กองทัพจีนใช้กลยุทธ์ ‘เรือพลเรือน’ ขยายปฏิบัติการทางทหาร

Loading

South China Sea   จีนเริ่มดำเนินยุทธศาสตร์การขยายอิทธิพลทางทหารของตนอย่างเงียบ ๆ มาสักระยะหนึ่งแล้ว โดยแฝงตัวอยู่ในรูปของเรือที่ไม่ได้เป็นของกองทัพ อย่างเช่น เรือด้านการวิจัยของจีนที่ติดตั้งอุปกรณ์เฝ้าระวังจอดเทียบที่ท่าเรือศรีลังกา หรือเรือประมงจำนวนหลายร้อยที่ทอดสมออยู่พื้นที่หมู่เกาะในทะเลจีนใต้ซึ่งเป็นจุดพิพาทระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ครั้งละหลายเดือน รวมทั้งเรือเฟอร์รีท่องมหาสมุทราที่มีความสามารถในการบรรทุกยานพาหนะหนักและผู้คนจำนวนมาก ซึ่งเดินทางไปทั่วท้องน้ำตลอดช่วงที่ผ่านมา   แม้ว่าเรือเหล่านี้จะถูกจัดว่าเป็นเรือพลเรือน แต่ผู้เชี่ยวชาญและรัฐบาลระดับภูมิภาคแสดงความกังวลใจว่า สิ่งนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ผสมระหว่างภาคพลเรือนและทหาร ซึ่งรัฐบาลของจีนนำมาใช้เพื่อปกปิดและขยายขีดความสามารถทางทะเล   ปัจจุบัน กองทัพเรือจีนถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่แล้ว และจีนยังคงเพิ่มเรือรบใหม่เพื่อขยายกำลังทางทหารให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยในเดือนมิถุนายน เพิ่งมีการเปิดตัวเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่ออกแบบและผลิตในประเทศ และมีแผนที่จะเปิดตัวเรือพิฆาตสัญชาติจีนอีกอย่างน้อย 5 ลำที่อยู่ระหว่างการผลิตด้วย   รัฐบาลของจีนพยายามที่จะขยายอิทธิพลในภูมิภาคนี้ โดยการเพิ่มกิจกรรมทางทหารรอบเกาะไต้หวันที่ปกครองตนเอง แสวงหาข้อตกลงด้านความมั่นคงฉบับใหม่กับหมู่เกาะแปซิฟิก รวมถึงสร้างเกาะเทียมในน่านน้ำที่เกิดข้อพิพาท เพื่อที่จะอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ ซึ่งสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรแสดงจุดยืนคัดค้านอยู่แล้ว   การใช้เรือพลเรือนนี้ ถือเป็นกลยุทธ์ที่มากกว่าแค่การเพิ่มจำนวน เพราะเรือเหล่านี้ยังสามารถดำเนินการในสิ่งที่เรือของกองทัพทำได้ยาก   South China Sea   เกรกอรี โพลลิง ผู้อำนวยการ ศูนย์ Center for Strategic and International…

ชำแหละอดีต ปัจจุบัน อนาคต “ข้อพิพาททะเลจีนใต้” กับบทบาทของไทย

Loading

  เรียบเรียงปัญหา “ข้อพิพาททะเลจีนใต้” ที่ดำเนินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์กำลังคุกรุ่น   “ทะเลจีนใต้” เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจโลกและสิ่งแวดล้อม และมีผลประโยชน์มหาศาลที่หลายประเทศจับจ้อง จนเกิดเป็นข้อพิพาทที่ดำเนินมายาวนานหลายสิบปี และย้อนไปได้นานนับร้อยนับพันปี ข้อพิพาททะเลจีนใต้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า จะเกิดผลกระทบอะไรกับประเทศไทยและอาเซียนบ้าง นำมาสู่การชำแหละสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทะเลจีนใต้ในงานสัมมนาออนไลน์ “ไขปัญหาทะเลจีนใต้ ความหวัง ความจริง และท่าทีของสหรัฐอเมริกา”     โดยงานสัมมนาดังกล่าวเป็นความร่วมมือของ สมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย สถานทูตอเมริกา และศูนย์เอเชียแปซิฟิกศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   ข้อพิพาททะเลจีนใต้คืออะไร รศ.ดร.ภูมิ มูลศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เท้าความให้ฟังว่า ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์บางส่วน และทั้งหมด บริเวณเหนือดินแดน และอธิปไตยในน่านน้ำทะเลจีนใต้ หมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) และหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) “พื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลจีนใต้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และยังเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าทางทะเลที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค ดังนั้น ทะเลจีนใต้จึงมีความสำคัญในมิติเชิงยุทธศาสตร์เชิงเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศอ้างกรรมสิทธิ์ และส่งผลไปสู่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีต” คณบดีกล่าว   ข้อมูลจาก ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) พบว่า…