แอป ThaiD เพิ่มสูติบัตร ทะเบียนสมรส และทะเบียนหย่า

Loading

กระทรวงมหาดไทย   เพิ่มสูติบัตร ทะเบียนสมรส และทะเบียนหย่า จากเดิมที่สามารถแสดงได้ 2 เอกสารคือ บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน โดยผู้ใช้บริการสามารถแสดงเอกสารดิจิทัลผ่านแอปแทนการใช้เอกสารตัวจริงได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในด้านเอกสารงานทะเบียนเพิ่มมากขึ้น   น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ล่าสุดแอป ThaiD ได้เพิ่มเติมการแสดงเอกสารดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน ThaID อีก 3 รายการ ได้แก่ ทะเบียนสมรส ทะเบียนการหย่า สูติบัตร โดยผู้ใช้บริการสามารถแสดงเอกสารดิจิทัลนี้ผ่านแอปพลิเคชันที่ติดตั้งเครื่องมือสื่อสารเช่นโทรศัพท์มือถือแทนการเอกสารตัวจริงได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งการเพิ่มเติมนี้เป็นการพัฒนาที่ต่อเนื่องจากที่ช่วงต้นปี 67 ที่ผ่านมาได้มีการเพิ่มบริการ แจ้งย้ายทะเบียนบ้านและคัดรับรองเอกสารทางทะเบียน ได้แก่ แบบรับรองรายการบุคคล (ทร.14/1) แบบรับรองรายการประวัติบุคคล (ทร.12/2) และแบบรับรองการเกิด(สูติบัตร) (ทร.1/ก) บนแอปพลิเคชัน ThaID ด้วย   “กระทรวงมหาดไทยขอเชิญชวนให้ประชาชนใช้แอปพลิเคชัน ThaID เพราะระบบนี้จะให้ใช้ชีวิตได้สะดวกสบายขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่างๆ แทนบัตรประชาชนตัวจริงได้ ในแอปฯ…

ส่องเงื่อนไข การใช้ “ทะเบียนบ้าน ระบบดิจิทัล” ใช้งานผ่านแอปฯบนมือถือ

Loading

  กระทรวงมหาดไทย ประกาศ “ทะเบียนบ้าน” ระบบดิจิทัล ใช้งานฟรีผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ ส่องเงื่อนไขก่อนตกเทรนด์ กระทรวงมหาดไทยประกาศให้ใช้ทะเบียนบ้านใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นมือถือ และยังให้ใช้บริการฟรีในปีแรก ซึ่งล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการ “ทะเบียนบ้าน” ด้วยระบบดิจิทัล ปี 2565 เริ่มเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป     โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงมหาดไทย ได้พัฒนาระบบการพิสูจน์ยืนยันตัวตนทางดิจิทัลและแอปพลิเคชั่นบนมือถือแบบสมาร์ทโฟนสำหรับจัดเก็บข้อมูล และเรียกใช้งานทะเบียนบ้าน Digital ID ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น และลงทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนอำเภอ หรือสำนักงานทะเบียนท้องถิ่น เพื่อยืนยันตัวตนผ่านระบบตรวจสอบลายนิ้วมือและภาพใบหน้า พร้อมรับรหัสผ่านเข้าใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่น     ทั้งนี้สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง “ทะเบียนบ้านผ่านมือถือ” มีดังนี้ – กำหนดให้สำนักงานทะเบียนกลาง จัดให้มีการบริการงานทะเบียนด้วยระบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนได้รับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลแล้วสามารถขอรับบริการผ่านระบบดิจิทัลได้ด้วยตนเอง – วิธีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม และการรับรองรายการทะเบียนที่เกิดจากการบริการด้วยระบบดิจิทัล ให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด โดยระยะเริ่มแรกจะยกเว้นค่าธรรมเนียมการแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางอัตโนมัติ เป็นเวลา 1 ปี     นอกจากนี้ในระยะแรกจะเปิดให้บริการ “ทะเบียนบ้าน” ผ่านมือถือเกี่ยวกับ –…