แคสเปอร์สกี้ พบการโจมตีออนไลน์ในไทยลดลง ภัยคุกคามออฟไลน์กลับเพิ่มขึ้น

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ปี 2023 ของไทย ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บที่มีเป้าหมายโจมตีผู้ใช้เกือบ 13 ล้านรายการ   ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่เกิดและพบบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการรายงานจากสื่อต่างๆ การโจมตีทางไซเบอร์เหล่านี้ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ซึ่งเก็บข้อมูลส่วนบุคคล หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งที่ผ่านมาภัยคุกคามทางไซเบอร์สร้างความเสียหายทั้งต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ ธุรกิจเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้นทุกที   ในปี 2023 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการคุกคามเว็บจำนวน 12,923,280 รายการบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในประเทศไทยที่เข้าร่วม Kaspersky Security Network (KSN) ซึ่งมีสัดส่วนน้อยกว่าปีที่แล้ว 25.28% (17,295,702 รายการ)   การโจมตีผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เป็นวิธีการหลักในการแพร่กระจายโปรแกรมที่เป็นอันตราย การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในเบราว์เซอร์และปลั๊กอิน (ไดรฟ์บายดาวน์โหลด) รวมถึงวิศวกรรมสังคม เป็นวิธีที่อาชญากรไซเบอร์ใช้ในการเจาะระบบโดยทั่วไปมากที่สุด   แคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์โจมตีแบบออฟไลน์จำนวน 22,268,850 รายการ ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าปีที่แล้ว 4.36% (22,268,850 รายการ)   โดยส่วนใหญ่แล้ว เวิร์มและไฟล์ไวรัสเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในเครื่อง ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความถี่ที่ผู้ใช้ถูกโจมตีโดยมัลแวร์ที่แพร่กระจายผ่านไดรฟ์ USB แบบถอดได้ ซีดี…

Auto Blocker สำคัญยังไง บล็อกสแปมจากมิจฉาชีพได้จริงไหม? เช็คมือถือ/แท็บเล็ต Samsung Galaxy ได้อัปเดต One UI 6 ใช้ได้ทุกรุ่น

Loading

  หลังจากที่เริ่มทยอยให้ใช้กันสักพัก ล่าสุด Samsung จัดงานเพื่อตอกย้ำถึงการยกระดับความปลอดภัยจากการโจรกรรมทางไซเบอร์ ได้จัดงานแนะนำฟีเจอร์ Auto Blocker (ตัวบล็อกอัตโนมัติ) กับการช่วยป้องกันสแปม มัลแวร์ต่างๆ ผ่านมือถือซัมซุงกาแล็กซี่ ที่รองรับ One UI 6 โดยได้เชิญตำรวจไซเบอร์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาร่วมให้ข้อมูลภัยไซเบอร์อีกด้วย     โดย พลตำรวจตรี ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เผยสถิติแจ้งความออนไลน์ 9 เดือน ช่วงปี 2566 ว่าคิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวมที่เกิดขึ้นสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท จาก 185,814 คดี และมีจำนวนเคสเฉลี่ยต่อวันประมาณ 700 – 800 เคส   14 ประเภทคดีออนไลน์ที่คนไทยโดนหลอกมากสุด 17 มี.ค. – 31 ธ.ค. 2566 1. หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการไม่เป็นขบวนการ 82,902 คดี 2. หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานฯ…