สหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพการประชุมระดับโลกด้านมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่มีกว่า 30 ประเทศเข้าร่วม

Loading

  รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะเป็นเจ้าภาพการประชุมหารือเกี่ยวกับภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ อาชญากรรมทางไซเบอร์อื่น ๆ และการใช้คริปโทเคอเรนซีในทางที่ผิด โดยจะจัดขึ้น ณ ทำเนียบขาว ในกรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งจะมีผู้แทนจาก 37 ประเทศ และบริษัทระดับโลก 13 รายเข้าร่วม   ประเทศเจ้าบ้านเชื่อว่าการประชุมครั้งนี้จะช่วยให้ประเทศที่มาเข้าร่วมการประชุมนำบรรทัดฐานทางไซเบอร์ที่ได้รับการยอมรับในประชาคมระหว่างประเทศไปใช้ในการต่อกรกับภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ และสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้   นอกเหนือไปจากนั้น ยังจะมีการพูดคุยหารือเกี่ยวกับการขัดขวางการโจมตีทางไซเบอร์ การตรวจสอบเส้นทางการเงินของคริปโทเคอเรนซี และสร้างความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคามดังกล่าว   ผู้เข้าร่วมประชุมจะร่วมกันออกแถลงการณ์ร่วมหลังจากจบการประชุม หนึ่งในเนื้อหาที่จะปรากฎคือการให้คำมั่นในการเพิ่มการกดดันรัสเซียและอีกหลายประเทศที่เชื่อว่าให้การสนับสนุนผู้ที่ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ในการโจมตีประเทศทั่วโลก   เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ที่จะเข้าร่วมงานนี้ มีทั้ง คริส วราย (Chris Wray) ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนกลาง (FBI) วอลลี อาเดเยโม (Wally Adeyemo) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ไปจนถึง เจก ซัลลิแวน (Jake Sullivan) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของรัฐบาลด้วย   ประเทศที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้มาจากทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้…

ทำเนียบขาวแจ้งเตือนหน่วยงานภาครัฐ ห้ามใช้ SMS ยืนยันตัวตนเพราะไม่ปลอดภัยมากพอ

Loading

  Office of Management and Budget (OMB) หน่วยงานในทำเนียบขาว (เทียบได้กับสำนักงบประมาณของประเทศไทย แต่มีส่วนของการตรวจสอบกระบวนการภาครัฐนอกจากทำงบประมาณด้วย) ออกบันทึกเตือนเรื่องแนวทางรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับหน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐ (federal agencies) ประเด็นหลักของบันทึกนี้คือหน่วยงานภาครัฐควรใช้สถาปัตยกรรมความปลอดภัยแบบ zero trust architecture (ZTA) หรือไม่เชื่อมั่นในสิ่งใดเลย ทุกอย่างในระบบไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้หรือเครือข่ายต้องถูกยืนยันใหม่เสมอ (we must verify anything and everything) ในทางปฏิบัติแล้ว OMB ขอให้หน่วยงานภาครัฐต้องใช้บัญชีที่ถูกจัดการจากส่วนกลาง (enterprise-managed accounts) , อุปกรณ์ที่พนักงานใช้ต้องถูกมอนิเตอร์และจำกัดสิทธิ , ระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานแต่ละหน่วยต้องแยกจากหน่วยอื่น ทราฟฟิกระหว่างกันต้องถูกเข้ารหัส , แอพพลิเคชันที่ใช้ต้องถูกทดสอบอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่น่าสนใจคือ OMB ระบุว่าจำเป็นต้องยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (multi-factor authentication หรือ MFA) ถือเป็นการป้องกันขั้นพื้นฐานจาก phishing ซึ่ง OMB ชี้ชัดว่าต้องเป็นการยืนยันตัวตนที่ปลอดภัยอย่างการใช้ฮาร์ดแวร์ (บัตรประจำตัวพนักงานหรือคีย์ FIDO2) และเลิกใช้วิธีที่ไม่ปลอดภัย เช่น SMS…