ตำรวจออสเตรเลียดำเนินคดีผู้ให้บริการทำเว็บหน่วยงานรัฐปลอมให้แก๊งคอนเซ็นเตอร์ไปหลอกเหยื่อ

Loading

ตำรวจออสเตรเลียดำเนินคดีชายวัย 31 ปีผู้สร้างบริการ iSpoof ที่ใช้สำหรับทำเว็บไซต์ธนาคาร, สรรพากร, หรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถืออื่นๆ เพื่อให้บริการสำหรับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ต่างๆ ไปหลอกเหยื่อชาวออสเตรเลียอีกทีหนึ่ง โดยเว็บให้บริการครบวงจร รวมถึงการปลอม caller ID ในโทรศัพท์ให้ตรงกับชื่อหน่วยงาน

“เจพีมอร์แกน” ชี้ภัยคุกคามจากแฮ็กเกอร์ในระบบธนาคารเพิ่มขึ้นในปีนี้

Loading

ประธานฝ่ายบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งของเจพีมอร์แกนเปิดเผยว่า เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ตรวจพบว่ามีแฮ็กเกอร์จำนวนมากขึ้นที่พยายามเจาะเข้าระบบของธนาคาร ในขณะที่กลุ่มธนาคารยังคงต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก

มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของสิงคโปร์

Loading

เมื่อ 3 ต.ค.66 นาง Josephine Teo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ และรัฐมนตรีคนที่สองกระทรวงมหาดไทยของสิงคโปร์ แถลงต่อรัฐสภา หลังมีสมาชิกรัฐสภามากกว่า 20 คน ตั้งคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรัฐบาลในการดำเนินการกรณีคดีฟอกเงินครั้งใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์เมื่อไม่นานมานี้ รวมถึงมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของสิงคโปร์ต่ออาชญากรต่างชาติ

“ดีอีเอส” ชูกม.ป้องภัยไซเบอร์ อุดช่องโหว่โจรฉกเงินออนไลน์

Loading

  ลงนามความร่วมมือเห็นชอบกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ตามมาตรา 4 แห่ง พรก.ป้องภัยเทคโนโลยี 66 ระหว่าง ระบุพร้อมใช้ระบบกลางแลกเปลี่ยน ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมการเงินที่ต้องสงสัย   นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เปิดเผย ว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน ได้มีการใช้วิธีการทางเทคโนโลยี หลอกลวงประชาชนทั่วไปผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ จนทําให้ประชาชนสูญเสียทรัพย์สินเป็นจํานวนมาก และผู้หลอกลวงได้โอนทรัพย์สินที่ได้ จากการกระทําความผิดนั้น ผ่านบัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลอื่นต่อไปเป็นทอด ๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อปกปิดหรืออําพรางการกระทําความผิด   ดีอีเอส ไม่ได้นิ่งนอนใจ และมีการหารือกับภาคสถาบันการเงิน และตํารวจมาโดยตลอด จึงได้มีการจัดทําบันทึกข้อตกลง หรือ เอ็มโอยู ว่าด้วยการให้ ความเห็นชอบระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 แห่งพระราชกําหนดมาตรการ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ขึ้น ระหว่าง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สํานักงานตํารวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ…

ก.ล.ต.สหรัฐฯ สั่งปรับหมื่นล้าน แบงก์-โบรกเกอร์ ใช้แชตส่วนตัวคุยงาน

Loading

  ตำรวจตลาดหุ้น หรือ ก.ล.ต.สหรัฐฯ สั่งปรับ แบงก์-โบรกเกอร์ นับสิบเพราะใช้แชตส่วนตัวคุยงาน รวมค่าปรับทั้งหมดร่วมหมื่นล้าน   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (ก.ล.ต.สหรัฐฯ) สั่งปรับธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) เป็นเงินราว 10,088 ล้านบาท (289 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โทษฐานละเมิด กฎหมายตลาดหลักทรัพย์ (Securities Exchange Act of 1934)   ตำรวจตลาดหุ้น (ก.ล.ต.สหรัฐฯ) สืบพบว่า บริษัทในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ 11 แห่ง ใช้แชตส่วนตัวคุยงานกับลูกค้า โดยใช้แอปฯ อย่าง iMessage และ WhatsApp     ใช้แชตส่วนตัวคุยงานมันผิดอะไร ?   ก.ล.ต.สหรัฐฯ ระบุว่า ธนาคารและบริษัทโบรเกอร์ที่ถูกปรับ ละเมิดกฎหมายของตลาดหลักทรัพย์ ที่ว่าด้วยการใช้ระบบติดต่อสื่อสารที่ไม่สามารถตรวจสอบและเก็บประวัติการคุยตามที่กฎหมายกำหนด   โดยผู้ปฎิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ถูกบังคับด้วยกฎหมายที่จะต้องเก็บประวัติการคุยกับลูกค้าไว้เป็นหลักฐานเพื่อให้ผู้ตรวจสอบสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ว่า มีการทุจริตในการสื่อสารกับลูกค้าหรือไม่ ? และเป็นหลักฐานในการป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นด้วย  …

รัฐบาลชวนผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งเร่งไปติดต่อสแกนใบหน้าเพื่อสกัดภัยออนไลน์

Loading

  ธปท.ประสานธนาคารรัฐ-เอกชนดึงผู้ใช้ Mobile Banking ที่โอนเงินตั้งแต่ 5 หมื่นบาทต่อครั้ง 2 แสนบาทต่อวัน ติดต่อสาขาธนาคารเพื่อสแกนใบหน้าตัดวงจรภัยออนไลน์ ชี้แอปพลิเคชัน 7 แบงก์พร้อมบริการแล้ว   31 พ.ค.2566 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างผลักดันมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือภัยออนไลน์ ซึ่งในส่วนของภาคการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประสานสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์เอกชน เพื่อยกระดับมาตรการเพื่อความปลอดภัย โดยมีหลายมาตรการที่ดำเนินการไปแล้ว อาทิ การยกเลิกการแนบลิงค์เพื่อส่งข้อความสั้น (SMS) หรืออีเมลไปยังลูกค้า   สำหรับอีกมาตรการที่จะเข้ามาช่วยให้ตัดวงจรภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขณะนี้ธนาคารต่างๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การปรับปรุงระบบความปลอดภัยในบริการผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือหรือ Mobile Banking ซึ่งตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. เป็นต้นมาธนาคารแต่ละแห่งได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ใช้บริการ Mobile Banking ที่จะมีการโอนเงินต่อครั้งตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และโอนยอดรวมต่อวันตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป และกรณีการเปลี่ยนวงเงินการทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป จะต้องไปทำการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน…