6 กรณีศึกษา แบงก์กับเหยื่อโจรออนไลน์ในสิงคโปร์

Loading

    “Summary“ จาก 6 กรณีศึกษาในสิงคโปร์ พบว่าการร่วมรับผิดชอบของผู้ประกอบการมีเงื่อนไขให้พิจารณามากมาย เพราะ 5 ใน 6 เคสที่ยกมา คนสิงคโปร์ที่ตกเป็นเหยื่อต้องรับผิดชอบความเสียหายเอง 100% ยกเว้นเคสสุดท้ายที่พิสูจน์ได้ว่าสถาบันการเงินทำงานล้มเหลว   ร่างปรับปรุงแก้ไขพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เสนอเมื่อวันที่ 28 ม.ค.2568 ที่ผ่านมา กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานกฤษฎีกา ก่อนประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเป็นลำดับต่อไป   นอกเหนือจากการระดมปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงประชาชนบริเวณตะเข็บชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน การแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวจะช่วยปกป้องเหยื่ออาชญากรรมออนไลน์ได้เท่าทันและมีประสิทธิภาพขึ้น ครอบคลุม 3 สาระสำคัญเพิ่มเติม ได้แก่   1. การควบคุมดูแลไม่ให้มีการโอนเงินที่ได้จากการหลอกออนไลน์ไปแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งจะทำให้การติดตามคืนเป็นไปได้ยาก การหยุดยั้งนี้จะช่วยทำให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามอายัดเงินในบัญชีธนาคารได้มากขึ้น   2. การสร้างระบบการคืนเงินที่ค้างอยู่ในบัญชีธนาคารที่ยึดไว้หรือที่ระงับการโอนไว้โดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งจะทำให้คืนเงินให้ผู้เสียหายได้เร็วขึ้น   3. การร่วมรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเหยื่อของธนาคาร ค่ายมือถือ และสื่อโซเชียลมีเดีย หากพบกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ยกระดับความระมัดระวังและความร่วมมือในการป้องกันตามมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพที่ดีพอ   ร่างแก้ไขพ.ร.ก.ดังกล่าวมีต้นแบบมาจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดกรอบความรับผิดชอบร่วมกัน (Shared Responsibility…

มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของสิงคโปร์

Loading

เมื่อ 3 ต.ค.66 นาง Josephine Teo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ และรัฐมนตรีคนที่สองกระทรวงมหาดไทยของสิงคโปร์ แถลงต่อรัฐสภา หลังมีสมาชิกรัฐสภามากกว่า 20 คน ตั้งคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรัฐบาลในการดำเนินการกรณีคดีฟอกเงินครั้งใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์เมื่อไม่นานมานี้ รวมถึงมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของสิงคโปร์ต่ออาชญากรต่างชาติ

สิงค์โปรขยายแพลตฟอร์มข้อมูลการเงินให้ประชาชนดึงข้อมูลจากบริษัทประกัน/ธนาคาร มาเก็บไว้ที่เดียว

Loading

  ธนาคารกลางสิงคโปร์ขยายบริการ SGFinDex (Singapore Financial Data Exchange) แพลตฟอร์มกลางสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินของประชาชนข้ามองค์กร บริการ SGFinDex เปิดบริการมาแล้วหลายปี และตอนนี้ก็เพิ่มให้บริษัทประกันส่งข้อมูลเข้ามาได้ด้วย   ตามแผนการ SGFinDex จะเชื่อมข้อมูลทางการเงินทั้งหน่วยงานภาครัฐ (เงินประกันสังคม, ภาษี, หนี้การเคหะ), ธนาคาร, บริษัทประกัน, และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ทำให้สามารถมองเห็นทรัพย์สิน, หนี้, และกรมธรรมม์ประกันต่าง ๆ โดยองค์กรที่ต้องจะส่งข้อมูลต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน ตัวแพลตฟอร์มนอกจากจะเชื่อมข้อมูลระหว่างสถาบันทางการเงินด้วยกันเองแล้ว ยังมีบริการ MyMoneySense ของรัฐบาลที่เปิดให้ประชาชนส่งข้อมูลเข้าไปทำ dashboard ดูสถานะทางการเงินโดยรวม   บริการ SGFinDex คล้ายกับบริการ dStatement ที่ผลักดันโดยธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ของไทยยังจำกัดเฉพาะธนาคารเท่านั้น     ที่มา – MAS       ———————————————————————————————————————————- ที่มา :         …