“เกสตาโป” ตำรวจลับยุคฮิตเลอร์ ขาโหด-สอดส่อง-รวบตัวคนได้ทั่วแดนจริงหรือ?

Loading

    เยอรมนี ภายใต้ร่มเงา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นช่วงที่นักประวัติศาสตร์ล้วนอธิบายการเมืองการปกครองในห้วงนั้นว่าเป็นแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในระบอบนาซีคือหน่วย เกสตาโป (Gestapo) ตำรวจลับที่มีบทบาทสำคัญในการฝังความรู้สึกหวาดกลัวในหมู่พลเรือน คำถามคือ เรื่องนี้เป็นมายาคติ หรือเป็นเรื่องจริงที่มาจากหลักฐานอันมีน้ำหนักเพียงพอ? ในยุคนาซี ชาวเยอรมันคุ้นเคยกับการเรียกหน่วยงาน “ตำรวจ” ด้วยคำว่า Po เช่น ตำรวจฝ่ายอาชญากรรมเรียกว่า Kripo ตำรวจที่ดูแลรักษาความปลอดภัยเรียกว่า Sipo แต่ศัพท์เรียกหน่วยตำรวจซึ่งลือชื่อที่สุดต้องเป็นคำว่า “เกสตาโป” หรือ ตำรวจลับ ซึ่งเป็นคำที่จดจำยาวนานมาจนถึงวันนี้ ทั้งยังกลายเป็นคำศัพท์ที่สื่อถึงสิ่งที่ทำให้รู้สึกหวาดหวั่นในอำนาจการสอดส่องและการดำเนินการอันน่าสะพรึงกลัว การศึกษาเรื่อง “เกสตาโป” ยุคต้น งานศึกษา (เกี่ยวกับเกสตาโปและนาซี) โดยนักวิชาการผู้ศึกษาการเมืองในช่วงหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นงานที่เกิดขึ้นนอกอาณาเขตของเยอรมนี หนึ่งในผลงานที่ถูกกล่าวขานกันมากคืองานเขียน The Origins of Totalitarianism (หรือจุดกำเนิดของการปกครองแบบเผด็จการ) โดย ฮันนาห์ อาเรนด์ท (Hannah Arendt) เธอวิเคราะห์และอธิบายการปกครองแบบลัทธินาซีและลัทธิสตาลิน เธอบ่งชี้ว่า รัฐที่ปกครองในระบอบเผด็จการ “ทุกแห่ง” ล้วนพึ่งพิง “ตำรวจลับ” (secret…

รู้จัก ‘ตำรวจลับ’ รัฐบาลทหารพม่า เครื่องมืออำมหิตที่ใช้ปราบฝ่ายประชาธิปไตย

Loading

  บทความในอิรวดีพูดถึงบทบาท ‘ตำรวจลับ’ ของเผด็จการพม่าที่ใช้สอดแนม-ปราบปรามฝ่ายตรงข้าม และล่าสุดยุครัฐบาลทหารมินอ่องหล่าย นอกจากเครือข่ายที่ใช้จับตาความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านเผด็จการพลัดถิ่นที่อยู่ในไทยแล้ว ยังพบว่าผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและปฏิรูปการเมืองช่วงรัฐบาลเต็งเส่ง ก็ยังกลายเป็นผู้ให้ข้อมูลกับตำรวจลับพม่าอีกด้วย   เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสที่เชี่ยวชาญประเด็นพม่าเขียนบทความเผยแพร่ในอิรวดี เมื่อ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา พูดถึงการที่เผด็จการพม่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการใช้ “ตำรวจลับ” เพื่อคอยสอดแนมและปราบปรามฝ่ายประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งในประนอกประเทศ รวมถึงมีตำรวจลับเหล่านี้ในประเทศไทยด้วย แต่เผด็จการในยุคต่างๆ ก็มีการกวาดล้างเหล่าตำรวจลับพวกนี้เองและตั้งหน่วยใหม่ในชื่อใหม่ขึ้นมาตั้งแต่ยุคของเนวิน มาจนถึงเผด็จการมินอ่องหล่ายในปัจจุบัน   โดยเผด็จการเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องมี “ตำรวจลับ” เอาไว้ใช้งานเพื่อที่จะคงอยู่ในอำนาจได้ และยิ่งตำรวจลับเหล่านี้ มีความโหดเหี้ยมอำมหิตมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลดีกับพวกเขามากขึ้นเท่านั้น พวกนาซีเคยมีตำรวจลับชื่อหน่วยเกสตาโป ชาห์แห่งอิหร่านเคยอาศัยหน่วยซาวัคเป็นตำรวจลับและหน่วยข่าวกรอง เผด็จการแห่งโรมาเนีย นิโคแล โจเชสกู มี “กรมความมั่นคงแห่งรัฐ” ส่วนนายพลพม่านั้นมีหน่วยข่าวกรองของตนเอง ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อหลายชื่อในช่วงเวลาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงเป็นเสาหลักทางอำนาจให้กับรัฐเผด็จการทหาร   แต่ด้วยความที่ว่า หน่วยตำรวจลับของพม่านั้นมีลักษณะปกปิดเป็นความลับ ทำให้มีอยู่อย่างน้อยสองครั้งที่หน่วยงานข่าวกรองกองทัพพม่าเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบรัฐซ้อนรัฐ ซึ่งกลายเป็นภัยต่อระเบียบรัฐแบบดั้งเดิม ทำให้มีการกวาดล้างผู้นำของตำรวจลับบางส่วนโดยมีการลงโทษคุมขังพวกเขาเป็นเวลายาวนาน   เรื่องนี้ทำให้ผู้นำเผด็จการพม่าเริ่มหันมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ตำรวจลับมีความจงรักภักดีต่อพวกเขาโดยไม่ตั้งคำถามใดๆ นั่นกลายเป็นสาเหตุที่มินอ่องหล่าย ผู้นำระดับสูงของกองทัพและผู้นำเผด็จการทหารยุคปัจจุบัน ได้ให้ผู้นำระดับสูงของหน่วยข่าวกรองอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเผด็จการคนก่อนๆ   พล.ท.เยวินอู ผู้ที่เป็นประธานของหน่วยงานที่ชื่อว่า สำนักงานแห่งกิจการความมั่นคงเสนาธิการทหาร…

ฮือฮา! ค่าตำรวจลับสหรัฐฯ อารักขา “อิวองกา” ตก 140,000 ดอลลาร์/เดือนหลังทรัมป์พ้นตำแหน่ง

Loading

  เอเจนซีส์ – กลุ่มวอชด็อกภาคสังคมอเมริกันชนชี้ คนอเมริกันต้องจ่ายภาษีค่าตำรวจลับอารักขาลูกๆ ที่โตแล้วของอดีตผู้นำสหรัฐฯ 4 คน รวมบุตรสาวคนโต อิวองกา ทรัมป์และครอบครัวที่มีบุตรเขยรวมอยู่ในนั้น หลังทรัมป์ลงจากตำแหน่งในเดือนมกราคมตก 140,000 ดอลลาร์/เดือน แต่คนทั้งหมดถูกตัดการเข้าถึงข้อมูลชั้นความลับ หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษ รายงานเมื่อวานนี้ (8 พ.ค.) ว่า ตามปกติแล้วครอบครัวหมายเลข 1 ของสมาชิกครอบครัวของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะหมดสมัยจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากตำรวจลับสหรัฐฯ อีกต่อไป เว้นแต่ในกรณีของบุตรที่โตแล้วทั้ง 4 คนของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เนื่องจากว่าทรัมป์ในสมัยที่ยังคงอยู่ในตำแหน่งเขาได้ลงนามคำสั่งขยายการคุ้มครองออกไปอีกครึ่งปีหลังจากที่เขาไม่ได้เป็นประธานาธิบดีอีกต่อไป   อ้างอิงจากกลุ่มพลเมืองเพื่อจริยธรรม (Citizens for Ethics) ซึ่งเป็นกลุ่มตรวจสอบภาคสังคมได้ยื่นขอให้มีการเปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่รวมอยู่กับการอารักขาที่บ้านพักต่างๆ ของทรัมป์ ได้แก่ รัฐนิวเจอร์ซีย์ เมืองปาล์มบีช รัฐฟลอริดา ไบรอาร์คลิฟ (Briarcliff) รัฐนิวยอร์ก ซึ่งหากว่ารวมปัจจัยเหล่านี้เข้าไป ทางกลุ่มชี้ว่าตัวเลขจะสูงกว่านี้มาก ทางกลุ่มชี้ว่าหลังผู้เป็นพ่อต้องลงจากตำแหน่งแต่ลูกๆ ของทรัมป์ยังคงเดินทางไปยังที่ต่างๆ และทำให้ค่าใช้จ่ายของทีมอารักขาทั้งในด้านโรงแรมและการเดินทางพุ่ง โดยค่าใช้จ่ายทางการเดินทางตก 52,296.75 ดอลลาร์ และค่าโรงแรมตกไม่ต่ำกว่า…