ธนาคารเร่งสแกนใบหน้า ยืนยันตัวตนเมื่อโอนเงินเกิน 50,000 เริ่มพ.ค.-มิ.ย นี้

Loading

    แบงก์ชาติ เร่งธนาคารเอกชน อัปเกรดระบบสแกนใบหน้า รวมทั้งเร่งอัปเดตระบบแอปพลิเคชั่น ให้สามารถตรวจสอบตัวตนภายในเดือนพ.ค.-มิ.ย.นี้ หากมีการโอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เพื่อป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์   จากกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ มีนโยบายให้ธนาคารทุกแห่งที่ให้บริการโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชัน ยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมบนแอปธนาคาร   เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับมิจฉาชีพ ได้ใช้ช่องทางดังกล่าว หลอกให้ประชาชนโอนเงิน โดยแบงก์ชาติกำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องยืนยันตัวตนเมื่อทำธุรกรรมตามกำหนด ถือว่าเป็นนโยบายการบริหารจัดการปัญหาการทุจริตและหลอกลวง ผ่านการใช้บัญชีเงินฝากหรือบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนทุกครั้ง   สำหรับธุรกรรมที่ต้องยืนยันตัวตนสแกนใบหน้า เมื่อใช้บริการผ่านแอปธนาคาร โมบายแบงก์กิ้ง ดังนี้   1.โอนเงินเกิน 50,000 บาทต่อครั้ง   2.โอนเงินเกิน 200,000 บาทต่อวัน   3.ปรับเปลี่ยนวงเงินโอน   โดยแบงก์ชาติกำหนดให้ทุกธนาคารเริ่มดำเนินการได้ภายในเดือนมิถุนายน 2566 แต่หากทำธุรกรรมโอนเงินไม่ถึงวงเงินดังกล่าว ก็ยังสามารถโอนเงินใช้บริการได้ตามปกติเช่นเดิม     โดยทางธนาคารเอกชนต่างก็อัปเกรดระบบแอปพลิเคชั่นทางการเงินและทยอยให้ผู้ใช้งานอัปเดตการสแกนใบหน้าบ้างแล้ว   ธนาคารไทยพาณิชย์   ไทยพาณิชย์ แจ้งลูกค้าเตรียมความพร้อมสำหรับการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า เมื่อทำธุรกรรม ผ่านแอปพลิเคชัน…

แอปธนาคารกรุงเทพเพิ่มความปลอดภัย จำกัดอุปกรณ์เข้าถึงบัญชี พร้อมเพิ่มสแกนใบหน้าก่อนการทำธุรกรรมด้วย

Loading

    แอปธนาคารกรุงเทพเพิ่มความปลอดภัย สำหรับการทำธุรกรรมผ่านมือถือ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเพื่อเข้ากับประกาศของ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ในการเพิ่มความปลอดภัยในด้านธุรกรรมผ่านมือถือ ซึ่งมาตรการนี้คาดว่าธนาคารอื่นๆ ก็เพิ่มมาตรการความปลอดภัยด้วยเช่นกัน   โดยมาตรการเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ Bualuang M Banking ดังนี้   1. จำกัดการใช้งานแอป 1 อุปกรณ์/ท่าน เท่านั้น   ซึ่งจะมีผลเฉพาะกับผู้ใช้ที่ดาวน์โหลดและเปิดการใช้แอปในเครื่องใหม่ โดยระบบจะให้ลบอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานแอปอยู่ก่อนหน้าออกทั้งหมด จึงจะสามารถใช้งานแอปในเครื่องใหม่ได้   2. บล็อกการเข้าถึงแอปจากระยะไกล (Remote access)   กรณีมีการเปิดการใช้งาน การช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility) จะไม่สามารถเข้าใช้งานแอปได้ จนกว่าจะปิดการใช้งาน Accessibility   3. ลดวงเงินตั้งต้น สำหรับธุรกรรม โอน / จ่าย / เติม จากเดิม 200,000 บาท/วัน เป็น 50,000 บาท/วัน เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยลูกค้าสามารถปรับเพิ่มวงเงินโอน…

หลายธนาคารยกเลิกส่ง sms และอีเมลแบบแนบลิงก์ หากพบแนบลิงก์ ระวังอาจเป็นมิจฉาชีพ

Loading

ภาพ : ธนาคารแห่งประเทศไทย   หลายธนาคารยกเลิกส่ง sms และอีเมลแบบแนบลิงก์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ธนาคารสามารถแยกได้ระหว่าง SMS ธนาคาร กับ SMS มิจฉาชีพแอบอ้างธนาคารได้ง่ายขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการให้ธนาคารยกเลิกแนบลิงก์ทาง SMS และอีเมล ป้องกันสับสนระหว่างข้อความของธนาคาร และข้อความที่ส่งโดยมิจฉาชีพ   หลายธนาคารยกเลิกส่ง sms และอีเมลแบบแนบลิงก์   ภาพ : ธนาคารแห่งประเทศไทย ธ.กสิกรไทย         0-2888-8888   กด 001 ธ.กรุงไทย         0-2111-1111   กด 108 ธ.กรุงศรีอยุธยา        1572   กด 5 ธ.กรุงเทพ          1333 หรือ…

แบงก์ชาติเอาจริง! ประกาศบังคับทุกธนาคาร เริ่มใช้มาตรการป้องกันภัยโกงเงิน

Loading

  แบงก์ชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) เผยว่า ปัจจุบันภัยทุจริตทางการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและหลากหลายรูปแบบ เช่น SMS หลอกลวง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แอปพลิเคชันให้สินเชื่อปลอม และแอปพลิเคชันดูดเงิน จึงต้องบังคับใช้มาตรการป้องกันกับทุกธนาคาร   แบงก์ชาติ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่พบภัยจากไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็น SMS ปลอม , แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และแอปพลิเคชั่นดูดเงินต่างๆ   แบงก์ชาติ จึงต้องออกนโยบายเป็นชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ที่ดูแลตลอดเส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน สรุปได้ดังนี้     มาตรการป้องกัน เพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น –  ให้สถาบันการเงินงดการส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล และงดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน –  จำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน mobile banking (username) ของแต่ละสถาบันการเงินให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์เท่านั้น โดยต้องจัดให้มีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ mobile banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง –  พัฒนาระบบความปลอดภัยบน…

8 ธนาคาร เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพ โทรได้ 24 ชม.

Loading

  ธนาคาร 8 แห่ง เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพ เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โทรแจ้งเหตุได้ 24 ชั่วโมง   วันนี้ (3 มี.ค.2566) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหามิจฉาชีพหลอกหลวงประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ มีการโอนเงินออกจากบัญชีผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารจนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำงานร่วมกับสมาคมธนาคารไทย และธนาคารของรัฐอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาและบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดแก่ประชาชน   ล่าสุด ทั้งส่วนธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจรวม 8 แห่ง ได้เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพของธนาคาร เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หรือตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพโทรแจ้งเหตุ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสกัดกั้นความเสียหายให้เร็วที่สุด ประกอบด้วย   ธนาคารกสิกรไทย 0-2888-8888 กด 001   ธนาคารกรุงไทย 0-2111-1111 กด 108…

ธปท.ชงมาตรการเพิ่ม Biometric บนโมบายแบงกิ้ง ป้องกันบัญชีม้า-ฟอกเงิน

Loading

    ธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินเห็นพ้องเรื่องการเพิ่มมาตรการยืนยันตัวตน ผ่านเทคโนโลยี Biometric Comparison หลังพบข้อมูลการทุจริตจากบัญชีม้าและธุรกรรมต้องสงสัย แต่จะจัดทำโดยไม่ขัดต่อกฏหมาย PDPA   นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. และสถาบันการเงินอยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทุจริต และบัญชีม้าระหว่างกัน   โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ หลังจากร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้ โดยร่าง พ.ร.ก. ดังกล่าว กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่ต้องสงสัยได้ โดยไม่ขัดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ทั้งนี้ ธปท. ยังมีมาตรการป้องกันเพิ่มเติมด้วยคือมีการเพิ่มเงื่อนไขในกระบวนการยืนยันตัวตน โดยให้ธนาคารเพิ่มเทคโนโลยี biometric comparison บนโมบายแบงกิ้งเข้าไป หากพบว่ามีการโอนเงินที่ผิดเงื่อนไขตามที่กำหนด   ไม่ว่าจะเป็น การโอนเงินจำนวนมาก ทั้งจำนวนเงิน และความถี่ รวมถึงการปรับเพิ่มวงเงินต่อวัน โดยกำหนดตามพฤติกรรมหรือระดับความเสี่ยงของลูกค้าของธนาคาร รวมทั้งให้มีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (Hotlines) อย่างเพียงพอตลอด 24 ชม. เพื่อเป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถแจ้งเหตุหลอกลวงได้โดยตรง…