เจาะลึก!! กฎหมาย Digital Platform Services ใครได้ ใครเสียประโยชน์

Loading

  พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 นี้ เป็นอีกหนึ่งกฏหมายที่ถูกปรับมาให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ คนที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลควรต้องรู้ !!!!   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอรนิกส์ หรือ ETDA เปิดข้อมูลอินไซต์ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) หรือที่รู้จักกันในชื่อ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ที่จะถึงนี้ แน่นอนว่าในมุมของผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างผู้ให้บริการ หรือ ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพตลฟอร์มดิจิทัลนั้น คงติดตามความเคลื่อนไหวและมีการทำความเข้าใจกับกฎหมายฉบับนี้มาอย่างต่อเนื่อง   กฎหมายฉบับนี้ ได้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เปิดรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนรวบรวมประเด็นเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงกฎหมายซึ่งได้มีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง     จาก…

แอปธนาคารกรุงเทพเพิ่มความปลอดภัย จำกัดอุปกรณ์เข้าถึงบัญชี พร้อมเพิ่มสแกนใบหน้าก่อนการทำธุรกรรมด้วย

Loading

แอปธนาคารกรุงเทพเพิ่มความปลอดภัย สำหรับการทำธุรกรรมผ่านมือถือ   ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเพื่อเข้ากับประกาศของ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ในการเพิ่มความปลอดภัยในด้านธุรกรรมผ่านมือถือ ซึ่งมาตรการนี้คาดว่าธนาคารอื่น ๆ ก็เพิ่มมาตรการความปลอดภัยด้วยเช่นกัน   ภาพ : ธนาคารกรุงเทพ   โดยมาตรการเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ Bualuang M Banking ดังนี้   1. จำกัดการใช้งานแอป 1 อุปกรณ์/ท่าน เท่านั้น ซึ่งจะมีผลเฉพาะกับผู้ใช้ที่ดาวน์โหลดและเปิดการใช้แอปในเครื่องใหม่ โดยระบบจะให้ลบอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานแอปอยู่ก่อนหน้าออกทั้งหมด จึงจะสามารถใช้งานแอปในเครื่องใหม่ได้   2. บล็อกการเข้าถึงแอปจากระยะไกล (Remote access) กรณีมีการเปิดการใช้งาน การช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility) จะไม่สามารถเข้าใช้งานแอปได้ จนกว่าจะปิดการใช้งาน Accessibility   3. ลดวงเงินตั้งต้น สำหรับธุรกรรม โอน / จ่าย / เติม จากเดิม 200,000 บาท/วัน เป็น 50,000 บาท/วัน…

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยใช้ Internet Banking ระวังเจอเว็บไซต์ธนาคารปลอม

Loading

  โฆษก บช.สอท. เตือนภัยใช้ Internet Banking ทำธุรกรรมออนไลน์ โจรมารูปแบบใหม่สร้างเว็บไซต์ธนาคารปลอม เหยื่อไม่ทันระวังเจอดูดเงินเกลี้ยง พร้อมแนะวิธีสังเกตป้องกันภัย   วันนี้ (24 ก.พ.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยใช้ Internet Banking ระวังเจอเว็บไซต์ธนาคารปลอม ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงกรอกข้อมูลทางการเงิน เงินหายออกจากบัญชี ดังนี้   ตามที่ในปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึง ตรวจสอบข้อมูล หรือขอเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องเดินทางไปยังสถาบันการเงิน หรือธนาคารแต่อย่างใด สามารถใช้โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเข้าถึงระบบได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งให้มิจฉาชีพฉวยโอกาสสร้างเว็บไซต์ปลอม ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริง เพื่อหลอกลวงประชาชนที่ไม่ทันสังเกต เข้ามากรอกทั้งข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางการเงิน เช่น รหัสผู้ใช้งาน รหัสผ่าน หมายเลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเดบิต/เครดิต รหัสหลังบัตร 3 หลัก รหัสใช้ครั้งเดียว (OTP) เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลที่ได้ไปถอนเงินของเหยื่อออกจากบัญชี หรือไปแฮ็กบัญชีสื่อสังคมออนไลน์…

ทรูมันนี่ แนะ 9 ข้อ “หยุดกลโกง” ลดความเสี่ยงถูกแฮกข้อมูลดูดเงินในบัญชี

Loading

    ทรูมันนี่ ในฐานะผู้นำด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์และผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แนะนำวิธีปฎิบัติ 9 ข้อ “หยุดกลโกง” เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ลดความเสี่ยงถูกแฮกข้อมูลดูดเงินในบัญชี   ทรูมันนี่ ได้สังเกตจากหลายกรณีของการโจรกรรมออนไลน์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ผู้ทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์จำนวนมากเกิดความกังวล   อีกทั้งยังมีผู้เสียหายอีกจำนวนมากที่ร้องเรียนผ่านเพจชื่อดังเกี่ยวกับการถูกแฮกเกอร์ล้วงข้อมูล แฮกบัญชี และล่าสุดมีการดึงเงินออกจากบัญชีโดยที่เจ้าของบัญชีไม่รู้ตัว   ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบกรณีดังกล่าวพร้อมออกมาชี้แจงแล้วว่า เหตุเกิดจากผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แฝงมัลแวร์   ทำให้มิจฉาชีพล่วงรู้ข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้า จากนั้นจึงควบคุมโทรศัพท์เพื่อสวมรอยทำธุรกรรมจากระยะไกล โดยโอนเงินออกจากบัญชีในช่วงเวลาที่ผู้เสียหายไม่ได้ใช้งานโทรศัพท์     9 ข้อ “หยุดกลโกง” เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ลดความเสี่ยงถูกแฮกข้อมูลดูดเงินในบัญชี ดังนี้   1.อย่าเผลอโหลดแอปเถื่อน หรือคลิกลิงก์ประหลาด   หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดแอปเถื่อน โดยเลือกดาวน์โหลดแอปจากผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการที่เป็น Official Store ได้แก่ Google Play Store ในระบบปฎิบัติการ Android และ App Store ในระบบปฎิบัติการ iOS เท่านั้น รวมถึงไม่ควรคลิกลิงก์ที่มีลักษณะแปลกปลอมที่มาจากการแชร์ข้อความ…

ผูกบัตรเครดิตกับ Wallet ปลอดภัยไหม เสี่ยงข้อมูลรั่วไหลหรือเปล่า

Loading

  รักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์ผูกบัตรเครดิตไว้ปลอดภัยแค่ไหน   ในยุคที่ก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดที่ผู้คนหันมาทำธุรกรรมทางออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหลังที่ระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตของผู้คน ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นได้รับความนิยมตามไปด้วย ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้คนส่วนใหญ่ปรับตัวและหันมาซื้อขายสินค้าออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการทำธุรกรรมทางออนไลน์จึงตอบโจทย์การใช้จ่ายและเพิ่มความคล่องตัวให้แก่ผู้คนได้เป็นอย่างดี เมื่อพูดถึงสังคมไร้เงินสดในปัจจุบันมีระบบรับชำระเงินที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินผ่าน QR Code จ่ายผ่านระบบ PromptPay การโอนเงินผ่านธนาคาร การชำระค่าสินค้าหรือบริการผ่านบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ซึ่งหนึ่งในช่องทางที่ได้รับความนิยมคือ การชำระเงินผ่านบัญชี Wallet   บัญชี Wallet ผูกกับบัตรเครดิตเพื่อใช้จ่าย     บัญชี Wallet คืออะไร? ทำไมคนถึงนิยมใช้ บัญชี Wallet หรือกระเป๋าเงินดิจิทัล ในปัจจุบันมีหลากหลายประเภท แต่ที่เห็นคนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือ Mobile Wallet เพราะจะเป็นการติดตั้งแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการ Wallet ต่าง ๆ บนมือถือ เพื่อทำการใช้จ่าย โดยสามารถทำได้หลากหลายช่องทางทั้งการเติมเงินเข้าสู่บัญชี การผูกบัญชีกับบัตรเดบิตหรือบัญชีธนาคาร ไปจนถึงการผูกบัญชีกับบัตรเครดิต เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้จ่ายได้ง่ายและสะดวกสบายในการชำระเงิน   แต่แน่นอนว่าในยุคนี้มีมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาในทุกรูปแบบ ดังนั้นการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ถึงแม้ทางผู้ให้บริการจะมีการจัดทำระบบความปลอดภัยของบัญชีบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตที่ผูกเอาไว้กับกระเป๋าเงินดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น มีระบบแจ้งเตือนผ่าน…

Digital ID คืออะไร? ใช้อย่างไร?

Loading

  ทุกวันนี้เราใช้ Social Media ใช้ Mobile Banking และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน จนอาจจะลืมไปแล้วว่าก่อนที่จะใช้งานได้เช่นทุกวันนี้ เราต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง นั่นก็คือ ต้อง “สมัคร” หรือลงทะเบียนผู้ใช้งาน จากนั้นก็จะสามารถ “เข้าใช้งาน” ได้ ซึ่งการสมัครและการเข้าใช้บริการก็คือ การสร้าง Digital ID   เช่นเดียวกันกับการเข้าใช้บริการของหน่วยงานภาครัฐผ่านช่องทางดิจิทัล ก็ต้องมีการลงทะเบียน มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วย โดยการสร้าง Digital ID เพื่อใช้บริการของภาครัฐจะมีความเข้มงวดและรัดกุมกว่าการใช้บริการแพลตฟอร์มทั่ว ๆ ไป     สมัคร+ใช้บริการ = สร้าง Digital ID   “การสมัคร” หรือการลงทะเบียน ทำแค่ครั้งแรกครั้งเดียว โดยผู้ที่จะเข้าใช้บริการจะต้องสมัคร ซึ่งต้องกรอกข้อมูลให้แก่ผู้ให้บริการ ส่วนผู้ให้บริการก็ต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าเป็นบุคคลคนนั้นจริงหรือไม่   “การใช้บริการ” หลังจากสมัครแล้ว เมื่อจะเข้าใช้บริการ ก็ต้องพิสูจน์ตัวตน และยืนยันตัวตน ซึ่งจะมี…