรจาหยุดยิง โดยมีสหรัฐฯเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะมีผลทำให้การหยุดยิงต้องพังทลายลง และถ้าสหรัฐฯยังไม่สามารถหยุดยื้อเนทันยาฮู ในการก่อการร้ายได้ สงครามคงยืดเยื้อบานปลายไปสู่การโจมตีอิหร่าน โดยฝ่ายเนทันยาฮู จะพยายามชักจูงให้ทรัมป์เข้าร่วมปฏิบัติการ ทั้งๆที่อิหร่านมิได้เป็นภัยคุกคามสหรัฐฯเลย แต่เป็นภัยคุกคามอิสราเอลในประเด็นนี้จึงชี้ชัดได้ว่าสหรัฐฯมิได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯตามคำขวัญของทรัมป์ America First แต่กลายเป็น Israel First   ในอีกสมรภูมิขณะที่ทรัมป์มีแนวทางที่จะถอนตัวจากความขัดแย้งในยุโรป โดยเฉพาะต้องการยุติความขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย นับเป็นแนวทาง American First โดยแท้จริง   ทั้งนี้เพราะทรัมป์ตระหนักว่าสหรัฐฯ ไม่อาจเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งใน 3 สมรภูมิ คือ ยุโรป ตะวันออกกลาง และจีนได้ในคราวเดียวกัน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ในทางยุทธศาสตร์พบว่า จีนคือภัยคุกคามอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ ทั้งในแง่การทหาร เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ส่วนรัสเซียเป็นเพียงภัยคุกคามทางทหารในระยะสั้น จึงตัดสินใจถอนกำลังและการสนับสนุนทางการเงินและอาวุธ อันเป็นการถอนทางยุทธศาสตร์ เพื่อนำเอาสรรพกำลังไปเสริมสร้าง ความเข้มแข็งด้านสนามหลังบ้าน คือ ลาตินอเมริกา และอีกส่วน คือ การปิดล้อมจีนที่สหรัฐฯ ถือเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่ง  …

เปิดรายได้ธุรกิจผลิตอาวุธ Top 100 โลก ปี 66 บ.สหรัฐ-เอเชียโตเป็นประวัติการณ์

Loading

    Military Expenditure and Arms Production Programme เผยภาพรวมรายได้บริษัทผลิตอาวุธที่ติดอันดับ Top 100 (SIPRI) พบ บริษัทในสหรัฐและเอเชียรายได้โตเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ภูมิภาคอื่นก็เติบโตต่อเนื่อง ผลจากสงครามยังคงคุกรุ่นทั้งในตะวันออกกลางและสงครามรัสเซีย-ยูเครน   ในปี 2566 ผู้ผลิตอาวุธจำนวนมากเพิ่มการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น และรายได้ของบริษัทผลิตอาวุธ Top 100 ของโลกก็ดีดตัวขึ้นหลังจากลดลงเมื่อปี 2565   บริษัทอาวุธเกือบ 3 ใน 4 มีรายได้จากการจำหน่ายอาวุธเพิ่มขึ้นในปี 2566 เมื่อเทียบแบบปีต่อปี และบริษัทส่วนใหญ่ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าอันดับที่ 50 จาก 100   อย่างไรก็ตาม โลเรนโซ สการัสซาโต นักวิจัยจาก Military Expenditure and Arms Production Programme ของสถาบัน Stockholm International Peace Research Institute (SIPRI)…

กต.ไทยประท้วงอิสราเอลนำแรงงานเข้าพื้นที่เสี่ยงภัย เตือนคนไทยเลี่ยงเดินทางไปอิสราเอล-ตะวันออกกลาง

Loading

นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่าจากกรณีที่มีเหตุยิงจรวดจากเลบานอนเข้าไปในเขตประเทศอิสราเอล ทำให้แรงงานไทยเสียชีวิต 4 ราย และบาดเจ็บ 1 ราย โดยขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ โดยตั้งแต่เริ่มมีความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง กระทรวงการต่างประเทศพยายามที่จะชะลอการเดินทางของแรงงานไทยไปยังภูมิภาค โดยมีความเข้าใจดีว่าแรงงานไทยต้องการโอกาสที่จะมีชีวิตที่ดีกว่า แต่สถานการณ์ในตะวันออกกลางขณะนี้มีความขัดแย้งรุนแรง

ประเมิน “ตากใบ-ไฟใต้” อะไรจะเกิดหลังคดีประวัติศาสตร์ขาดอายุความ

Loading

  ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านความมั่นคงชื่อดัง สะบัดปากกาอีกครั้ง ในห้วงใกล้ครบรอบ 20 ปีของเหตุการณ์ตากใบเต็มที   สาเหตุที่ต้องมีข้อเขียนแนวประเมินสถานการณ์ เพราะวาระครบรอบเหตุการณ์ตากใบปีนี้แตกต่างจากปีอื่นๆ เนื่องจากเป็นปีที่คดีตากใบจะขาดอายุความด้วย   และไม่ใช่ขาดแบบ “หายเงียบ” เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่เป็นการขาดอายุความโดยที่ศาลจังหวัดนราธิวาสประทับรับฟ้องคดี และอัยการสูงสุดก็มีคำสั่งฟ้องคดีต่อศาลปัตตานี รวมเป็น 2 สำนวนคดีแทบจะพร้อมกัน   เหตุนี้เองจึงทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้นำตัวผู้ที่ถูกฟ้องทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในชั้นศาล เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับผู้สูญเสีย   แต่การณ์กลับกลายเป็นว่าผู้ถูกฟ้อง 14 คนทั้ง 2 สำนวน ไม่มีใครไปปรากฏตัวที่ศาล หรือยอมเข้าสู่กระบวนการเลย   จึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง หนำซ้ำยังกระทบพรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำรัฐบาลเข้าอย่างจัง เนื่องจาก “จำเลยที่ 1” คนสำคัญที่สุด เป็น สส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรค   แม้สุดท้ายเจ้าตัวจะลาออกจากพรรคไปแล้ว แต่กระแสเรียกร้องให้พรรคแสดงความรับผิดชอบก็ยังไม่จบลง   อาจารย์สุรชาติ จึงตัดสินใจวิเคราะห์พร้อมตั้งคำถามถึงปัญหาชายแดนใต้ว่าจะมีทิศทางอย่างไรต่อไป โดยมองข้ามช็อตไปในโจทย์ที่ว่าคดีตากใบขาดอายุความ   การคาดการณ์ในทางรัฐศาสตร์และความมั่นคง สรุปได้ 15 ประเด็น…

นายกรัฐมนตรีอิสราเอลระบุ ฮิซบุลเลาะห์พยายามลอบสังหารด้วยโดรน

Loading

นายกรัฐมนตรีอิสราเอลกล่าวหากลุ่มฮิซบุลเลาะห์ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านว่า พยายามสังหารเขาเมื่อวันเสาร์ จากเหตุการณ์ที่บ้านพักของเขาถูกโดรนจากเลบานอนโจมตี

ทำไมสงครามอิสราเอลยังไม่จบ แม้กวาดผู้นำกลุ่มฮามาสเรียบ

Loading

  กลุ่มฮามาสสูญเสียผู้นำหลักทั้ง 3 คนไปแล้วด้วยฝีมืออิสราเอล แต่ทำไมสงครามที่กินเวลายาวนานมากว่า 1 ปีนี้จึงยังไม่สิ้นสุด?   เป็นที่แน่นอนว่า กลุ่มติดอาวุธฮามาสในฉนวนกาซาได้สูญเสียผู้นำหลักทั้ง 3 คน ได้แก่ อิสมาอิล ฮานิเยห์, โมฮัมเหม็ด เดอิฟ และล่าสุดคือ ยาห์ยา ซินวาร์ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   การสังหารซินวาร์ถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของอิสราเอลในสงครามกับกลุ่มฮามาส และเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่สำหรับกลุ่มฮามาส โดยเขาไม่ได้เสียชีวิตในปฏิบัติการที่กองกำลังพิเศษวางแผนไว้ แต่เสียชีวิตในการเผชิญหน้าโดยบังเอิญกับกองกำลังอิสราเอลในเมืองราฟาห์ ทางตอนใต้ของฉนวนกาซา     ภาพถ่ายที่ถ่ายในที่เกิดเหตุแสดงให้เห็นซินวาร์ในชุดพร้อมรบนอนเสียชีวิตอยู่บนซากปรักหักพังของอาคารที่ถูกกระสุนรถถังยิงใส่   เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล กล่าวชื่นชมทหารและย้ำว่า แม้ชัยชนะจะยิ่งใหญ่เพียงใด “แต่นี่ก็ไม่ใช่จุดจบของสงคราม”   เนทันยาฮูกล่าวว่า “วันนี้ เราได้แสดงให้ชัดเจนอีกครั้งว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ที่ทำร้ายเรา วันนี้ เราแสดงให้โลกเห็นอีกครั้งว่า ชัยชนะของความดีเหนือความชั่วมีอยู่จริง แต่สงครามยังไม่จบสิ้น มันยากลำบาก และมันกำลังทำให้เราต้องจ่ายราคาอย่างแพง”   เขาเสริมว่า “ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ยังรอเราอยู่ข้างหน้า เราต้องมีความอดทน ความสามัคคี ความกล้าหาญ และความมั่นคง…