ลูกชาย “ทรัมป์” โดนแฮ็ก โพสต์ปล่อยข่าว “โดนัลด์ ทรัมป์” เสียชีวิต

Loading

ข้อความหยาบคาย และเฟกนิวส์ ถูกโพสต์จากแอคเคานต์ส่วนตัวของ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายคนโตของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 10 ล้านคน อาทิ “ผมเสียใจที่ต้องประกาศว่า พ่อของผม โดนัลด์ ทรัมป์ เสียชีวิตแล้ว และผมจะลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีปีหน้า”

“เอ็กซ์” จ่อเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล, ประวัติการทำงาน และการศึกษาของผู้ใช้งาน

Loading

  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “เอ็กซ์” (X) หรือชื่อเดิมทวิตเตอร์ ได้ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อเก็บข้อมูลผู้ใช้งานประเภทใหม่ ได้แก่ ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่ใช้พิสูจน์ตัวตนบุคคล   เอ็กซ์ระบุในนโยบายที่ปรับปรุงใหม่ว่า “เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งาน เราอาจเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลของคุณเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และการระบุตัวตน” แม้เอ็กซ์ไม่ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล แต่บริษัทอื่นมักใช้คำดังนี้เพื่ออธิบายถึงข้อมูลที่ดึงมาจากลักษณะใบหน้า ดวงตา และลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล   นอกจากนี้ เอ็กซ์กล่าวเสริมว่า บริษัทยังมีความตั้งใจที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและประวัติการศึกษาของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน   นโยบายความเป็นส่วนตัวที่ปรับปรุงใหม่ระบุว่า “เราอาจเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เช่น ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา งานที่ชอบ ทักษะและความสามารถ กิจกรรมการค้นหางานและการมีส่วนร่วม และอื่น ๆ เพื่อแนะนำงานที่เหมาะสำหรับคุณ ตลอดจนแบ่งปันข้อมูลกับผู้ที่อาจมาเป็นนายจ้างของคุณ เพื่อที่นายจ้างจะสามารถค้นหาผู้สมัครงานที่มีศักยภาพ และเพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องแก่คุณมากขึ้น”   ทั้งนี้ บรรดาบริษัทโซเชียลมีเดียต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานและหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบทั่วโลกเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและวิธีการที่นำข้อมูลไปใช้ รวมถึงการขายโฆษณาที่มีการปรับให้เหมาะกับความสนใจของบุคคลและประวัติการค้นหา       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                 …

โจรไซเบอร์ ใช้เครื่องหมายติ๊กถูกบน X บัญชีปลอม-ลวงเหยื่อ

Loading

  อาชญากรไซเบอร์ ใช้เครื่องหมายติ๊กถูกบน X สร้างความน่าเชื่อถือ-หลอกลวงเหยื่อ   ก่อนหน้านี้ ทาง X ออกมาเปลี่ยนนโยบายของบัญชีที่มี “X Premium” (Twitter Blue ในชื่อเดิม) หรือเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้า จากแต่เดิมคือ ต้องเป็นบุคคลสาธารณะหรือบัญชีทางการของบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ เท่านั้นถึงจะสามารถมีเครื่องหมายดังกล่าวได้ เปลี่ยนมาเป็นทุกบัญชีสามารถมีเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าได้ เพียงจ่าย 11 ปอนด์ต่อเดือนเท่านั้น (ราว 488 บาท)     ทำให้ ลิซ่า เวบบ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายขององค์กร Which? องค์กรรณรงค์การคุ้มครองผู้บริโภคกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของบัญชีที่มี X Premium ทำให้มีโอกาสการเกิดอาชญากรรมไซเบอร์บนแพลตฟอร์ม X เพิ่มขึ้น เนื่องจากทุกบัญชีที่จ่ายค่า X Premium สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้ตนเองได้ทุกบัญชี   เดอะการ์เดียน สื่อดังจากอังกฤษ รายงานกรณีตัวอย่างว่า พบผู้เสียหายรายหนึ่งที่ถูกอาชญากรไซเบอร์เล็งโจรกรรมข้อมูลผ่านบัญชี X (ทวิตเตอร์ในชื่อเดิม) ที่อาศัยเครื่องหมายติ๊กถูกสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ยืนยันบัญชีของบุคคลหรือบริษัทอย่างเป็นทางการ แอบอ้างเป็นบริษัทจองโรงแรมและเที่ยวบินอย่าง…

ทุกคนรู้ โลกรู้ Twitter เจอบั๊ก โชว์ข้อความสุดลับจากวงใน

Loading

  ระวังความลับของเราอาจจะถูกเปิดเผย   หลังจาก Twitter ได้เพิ่มฟีเจอร์หลากหลายเข้ามาในแอปพลิเคชันเผื่อดึงดูดผู้ใช้งานมากขึ้น หนึ่งในฟีเจอร์ที่ใครหลาย ๆ คนในความสนใจก็คือ Twitter Circle หรือ ทวิตเตอร์วงใน ที่สามารถใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องเสียค่าสมาชิก   Twitter Circle จะคล้าย ๆ กับฟีเจอร์ Close Friends ในแอปอินสตาแกรม ที่เราจะสามารถเลือกเฉพาะเพื่อนสนิท หรือบุคคลที่เราอยากจะให้เห็นข้อความนั้น ๆ ได้   แต่จะทำอย่างไรเมื่อฟีเจอร์เก็บความลับจะไม่ลับอีกต่อไป!   เมื่อช่วงอาทิตย์ก่อนมีผู้ใช้งานหลายคน สามารถเข้าถึงและดูข้อความวงในของคนอื่นได้ ทั้งๆที่ตัวเองไม่ได้อยู่ในรายชื่อเพื่อนสนิท แถมไม่ต้องเป็นเพื่อนกันก็เห็น เพราะข้อความลับมันปรากฎขึ้นและแสดงบนหน้าฟีดสาธารณะ (For You) ให้กับผู้ใช้อื่น ๆ แบบอัตโนมัติ   มันจะแสดงข้อความดังกล่าวขึ้นมา สามารถกดถูกใจข้อความได้แต่ปุ่มรีทวีตจะถูกปิดใช้งาน หรือถ้าหากคุณคลิกเข้าไปที่ทวีตนั้นจะหายไปราวกับว่าถูกลบไปแล้ว แต่เมื่อย้อนกลับไปในหน้าฟีดข้อความก็ยังคงแสดงอยู่   ไม่รู้ว่าสาเหตุของปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจากบั๊กหรือการปรับอัลกอริทึมหลังบ้าน จนทำให้ฟีเจอร์ Twitter Circle ออกมาสู่สาธารณะแบบนี้ได้อย่างไร แต่ใด ๆ ก็ไม่มีการอัปเดทจาก Twitter…

Twitter ใช้กระบวนการทางกฎหมาย สั่งลบโพสต์ซอร์สโค้ดที่รั่วไหลสู่โลกออนไลน์

Loading

    ทวิตเตอร์ แพลตฟอร์มที่ อีลอน มัสก์ เป็นเจ้าของ หวังใช้กระบวนการทางกฎหมาย เพื่อให้ระบุตัวคนที่ปล่อยซอร์สโค้ดออกสู่โลกออนไลน์   ทวิตเตอร์ เปิดเผยว่า ซอร์สโค้ดบางส่วนของบริษัทถูกเผยแพร่ลงสู่โลกออนไลน์ โดย อีลอน มัสก์ ในฐานะเจ้าของทวิตเตอร์ จะใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อระบุตัวคนที่เปิดเผยซอร์สโค้ดที่ว่านี้   ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ได้ยื่นเรื่องต่อศาลเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา โดยทวิตเตอร์ได้เรียกร้องให้ กิตฮับ (Github) ซึ่งเป็นบริการแบ่งปันโค้ดในโลกออนไลน์ ระบุตัวคนที่ปล่อยซอร์สโค้ดของทวิตเตอร์ลงสู่กิตฮับ   แม้ในเวลาต่อมา กิตฮับ จะได้ลบโพสต์ที่มีโค้ดดังกล่าวออกไปแล้วก็ตาม แต่ศาลได้สั่งให้กิตฮับระบุตัวผู้ที่ปล่อยซอร์สโค้ดดังกล่าว   จากประเด็นดังกล่าว ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในวงการความมั่นคงทางไซเบอร์ มีความเป็นกังวลว่า ซอร์สโค้ดที่หลุดรั่วออกไปนั้น อาจทำให้เกิดช่องโหว่ความปลอดภัยของทวิตเตอร์ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลในเชิงพาณิชย์ที่มีความละเอียดอ่อน         อ้างอิง  The Guardian           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :   …

สมาชิกตาลีบันจ่ายเงินซื้อ “เครื่องหมายยืนยันตัวตน” บนทวิตเตอร์

Loading

    สมาชิกรัฐบาลตาลีบันบางคนมีเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าหลังชื่อบัญชีทวิตเตอร์แล้ว หลังยอมจ่ายเงินแลกตามนโยบายใหม่ของ อีลอน มัสก์   หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงใหญ่ของทวิตเตอร์ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดัง นับตั้งแต่การเข้ามาของ อีลอน มัสก์ ก็คือเรื่องของเครื่องหมายยืนยันตัวตน “บลูมาร์ก” หรือเครื่องหมายติ๊กถูกหลังชื่อบัญชีผู้ใช้ ที่เมื่อก่อนเป็นสัญลักษณ์ของความน่าเชื่อของบุคคลนั้น   มัสก์ต้องการสร้างรายได้จากจัดเก็บเงิน “ค่ายืนยันตัวตน” ให้คนทั่วไปสามารถมีเครื่องหมายยืนยันตัวตนหลังชื่อบัญชีของตัวเองได้ในราคา 8 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนสำหรับผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ และ 11 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์ iOS     ผู้ที่ได้รับเครื่องหมายบลูมาร์กนี้จะสามารถเข้าถึงฟีเจอร์พิเศษของทวิตเตอร์ได้ เช่น ฟีเจอร์เซฟข้อความทวีตพร้อมแยกหมวดหมู่ หรือฟีเจอร์ Undo ข้อความที่ทวีตไป เป็นต้น   ส่วนบัญชีผู้ใช้งานที่มีความน่าเชื่อถือเดิมนั้น หากเป็นบุคคลสาธารณะจะยังคงมีเครื่องหมายบลูมาร์กสีฟ้าอยู่ ซึ่งหากกดเข้าไปดูจะเขียนว่า “บัญชีนี้ได้รับการยืนยันเนื่องจากเป็นบัญชีที่มีชื่อเสียงในหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับรัฐบาล ข่าว ความบันเทิง หรืออื่น ๆ” ส่วนอีกประเภทจะเขียนว่า “นี่คือบัญชีแบบเดิมที่ยืนยันแล้ว ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีชื่อเสียงก็ได้”   ซึ่งผู้รับสารจะต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าบัญชีที่เผยแพร่ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ นั้นเป็นบัญชีประเภทไหน เป็นบัญชีที่ทวิตเตอร์รับรองความน่าเชื่อถือให้เอง หรือเป็นบัญชีที่จ่ายเงินซื้อบลูมาร์กมา   ขณะที่บัญชีที่เป็นขององค์กรหรือบริษัทเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือ…