เจอช่องโหว่ AI คายความลับ เข้ารหัสดักฟังข้อมูล

Loading

แม้ผู้ช่วยอัจฉริยะ (AI Assistant) จะเหมือนเพื่อนสนิทที่ไว้ใจปรึกษาเรื่องต่างๆ ได้ แต่การสื่อสารที่เข้ารหัสกับ AI อาจไม่ปลอดภัย 100% โดยล่าสุด นักวิจัยชาวอิสราเอล ค้นพบช่องโหว่ที่แฮ็กเกอร์สามารถดักฟังข้อมูลจากการตอบกลับที่เข้ารหัสของ AI ได้

เกิดอะไรขึ้น ระบบความปลอดภัยโดนแฮ็ก ขโมย คีย์ถอดรหัส BitLocker

Loading

  BitLocker เป็นระบบเข้ารหัสข้อมูลภายใน Windows ถือเป็นเกราะป้องกันไฟล์สำคัญและข้อมูลส่วนตัว อาศัยการเข้ารหัสแบบ AES ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานที่ต้องการเสริมความมั่นคงอีกชั้น แต่ล่าสุด มันถูกพบว่า ระบบนี้สามารถถูกถอดรหัสได้ง่าย ๆ ด้วยอุปกรณ์ราคาถูกที่หาซื้อได้ทั่วไป   นักวิจัยด้านความปลอดภัยชื่อว่า Stacksmashing ได้สาธิตผ่านวิดีโอบน YouTube ว่า แฮ็กเกอร์สามารถขโมยคีย์ถอดรหัส BitLocker จากคอมที่ใช้งาน Windows ภายในเวลาเพียง 43 วินาที ด้วยอุปกรณ์ Raspberry Pi Pico มูลค่าแค่เพียง $4 เท่านั้น   สิ่งนี้เกิดจากช่องโหว่ด้านการออกแบบเมนบอร์ดหรืออุปกรณ์ที่ใช้ TPM แบบแยก หรือ External TPM โดยจะอยู่บนแล็ปท็อปและเดสก์บางรุ่น ซึ่งบางครั้ง BitLocker จะเรียกใช้งาน TPM ภายนอกในการเก็บข้อมูลสำคัญ เช่น Platform Configuration Registers และ Volume Master Key  …

The Imitation Game ดีเอ็นเออังกฤษรากเหง้าเอไอ | หนังเล่าโลก

Loading

  สัปดาห์ก่อนผู้คนในแวดวงเทคโนโลยีและสตาร์ทอัปต่างตื่นเต้นกับงาน Techsauce Global Summit 2023 งานประชุมด้านเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ที่จัดงาน UK AI Week Bangkok และปิดฉากอย่างสวยงามด้วยงาน Turing Night ฉายภาพยนตร์เรื่อง The Imitation Game   The Imitation Game ปี 2014 ผลงานการกำกับของ มอร์เทน ไทล์ดัม (Morten Tyldum) ภาพยนตร์อัตชีวประวัติของอลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์ชาวสหราชอาณาจักร เน้นเรื่องราวตอนที่เขาทำงานอยู่ที่เบลชลีย์ พาร์คระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลอังกฤษมีโครงการลับถอดรหัสลับนาซีจากเครื่องอินิกมา โดยทีมงานสุดยอดอัจฉริยะเพียง 5-6 คนซึ่งอลันเป็นหนึ่งในนั้น แต่ละวันมีพนักงานตรวจจับข้อความจากนาซีเยอรมนีได้เป็นจำนวนมาก หากถอดรหัสข้อความธรรมดาสามัญเหล่านี้ได้ฝ่ายสัมพันธมิตรก็จะทราบได้ว่านาซีจะโจมตีที่ไหนแล้วแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน   แต่ความยากอยู่ตรงที่เครื่องอินิกมาสามารถเข้ารหัสได้ถึง 15 ล้านล้านแบบ และตั้งรหัสใหม่ทุกเที่ยงคืน ข้อความแรกที่ฝ่ายสัมพันธมิตรตรวจจับได้มักมาในเวลา 6.00 น. เท่ากับว่า พวกเขามีเวลาเพียง 18 ชั่วโมงในการใช้มนุษย์…