จิตวิทยานิวเคลียร์

Loading

  เกาหลีเหนือ และอิหร่าน อาจกำลังผลักดันแผนนิวเคลียร์ของพวกเขา และประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ข่มขู่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์อันทรงพลัง กระนั้น ผู้สันทัดกรณีระดับสูงกล่าวว่า มันยังไม่มีความเสี่ยง ที่จะเกิดเหตุการณ์อันตรายแต่อย่างใด   “ระเบียบนิวเคลียร์อาจถูกโจมตี มีความสั่นคลอน หรือเป็นที่โต้แย้ง แต่รากฐานของมันยังมั่นคง และองค์ประกอบสำคัญที่สุดยังคงมีอยู่” นายบรูโน แตร์เตรส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ และรองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (เอฟอาร์เอส) ซึ่งเป็นคลังสมองของฝรั่งเศส กล่าวในการให้สัมภาษณ์ “เกาหลีเหนือ, จีน, อินเดีย และปากีสถาน ยังคงมุ่งมั่นที่จะสถาปนาตนเองเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ และไม่สนใจคำร้องขอ หรือแม้แต่การปลดอาวุธ”   ขณะเดียวกัน เกาหลีเหนือยกระดับสถานะของตัวเองเมื่อปีที่แล้ว ด้วยการระบุในรัฐธรรมนูญ ว่าเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ และทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป (ไอซีบีเอ็ม) หลายครั้ง ซึ่งเป็นการละเมิดมติของสหประชาชาติ (ยูเอ็น)   แตร์เตรส์ กล่าวว่า ท่าทีก้าวร้าวของเกาหลีเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของ “นโยบายป้องปราม” พร้อมกับชี้ว่า รัฐบาลเปียงยางต้องการย้ำเตือนโลก เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของตนเอง หลังประเทศมหาอำนาจของโลก หันไปให้ความสนใจกับความขัดแย้งในยูเครน และฉนวนกาซา  …

ผู้นำเกาหลีเหนือกำลังเตรียมทำสงครามกับเกาหลีใต้จริงหรือ

Loading

REUTERS   ผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลีเหนือ ปกติแล้ว จะเป็นกลุ่มคนที่ระมัดระวัง ไม่สร้างความแตกตื่นใด ๆ ระหว่างสองเกาหลี แต่ตอนนี้ พวกเขากำลังตื่นตัวจากความเคลื่อนไหวของผู้เชี่ยวชาญ 2 คน   ย้อนไปสัปดาห์ก่อน นักวิเคราะห์สถานการณ์เกาหลีเหนือที่ทรงอิทธิพล 2 คน ได้ทำสิ่งที่เรียกว่าเหมือน “ทิ้งระเบิด” ด้วยการแสดงความเห็นว่า ผู้นำเกาหลีเหนือกำลังเตรียมทำสงคราม   ต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ คิม จอง-อึน ได้ยกเลิกเป้าหมายแห่งการปรองดองและรวมชาติกับเกาหลีใต้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เขาประกาศว่า เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เป็นประเทศที่แยกกัน และกำลังทำสงครามกัน   “เราเชื่อว่า คิม จอง-อึน ได้ตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์แล้วว่าจะทำสงคราม เหมือนสมัยปู่ของเขาเมื่อปี 1950” โรเบิร์ต แอล คาร์ลิน อดีตนักวิเคราะห์สำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ หรือ ซีไอเอ พร้อมกับ ซีกไพรด์ เอส เฮกเกอร์ นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ที่เดินทางไปเกาหลีเหนือมาหลายครั้ง ได้กล่าวในบทความบนเว็บไซต์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเกาหลีเหนือ ชื่อ “38 North”   การประกาศเช่นนี้…

เกาหลีใต้ชี้นิวเคลียร์เกาหลีเหนือ “ไม่ใช่เรื่องไกลตัว” ขออาเซียนร่วมมือ

Loading

  ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เรียกร้องกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มพูนความร่วมมือกับรัฐบาลโซล เพื่อยับยั้งภัยคุกคามจากอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ว่า หนังสือพิมพ์ คอมพาส ของอินโดนีเซีย เผยแพร่บทสัมภาษณ์ประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล ผู้นำเกาหลีใต้ ว่าการยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ “ยังคงเป็นภัยคุกคามภายนอกโดยตรง” ที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเพียงเกาหลีใต้ แต่ยังรวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นพันธมิตรของรัฐบาลโซลด้วย   Yoon says N. Korea poses direct threats to ASEAN https://t.co/gVAYddAaB9 — Yonhap News Agency (@YonhapNews) September 5, 2023   ดังนั้น เกาหลีใต้และสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) “ต้องตอบสนองอย่างเด็ดขาด” และ “ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด” เพื่อนำไปสู่การปลดนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี อาเซียนและเกาหลีใต้ ต้องยกระดับความร่วมมือ เพื่อให้ระเบียบโลกที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ สามารถฝังรากได้อย่างลึกซึ้งและเข็งแกร่ง ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก…

เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ 2 ลูก ตอบโต้ซ้อมรบร่วมสหรัฐฯ-เกาหลีใต้

Loading

  เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ 2 ลูกตกลงในทะเลตะวันออกเพื่อตอบโต้การซ้อมรบร่วมครั้งใหญ่ด้วยกระสุนจริงของสหรัฐฯ และเกาหลีใต้   สำนักงานคณะเสนาธิการทหารร่วมเกาหลีใต้รายงานว่ากองทัพเกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธนำวิถี 2 ลูก เมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการฝึกซ้อมรบร่วมด้วยกระสุนจริง ระหว่างกองทัพเกาหลีใต้กับสหรัฐ ที่ดำเนินการใกล้กับเขตปลอดทหาร ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา ขีปนาวุธทั้ง 2 ลูกถูกยิงมาจากภูมิภาคซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเปียงยาง โดยเคลื่อนที่ในอากาศเป็นระยะทาง 780 กิโลเมตร ก่อนตกลงในทะเลตะวันออกบริเวณคาบสมุทรเกาหลีและทะเลญี่ปุ่น   ภาพ AFP   การทดสอบอาวุธครั้งใหม่ของเกาหลีเหนือเกิดขึ้น หลังจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ ประกาศว่า จะทำการตอบโต้ต่อแผนการร่วมซ้อมรบด้วยการใช้กระสุนจริงระหว่างกองทัพสหรัฐฯ และเกาหลีใต้   ขณะที่ นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ผู้นำญี่ปุ่น ประณามการยิงขีปนาวุธครั้งล่าสุดของเกาหลีเหนือ ว่าเป็นการละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และยกระดับการยั่วยุต่อประชาคมนานาชาติทั้งหมด   กระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่นยืนยันว่า นี่เป็นครั้งที่ 13 ที่จรวดที่เกาหลีเหนือยิงมาตกภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) ของประเทศ โดยขีปนาวุธพิสัยไกลทั้ง 2 ลูก ตกห่างจากเกาะเฮะกุระ ของจังหวัดอิชิกาวะ ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว…

เกาหลีเหนือโวทดสอบขีปนาวุธ ICBM ‘เชื้อเพลิงแข็ง’ สำเร็จ เตือนศัตรูจะต้องเผชิญ ‘ความกลัวสุดขีด’

Loading

  เกาหลีเหนือประกาศความสำเร็จในการยิงทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีปรุ่นใหม่ “ฮวาซอง-18” ซึ่งใช้เชื้อเพลิงชนิดแข็ง (solid-fuel intercontinental ballistic missile) โดยอ้างว่าจะช่วยยกระดับศักยภาพในการโจมตีตอบโต้ด้วยนิวเคลียร์อย่างมีนัยสำคัญ   สำนักข่าว KCNA รายงานวันนี้ (14 เม.ย.) ว่า ผู้นำ คิม ได้เดินทางไปมอบคำแนะนำในการยิงทดสอบด้วยตนเอง และเตือนว่าขีปนาวุธรุ่นนี้จะทำให้บรรดาศัตรูของเกาหลีเหนือ “ต้องเผชิญกับวิกฤตด้านความมั่นคงที่ชัดเจน และเกิดความกังวลและหวาดกลัวอย่างสุดขีด (extreme uneasiness and horror) เพราะมันจะช่วยให้เกาหลีเหนือสามารถโจมตีตอบโต้ได้อย่างรุนแรง จนกระทั่งพวกเขาต้องยอมหยุดความคิดและการกระทำที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ”   KCNA ได้เผยแพร่ภาพผู้นำ คิม ชมการปล่อยจรวดฮวาซอง-18 พร้อมกับภริยา “รี ซอลจู” น้องสาว “คิม โยจอง” และบุตรสาวคนโปรด “คิม จูแอ”   “โครงการพัฒนา ICBM รุ่นใหม่ ฮวาซองโพ-18 จะปฏิรูปองค์ประกอบในด้านการป้องปรามทางยุทธศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (DPRK) ได้อย่างมีนัยสำคัญ ตลอดจนส่งเสริมประสิทธิภาพในการโจมตีตอบโต้ด้วยนิวเคลียร์ และสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อยุทธศาสตร์ทางทหารเชิงรุก”   ขีปนาวุธดังกล่าวถูกปล่อยจากฐานยิงใกล้ ๆ…

อินเดียทำสำเร็จ! ทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถี จากเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ผลิตเอง

Loading

แฟ้มภาพรอยเตอร์   อินเดียทำสำเร็จ! ทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถี จากเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ผลิตเอง   สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า อินเดียทำการทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถีที่ยิงจากเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ผลิตเองลำแรกเป็นผลสำเร็จ ในการทดสอบที่มีขึ้นในวันศุกร์ (14 ต.ค.) ที่ผ่านมา ในความพยายามเพิ่มขีดความสามารถในการโจมตีของกองทัพอินเดีย   การทดสอบความสามารถในการยับยั้งป้องปรามอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดียดังกล่าว ทำให้ประเทศในเอเชียใต้แห่งนี้ เป็นหนึ่งใน 6 ประเทศนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน ที่มีความสามารถในการโจมตีและต่อต้านการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ทางบก ทางทะเลและทางอากาศ   “การยิงทดสอบครั้งนี้มีความสำคัญในการพิสูจน์ความสามารถและความสมบูรณ์ของเรือดำน้ำติดขีปนาวุธนำวิถี ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสามารถในการป้องปรามด้านนิวเคลียร์ของอินเดีย” กระทรวงกลาโหมอินเดียระบุ และว่า ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดค่าปฏิบัติการและเทคโนโลยีทั้งหมดของระบบอาวุธที่ยิงจาก INS Arihant ในอ่าวเบงกอลได้ผ่านแล้ว   ทั้งนี้อินเดียได้ต่อสู้ในสงครามมาหลายครั้งและมีปัญหาพิพาทเรื่องพรมแดนกับปากีสถานและจีน ซึ่งเป็นชาติเพื่อนบ้านคู่ปรับมาอย่างยาวนาน เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ยังได้เปิดตัวฝูงเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่อินเดียผลิตเองเป็นชุดแรก ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในพื้นที่สูง เช่น เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอินเดียเกิดการปะทะกับจีนในปี 2020       ———————————————————————————————————– ที่มา :   …